Back

Inhibition Nε-(Carboxymethyl) lysine (CML) and Nω-(Carboxymethyl) arginine (CMA) Formation by using Thai garden plants.

การศึกษาฤทธิ์การยับยั้ง Nε-(Carboxymethyl) lysine (CML) และ Nω-(Carboxymethyl) arginine (CMA) โดยใช้สารสกัดจากพืชสวนครัว

@คณะวิทยาศาสตร์

#Cluster 2024
#Healthcare and Wellness
การศึกษาฤทธิ์การยับยั้ง Nε-(Carboxymethyl) lysine (CML) และ Nω-(Carboxymethyl) arginine (CMA) โดยใช้สารสกัดจากพืชสวนครัว

Details

Advanced glycation end-products are from the reactions between proteins, nucleic acid and lipid and reducing sugars, named glycation reaction. AGEs cause degeneration of cells that leads to aging disease, metabolic syndromes, or hyperlipidemia etc. In this project, we aimed to investigate the inhibitory effect of CML and CMA formation by using Thai garden plants such as Bird's Eye Chilli or Bird Chili, Sweet pepper, bitter gourd, Ginger, Galangal, Pea eggplant or Turkey berry, Bergamot leave, Hairy Basil, Winged bean and Finger root crude extracts and finally tested by ELISA technique. The results showed that could get 2-3 type of Thai garden plants out of 10 that can inhibit AGEs. After that we did column chromatography to separate that crude extract with Distilled water, Ethanol 25%, 50%, 75%, 100% and Acetone to be several fractions and then did ELISA detection.
Expected experimental results there is one type of Thai garden plants out of 10 that is most effective at inhibiting AGEs, respectively. Then it was used to demine the best type of substance within the sample using HPLC to the polyphenol profile. After looking at the peak, HPLC wads tested and tested for antimicrobial susceptibility testing.

Objective

ในปัจจุบันการดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงแลห่างไกลจากโรคที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีอายุมาก ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคไต ความจําเสื่อม สุขภาพกระดูก ฯลฯ ทําให้มีการศึกษาและพบข้อมูลที่ตีพิมพ์จํานวนมากเกี่ยวข้องกับบทบาทของ Advanced glycation end products (AGEs) หรือที่เรียกว่า glycotoxins ซึ่งเป็นกลุ่มของสารประกอบออกซิไดซ์สูงที่มีนัยสำคัญต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวานและในโรคเรื้อรังอื่นๆ (ปรัญรัชต์,2559 และ Uribarrietal.,2010) อีกทั้งยังส่งผลต่อความสมดุลของผิวหนังและเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนังอีกด้วย (Chen et al., 2022) เมื่อมีการผลิต AGEs มากเกินไป ความไม่สมดุลระหว่าง AGEs (การผลิตภายในร่างกายและการบริโภคจากภายนอก) ทำให้เกิดภาวะเมตาบอลิซึมสะสมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไขมันในเลือดสูง (Perrone et al., 2020) ซึ่ง AGEs เป็นผลผลิตสุดท้ายที่เกิดจากการทําปฏิกิริยาของสารตั้งต้น 2 ชนิดคือ amino group ของโปรตีนกับ carbonyl group  ของน้ำตาลรีดิวซิ่ง (reducing sugar) หรือสารประกอบคาบอนิล (carbonyl compounds) อื่นๆ เรียกปฏิกิริยานี้ว่า Glycation หรือปฏิกิริยา Maillard เป็นกระบวนการเกิดสารสีน้ำตาลที่ไม่ใช้เอนไซม์ (non- enzymatic browning reaction) (ปรัญรัชต์, 2559 และ Uribarri et al., 2010) โดยกลุ่มของ AGEs ที่พบมากเเละมีการศึกษาอย่างกว้างขวาง คือ Nε - (carboxymethyl) lysine (CML), Nε – (carboxyethyl) lysine (CEL), pentosidine and pyrraline เนื่องจาก CML พบได้มากที่สุด จึงเป็นตัวเลือกหลักที่ใช้ใน การศึกษา (Contreras and Novakofski, 2010 และ Li et al., 2012)การศึกษาที่ผ่านมามีการนําสารสกัดสมุนไพรมาใช้ทดสอบเพื่อยับยั้งการก่อตัวของไกลเคชั่น จากผลการทดสอบเพื่อเป็นทางเลือกในการควบคุมโรคเบาหวาน (Spínola et al. 2017) มีงานวิจัยรายงานว่าการสังเคราะห์ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติสามารถยับยั้งปฏิกิริยาไกลเคชั่นหรือยับยั้งการเกิด AGEs ได้โดยแสดงถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความสามารถในการต้านไกลเคชั่นจากสารในกลุ่ม phenolic ในพืชผักที่บริโภค (Mengetal.,2011) และมีรายงานว่าสาร isoquercetin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม flavonoids สาร Kaempferol และสาร rutin ในใบตู้จ้งซึ่งเป็นพืชสมุนไพร ให้ผลแสดงการยับยั้งสารประกอบ AGEs, CML และ CMA ได้ดี แสดงถึงความสามารถในการต้านไกลเคชั่น เพราะฉะนั้นการบริโภคอาหารจากพืชที่ เป็นแหล่งของสารต้านออกซิเดชั่นและต้านอนุมูลอิสระจะสามารถยับยั้งการเกิดไกลเคชั่น ซึ่งจะเป็น ประโยชน์กับการช่วยแก้ไขโรคเรื้อรัง (Sugawaetal.,2016) หลายบทความกล่าวถึงการยับยั้ง AGEs ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สารสกัดจากพืช
งานวิจัยนี้จึงเลือกศึกษาฤทธิ์ยับยั้ง CML และ CMA โดยใช้สารสกัดจากพืชสวนครัว 10 ชนิด ได้แก่ ใบมะกรูด, ข่า, พริกหวานแดง, ถั่วพู, มะระขี้นก, มะเขือพวง, ใบแมงลัก, ขิง, กระชาย และพริกขี้หนู โดยใช้การทดสอบ ELISA ทดสอบ 2 ความเข้มข้น ซึ่งผลที่ได้นำไปวิเคราะห์ต่อด้วยการแยกคอลัมน์ด้วยตัวทำละลาย น้ำกลั่น, เอทานอล 25%, 50%, 75%, 100% และอะซิโตน เพื่อศึกษาฤทธิ์การยับยั้ง CMA และ CML ของสารประกอบภายในสารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นต่างๆ และเลือกสารสกัดจากพืชชนิดที่ดีที่สุดไปทำการวิเคราะห์โปรไฟล์ของสารฟีนอลลิกโดยวิธี HPLC และสุดท้ายนำสารสกัดจากพืชชนิดที่ดีที่สุดทำการทดสอบฤทธิ์การต้านจุลชีพของแบคทีเรียด้วยวิธี Disc diffusion

Project Members

นาตยา น้อยหิรัญ
NATTAYA NOIHIRUN

#นักศึกษา

Member
นุสรา หร่ายมณี
NUSRA HRAIMANEE

#นักศึกษา

Member
วิภาวี เดชติศักดิ์
Wipawee Dejtisakdi

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...