กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การศึกษาฤทธิ์การยับยั้ง Nε-(Carboxymethyl) lysine (CML) และ Nω-(Carboxymethyl) arginine (CMA) โดยใช้สารสกัดจากพืชสวนครัว

Inhibition Nε-(Carboxymethyl) lysine (CML) and Nω-(Carboxymethyl) arginine (CMA) Formation by using Thai garden plants.

@คณะวิทยาศาสตร์

#Cluster 2024
#Healthcare and Wellness
การศึกษาฤทธิ์การยับยั้ง Nε-(Carboxymethyl) lysine (CML) และ Nω-(Carboxymethyl) arginine (CMA) โดยใช้สารสกัดจากพืชสวนครัว

รายละเอียด

Advanced glycation end products (AGEs) เกิดจากการทําปฏิกิริยาของสารตั้งต้นจําพวกโปรตีน หรือไขมันกับน้ำตาลรีดิวซิ่ง เรียกปฏิกิริยานี้ทำปฏิกิริยาไกลเคชั่น AGEs ส่งผลทําให้เกิดความเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย ส่่งผลทําให้เกิดโรคทางเมแทบอลิซึ่มไขมันอุดตันในเส้นเลือดและอื่นๆโครงงานพิเศษมี วััตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการก่อตัวของ AGEs 2 ชนิด ได้แก่ Nε - (carboxymethyl) lysine (CML) และ Nω - (carboxymethyl) arginine (CMA) โดยใช้สารสกัดจากพืชผักสวนครัวได้แก่ พริกขี้หนู พริกหวานสีแดง มะระขี้นก ขิง ข่า มะเขือพวง ใบมะกรูด ใบแมงลัก ถั่วพูและกระชาย สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล และนําไปทดสอบด้วยวิธี Enzyme- linked immunosorbent assay (ELISA) ผลการทดลองที่คาดว่าจะได้รับ คือ ได้พืชผักสวนครัว 2-3 ชนิด จาก 10 ชนิดที่สามารถยับยั้ง AGEs  มาแยกคอลัมน์โครมาโตรกราฟีด้วยตัวทําละลายน้ำกลั่น, เอทานอล 25%, 50%, 75%, 100% และ อะซิโตน จากนั้นนําไปทดสอบด้วยวิธี ELISA อีกครั้ง ผลการทดลองที่คาดว่าจะได้รับคือ มีพืชผักสวนครัว 1 ชนิด จาก 10 ชนิดที่สามารถยับยั้ง AGEs ได้ดีที่สุด จากนั้นนำไปตรวจสอบประเภทของสารที่อยู่ภายในตัวอย่างที่ดีที่สุดด้วยวิธี HPLC เพื่อดู Polyphenol profile หลังจากดูพีคหลังฉีด HPLC แล้วทำการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งต่อเชื้อแบคทีเรีย

