กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
การหาเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับการเชื่อมความต้านทานท่อเหล็กกล้าไร้สนิมออสเทนนิติกและแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิมเฟอร์ริติก
Optimization for Resistance Welding between Austenitic Stainless Steel Pipe and Ferritic Stainless Steel Bracket
@คณะวิศวกรรมศาสตร์
#KLLC 2024
#Industry 4.0
รายละเอียด
ในการเชื่อมความต้านทานมีปัจจัยที่สำคัญ 3 ตัวแปร ได้แก่ กระเเสไฟฟ้า แรงกด และเวลาในการจ่ายกระเเสไฟฟ้า ซึ่งการที่จะหาเงื่อนไขที่ดีที่สุดได้นั้นต้องอาศัยหลักการทางสถิติ คือการออกแบบการทดลอง โดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียล รวมถึงออกแบบอุปกรณ์จับยึดสำหรับการเชื่อมความต้านทานและทดสอบแรงกดเฉือน ชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมออกมาแล้วต้องเกิดการเชื่อมติดกันระหว่างแผ่นเหล็กและท่อ โดยท่อต้องไม่ยุบตัวหรือเสียรูปจากการเชื่อม ขอบเขตการทดลองมีค่ากระแสไฟฟ้าอยู่ในช่วง 3600 - 4200 แอมแปร์ เเรงกดอยู่ในช่วง 1600 - 2000 นิวตัน และ เวลาในการจ่ายกระแสไฟฟ้า 10 - 12 ไซเคิล จากนั้นนำค่าแรงกดเฉือนจากเงื่อนไขในการทดลองที่ได้ ไปวิเคราะห์หาตัวแปรที่มีนัยสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่เงื่อนไขการเชื่อมที่ดีที่สุดที่ทำให้ได้ค่าเเรงกดเฉือนที่สูงที่สุด พร้อมทั้งศึกษาโครงสร้างจุลภาครอยเชื่อมของชิ้นงานที่มีเงื่อนไขการเชื่อมที่ดีที่สุด
วัตถุประสงค์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในปัจจุบันมีแนวโน้มเติบโตขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้สอดคล้องต่อปริมาณความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ท่อไอดีเป็นอะไหล่ชิ้นส่วนหนึ่งของรถยนต์ ในปัจจุบันท่อนี้ใช้การเชื่อมโลหะโดยใช้แก๊สเฉื่อย (Metal inert gas welding : MIG) ซึ่งให้อัตราการผลิตต่ำ เพื่อให้ทันต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นจึงต้องการเปลี่ยนเป็นใช้การเชื่อมความต้านทาน (Resistance Welding) เนื่องจากการเชื่อมความต้านทานนั้นตอบโจทย์เรื่องการให้อัตราการผลิตที่สูงมากกว่า ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการหาเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับการเชื่อมความต้านทาน เพื่อให้ได้ค่าความต้านทานแรงกดเฉือนของรอยเชื่อมสูงสุด โดยใช้วิธีการทางสถิติในการออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความต้านทานแรงกดเฉือนมากที่สุด ร่วมกับการออกแบบ Electrode Tip และอุปกรณ์เพื่อใช้สำหรับทดสอบแรงกดเฉือน
ผู้จัดทำ
ธนวัฒน์ แสนทวี
THANAWAT SANTAWEE
#นักศึกษา
สมาชิก
เพียงฟ้า กล่ำธัญญา
PHEANGFA KLAMTHANYA
#นักศึกษา
สมาชิก
พุทธชาติ เทียมทอง
PUTTACHART THIAMTHONG
#นักศึกษา
สมาชิก
กรรณชัย กัลยาศิริ
Kannachai Kanlayasiri
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project