Back
Dynamic Production Scheduling by Heuristics and Genetic Algorithms: A Case Study on Enhancing Efficiency in Book Production Processes
การจัดตารางการผลิตแบบพลวัตโดยวิธีฮิวริสติกและเจเนติกอัลกอริทึม : กรณีศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตหนังสือ
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#Industry 4.0
Details
The objective of this research is to study and simulate dynamic scheduling for the production process, encompassing continuous work processes and intervening tasks. Consequently, scheduling work becomes a complex task, leading to production fluctuations from the anticipated outcomes. The study includes a comparison of appropriate methods for organizing work plans in the context of the company's book production. The case study employs four heuristic methods (Basic Heuristic): 1. First-Come, First-Served (FCFS) method, 2. Shortest-Job-First (SJF) Scheduling method, 3. Longest Processing Time (LPT) method, and 4. Earliest Due Date (EDD) method. The aim is to identify the best method through a comparison with Genetic Algorithms, widely used for dynamic production scheduling problem-solving. The research utilizes data comparison based on standard work times and brings data from the standard time. The four methods are then compared using the following indices: 1. Task completion time in days, 2. Delayed work submission time in days, and 3. Percentage of utilization. The data is analyzed using Genetic Algorithms to compare the values of the basic heuristics that are closest to each other.
Objective
ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีภาวะการแข่งขันที่สูง ทุกองค์กรต่างพยายามที่จะปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งประสิทธิภาพในด้านคุณภาพ ราคา และ การส่งมอบสินค้าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าอย่างมาก หากองค์กรที่มีระบบการวางแผนการผลิตที่ดีและมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้องค์กรนั้น ๆ สามารถลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตลงได้ทั้งนี้การจัดตารางการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการผลิตที่จะช่วยให้สามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามเวลาซึ่งส่งผลต่อกำไรขององค์กรและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีความสำคัญอย่างมากในภาคธุรกิจ การจัดตารางการผลิตที่มีกระบวนการทำงานแบบพลวัตและมีงานเข้ามาแทรกแซงส่งผลให้การผลิตเกิดความคาดเคลื่อนจากที่คาดการณ์ไว้และส่งผลกระทบต่อเวลาในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้ารวมทั้งป็นการเพิ่มต้นทุนในด้านของการจัดจ้างองค์กรภายนอกเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถผลิตสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ลูกค้าต้องการซึ่งวิธีการจัดตารางการผลิตแบบพลวัตเป็นวิธีที่ช่วยในการจัดตารางการทำงานให้มีความเสถียรและเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของจัดตารางการผลิตให้ง่ายขึ้น จากการศึกษาสภาพการทำงานภายในแผนกวางแผนการผลิตของบริษัท พบปัญหาการทำงานเบื้องต้น ได้แก่ การจัดทำแผนงานยังขาดความเป็นแบบแผน วิธีการไม่ชัดเจนส่งผลให้มีการปรับแก้อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งยังพบระยะเวลาของงานที่รอสำหรับเข้าแผนงานที่สูง ส่งผลให้ต้องปฏิเสธงานที่มีเข้ามา นอกจากนี้ยังพบว่ามีพนักงานไม่เพียงพอในบางแผนก จึงเป็นเหตุของการจ้างบุคคลภายนอกอีกด้วย ทางผู้วิจัยจึงคิดที่จะวิเคราะห์ เปรียบเทียบหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดทำแผนงานด้วยวิธีการทางวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อลดต้นทุนด้านการจ้างบุคคลภายนอก เวลารอคอยในการทำงาน รวมทั้งระยะเวลาล่วงจากแผนงาน
Project Members
เบญจพร สอนจันทร์
BENJAPORN SONJAN
#นักศึกษา
Member
ปริศนา กล้าหาญ
PRITSANA KLAHAN
#นักศึกษา
Member
ประกายกุล แก่นคำ
PRAKAIKUN KAENKHAM
#นักศึกษา
Member
กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข
Kittiwat Sirikasemsuk
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project