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบันการดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงแลห่างไกลจากโรคที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมาก ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคไต ความจําเสื่อม สุขภาพกระดูก ฯลฯ ทําให้มีการศึกษาและพบข้อมูลที่ตีพิมพ์จํานวนมากเกี่ยวข้องกับบทบาทของ Advanced glycation end products (AGEs) หรือที่เรียกว่า glycotoxins ซึ่งเป็นกลุ่มของสารประกอบออกซิไดซ์สูงที่มีนัยสำคัญต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานและในโรคเรื้อรังอื่นๆ (ปรัญรัชต์,2559 และ Uribarrietal.,2010) อีกทั้งยังส่งผลต่อความสมดุลของผิวหนังและเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนังอีกด้วย (Chen et al., 2022) เมื่อมีการผลิต AGEs มากเกินไป ความไม่สมดุลระหว่าง AGEs (การผลิตภายในร่างกายและการบริโภคจากภายนอก) ทำให้เกิดภาวะเมตาบอลิซึมสะสมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไขมันในเลือดสูง (Perrone et al., 2020) ซึ่ง AGEs เป็นผลผลิตสุดท้ายที่เกิดจากการทําปฏิกิริยาของสารตั้งต้น 2 ชนิดคือ amino group ของโปรตีนกับ carbonyl group  ของน้ำตาลรีดิวซิ่ง (reducing sugar) หรือสารประกอบคาบอนิล (carbonyl compounds) อื่นๆ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า Glycation หรือปฏิกิริยา Maillard เป็นกระบวนการเกิดสารสีน้ำตาลที่ไม่ใช้เอนไซม์ (non- enzymatic browning reaction) (ปรัญรัชต์, 2559 และ Uribarri et al., 2010) โดยกลุ่มของ AGEs ที่พบมากเเละมีการศึกษาอย่างกว้างขวาง คือ Nε - (carboxymethyl) lysine (CML), Nε – (carboxyethyl) lysine (CEL), pentosidine and pyrraline เนื่องจาก CML พบได้มากที่สุด จึงเป็นตัวเลือกหลักที่ใช้ใน การศึกษา (Contreras and Novakofski, 2010 และ Li et al., 2012)การศึกษาที่ผ่านมามีการนําสารสกัดสมุนไพรมาใช้ทดสอบเพื่อยับยั้งการก่อตัวของไกลเคชั่น จากผลการทดสอบเพื่อเป็นทางเลือกในการควบคุมโรคเบาหวาน (Spínola et al. 2017) มีงานวิจัยรายงานว่าการสังเคราะห์ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติสามารถยับยั้งปฏิกิริยาไกลเคชั่นหรือยับยั้งการเกิด AGEs ได้โดยแสดงถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความสามารถในการต้านไกลเคชั่นจากสารในกลุ่ม phenolic ในพืชผักที่บริโภค (Mengetal.,2011) และมีรายงานว่าสาร isoquercetin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม flavonoids สาร Kaempferol และสาร rutin ในใบตู้จ้งซึ่งเป็นพืชสมุนไพร ให้ผลแสดงการยับยั้งสารประกอบ AGEs, CML และ CMA ได้ดี แสดงถึงความสามารถในการต้านไกลเคชั่น เพราะฉะนั้นการบริโภคอาหารจากพืชที่ เป็นแหล่งของสารต้านออกซิเดชั่นและต้านอนุมูลอิสระจะสามารถยับยั้งการเกิดไกลเคชั่น ซึ่งจะเป็น ประโยชน์กับการช่วยแก้ไขโรคเรื้อรัง (Sugawaetal.,2016) หลายบทความกล่าวถึงการยับยั้ง AGEs ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สารสกัดจากพืช
งานวิจัยนี้จึงเลือกศึกษาฤทธิ์ยับยั้ง CML และ CMA โดยใช้สารสกัดจากพืชสวนครัว 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะกรูด, ข่า, พริกหวานแดง, ถั่วพู, มะระขี้นก, มะเขือพวง, ใบแมงลัก, ขิง, กระชาย และพริกขี้หนู โดยใช้การทดสอบ ELISA ทดสอบ 2 ความเข้มข้น ซึ่งผลที่ได้นำไปวิเคราะห์ต่อด้วยการแยกคอลัมน์ด้วยตัวทำละลาย น้ำกลั่น, เอทานอล 25%, 50%, 75%, 100% และอะซิโตน เพื่อศึกษาฤทธิ์การยับยั้ง CMA และ CML ของสารประกอบภายในสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นต่างๆ และเลือกสารสกัดจากพืชชนิดที่ดีที่สุดไปทำการวิเคราะห์โปรไฟล์ของสารฟีนอลลิกโดยวิธี HPLC และสุดท้ายนำสารสกัดจากพืชชนิดที่ดีที่สุดทำการทดสอบฤทธิ์การต้านจุลชีพของแบคทีเรียด้วยวิธี Disc diffusion

ผู้จัดทำ

นาตยา น้อยหิรัญ
NATTAYA NOIHIRUN

#นักศึกษา

สมาชิก
นุสรา หร่ายมณี
NUSRA HRAIMANEE

#นักศึกษา

สมาชิก
วิภาวี เดชติศักดิ์
Wipawee Dejtisakdi

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด