กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพการบดอัดในสนามโดยการวิเคราะห์พลังงานการบดอัดในห้องปฏิบัติการ และในสนาม

Optimizing Field Compaction Quality Through Laboratory and Field Compaction Energy Analysis

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Smart City
การเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพการบดอัดในสนามโดยการวิเคราะห์พลังงานการบดอัดในห้องปฏิบัติการ และในสนาม

รายละเอียด

ทางเท้าโดยทั่วไปเมื่อผ่านการใช้งานตามระยะเวลา และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศต่าง ๆ ทางเท้าจะเกิดการยุบตัวที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางเท้า ซึ่งสาเหตุของการยุบตัวนั้นสามารถเกิดจากการไหลของดินบดอัดใต้ทางเท้าเนื่องจากมีการรั่วซึมของน้ำในพื้นที่ การมีโพรงดินอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง และการบดอัดดินใต้ผิวพื้นทางเดินที่ไม่ได้คุณภาพ หรือไม่สามารถควบคุมความหนาแน่นแห้งของการบดอัด และปริมาณความชื้นในการบดอัดให้ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในการบดอัดของดินชนิดต่าง ๆ ทางเท้าจะมีพื้นที่จำกัดมักใช้เครื่องตบหน้าดินในการปรับพื้นผิวดินให้เรียบและแน่น โดยอาศัยการส่งผ่านพลังงานของเครื่องบดอัดสู่ดินในการบดอัดในสนาม ซึ่งปัจจุบันการส่งผ่านพลังงานการบดอัดไปยังดินในสนามของเครื่องตบหน้าดิน ยังไม่มีมาตราฐานควบคุมพลังงานที่เครื่องจักรส่งผ่านให้ดิน โดยผู้ที่ใช้เครื่องตบหน้าดินส่วนมากอาศัยประสบการณ์ในการบดอัดโดยใช้ความรู้สึกว่าดินมีความแน่นแล้ว โดยขาดทฤษฎีและหลักการในการบดอัดงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเงื่อนไขของการบดอัดดินให้ได้ความหนาแน่นสูงสุดเช่นปริมาณน้ำเหมาะสมที่สุด ( optimum water content, OWC ) ศึกษาวิธีการควบคุมพลังงานในการบดอัดดินในสนามด้วยเครื่องตบหน้าดิน เพื่อควบคุมระดับชั้นการบดอัดดิน (Degree of compaction) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในการควบคุมคุณภาพ เทียบกับความหนาแน่นของดินบดอัดในห้องปฏิบัติการเพื่อให้พลังงานถูกส่งผ่านไปสู่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

ทางเท้าเป็นสิ่งก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนเดินเท้า และสร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ ในการสร้างทางเท้าต้องคำนึงถึงความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นหลัก เช่น สภาพพื้นผิว ความสม่ำเสมอของพื้นผิว การหลีกเลี่ยงไม่ให้มีสิ่งกีดขวางในเส้นทางเดินทาง จากการสังเกตสภาพของทางเท้าโดยทั่วไปพบว่า เมื่อผ่านการใช้งานตามระยะเวลา และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศต่าง ๆ ทางเท้าจะเกิดการยุบตัวที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางเท้า ซึ่งสาเหตุของการยุบตัวนั้นสามารถเกิดจากการไหลของดินบดอัดใต้ทางเท้าเนื่องจากมีการรั่วซึมของน้ำในพื้นที่ การมีโพรงดินอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง และการบดอัดดินใต้ผิวพื้นทางเดินที่ไม่ได้คุณภาพ หรือไม่สามารถควบคุมความหนาแน่นแห้งของการบดอัด และปริมาณความชื้นในการบดอัดให้ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในการบดอัดของดินชนิดต่าง ๆ จึงเกิดเป็นภาพภูมิทัศน์ที่ไม่สวยงามและอาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่ใช้งานบนทางเท้า
เครื่องมือในการบดอัดดินมีหลายชนิดและหลายขนาด การทำงานบดอัดดินในพื้นที่ขนาดใหญ่นิยมใช้รถบดอัดทำการบดอัดดิน จนมีความหนาแน่นได้ใกล้เคียงกับค่าที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการส่งผ่านของพลังงานของรถบดอัดดินไปยังดินที่ต้องการบดอัดจำนวนมาก และมีการทดสอบความหนาแน่นในสนามในกระบวนการขั้นตอนการก่อสร้างทำให้สามารถคำนวนจำนวนเที่ยวการบดอัดดินลูกรังควรใช้ความเร็วที่ต่ำ การใช้ความเร็วรถบดอัดที่สูงเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง เวลา และทำให้เครื่องจักรสึกหรอ ดังนั้นการวิ่งรถบดอัด จำนวนเที่ยววิ่งรถบดอัดที่ความหนาแน่นแห้งสูงสุด มีค่าประมาณ 11 รอบและ 23 รอบสำหรับความเร็วเท่ากับ 6.0และ 11.0กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตามในพื้นที่จำกัดมักใช้เครื่องตบหน้าดินในการปรับพื้นผิวดินให้เรียบและแน่น โดยอาศัยการส่งผ่านพลังงานของเครื่องบดอัดสู่ดินในการบดอัดในสนาม ซึ่งปัจจุบันการส่งผ่านพลังงานการบดอัดไปยังดินในสนามของเครื่องตบหน้าดิน ยังไม่มีมาตราฐานควบคุมพลังงานที่เครื่องจักรส่งผ่านให้ดิน โดยผู้ที่ใช้เครื่องตบหน้าดินส่วนมากอาศัยประสบการณ์ในการบดอัดโดยใช้ความรู้สึกว่าดินมีความแน่นแล้ว โดยขาดทฤษฎีและหลักการในการบดอัด
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเงื่อนไขของการบดอัดดินให้ได้ความหนาแน่นสูงสุดเช่นปริมาณน้ำเหมาะสมที่สุด ( optimum water content, OWC ) ศึกษาวิธีการควบคุมพลังงานในการบดอัดดินในสนามด้วยเครื่องตบหน้าดิน เพื่อควบคุมระดับชั้นการบดอัดดิน (Degree of compaction) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในการควบคุมคุณภาพ เทียบกับความหนาแน่นของดินบดอัดในห้องปฏิบัติการเพื่อให้พลังงานถูกส่งผ่านไปสู่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ผู้จัดทำ

กนกพร กุสดิษฐ
KANOKPORN KUDSADIT

#นักศึกษา

สมาชิก
ณัฐพล กองสุวรรณ์
NATTHAPON KONGSUWAN

#นักศึกษา

สมาชิก
บูรพา หาญจริง
BURAPA HANJRING

#นักศึกษา

สมาชิก
ช่อธรรม ศรีนิล
Chortham Srinil

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด