กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
การจัดตารางการผลิตแบบพลวัตโดยวิธีฮิวริสติกและเจเนติกอัลกอริทึม : กรณีศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตหนังสือ
Dynamic Production Scheduling by Heuristics and Genetic Algorithms: A Case Study on Enhancing Efficiency in Book Production Processes
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#Industry 4.0
รายละเอียด
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจำลองการจัดตารางการผลิตแบบพลวัต (Dynamic Scheduling) สำหรับกระบวนการผลิต คือการจัดตารางการผลิตที่มีกระบวนการทำงานแบบต่อเนื่องและมีงานเข้ามาแทรกแซง ส่งผลให้การจัดตารางการทำงานถือเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ซึ่งทำให้การผลิตเกิดความคาดเคลื่อนจากที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้งเพื่อเปรียบเทียบวิธีการที่เหมาะสมในการจัดแผนงานสำหรับการผลิตหนังสือของบริษัทกรณีศึกษาแบบฮิวริสติก (Basic Heuristic) ทั้ง 4 วิธี คือ 1. วิธีFirst-Come, First-Served (FCFS) 2. วิธีShortest-Job-First (SJF) Scheduling 3. วิธีLongest Processing Time (LPT) 4. วิธีEarliest Due Date (EDD) เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดและเปรียบเทียบกับวิธีเจเนติกฮัลกอรึทึม (Genetic Algorithms) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อย่างแพร่หลายในการแก้ไขการจัดตารางการผลิตแบบต่อเนื่อง (Dynamic Scheduling) งานวิจัยนี้มีการใช้ข้อมูลในการเปรียบเทียบโดยใช้ข้อมูลจากการจัดตารางการทำงานที่อ้างอิงจากเวลามาตรฐานในการทำงานและนำข้อมูลจากเวลามาตรฐานเปรียบเทียบกันทั้ง 4 วิธี โดยใช้ดัชนีชีวัดคือ 1.เวลางานเสร็จสมบูรณ์ในหน่วยวัน 2.เวลาส่งงานล่าช้าในหน่วยวัน 3.เปอร์เซ็นต์การใช้ประโยชน์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีเจเนติกฮัลกอรึทึม (Genetic Algorithms) เพื่อเปรียบเทียบค่าของวิธีฮิวริสติกพื้นฐานที่ใกล้เคียงมากที่สุด
วัตถุประสงค์
ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีภาวะการแข่งขันที่สูง ทุกองค์กรต่างพยายามที่จะปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งประสิทธิภาพในด้านคุณภาพ ราคา และ การส่งมอบสินค้าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าอย่างมาก หากองค์กรที่มีระบบการวางแผนการผลิตที่ดีและมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้องค์กรนั้น ๆ สามารถลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตลงได้ทั้งนี้การจัดตารางการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการผลิตที่จะช่วยให้สามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามเวลาซึ่งส่งผลต่อกำไรขององค์กรและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีความสำคัญอย่างมากในภาคธุรกิจ การจัดตารางการผลิตที่มีกระบวนการทำงานแบบพลวัตและมีงานเข้ามาแทรกแซงส่งผลให้การผลิตเกิดความคาดเคลื่อนจากที่คาดการณ์ไว้และส่งผลกระทบต่อเวลาในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้ารวมทั้งป็นการเพิ่มต้นทุนในด้านของการจัดจ้างองค์กรภายนอกเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถผลิตสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ลูกค้าต้องการซึ่งวิธีการจัดตารางการผลิตแบบพลวัตเป็นวิธีที่ช่วยในการจัดตารางการทำงานให้มีความเสถียรและเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของจัดตารางการผลิตให้ง่ายขึ้น จากการศึกษาสภาพการทำงานภายในแผนกวางแผนการผลิตของบริษัท พบปัญหาการทำงานเบื้องต้น ได้แก่ การจัดทำแผนงานยังขาดความเป็นแบบแผน วิธีการไม่ชัดเจนส่งผลให้มีการปรับแก้อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งยังพบระยะเวลาของงานที่รอสำหรับเข้าแผนงานที่สูง ส่งผลให้ต้องปฏิเสธงานที่มีเข้ามา นอกจากนี้ยังพบว่ามีพนักงานไม่เพียงพอในบางแผนก จึงเป็นเหตุของการจ้างบุคคลภายนอกอีกด้วย ทางผู้วิจัยจึงคิดที่จะวิเคราะห์ เปรียบเทียบหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดทำแผนงานด้วยวิธีการทางวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อลดต้นทุนด้านการจ้างบุคคลภายนอก เวลารอคอยในการทำงาน รวมทั้งระยะเวลาล่วงจากแผนงาน
ผู้จัดทำ
เบญจพร สอนจันทร์
BENJAPORN SONJAN
#นักศึกษา
สมาชิก
ปริศนา กล้าหาญ
PRITSANA KLAHAN
#นักศึกษา
สมาชิก
ประกายกุล แก่นคำ
PRAKAIKUN KAENKHAM
#นักศึกษา
สมาชิก
กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข
Kittiwat Sirikasemsuk
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project