Back

Optimizing Field Compaction Quality Through Laboratory and Field Compaction Energy Analysis

การเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพการบดอัดในสนามโดยการวิเคราะห์พลังงานการบดอัดในห้องปฏิบัติการ และในสนาม

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Smart City
การเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพการบดอัดในสนามโดยการวิเคราะห์พลังงานการบดอัดในห้องปฏิบัติการ และในสนาม

Details

The road surface is usually used for a period of time, and uneven collapse may occur under different weather conditions. Causing unsafe conditions for pedestrians The reason for the collapse may be due to water leakage in the area and the movement of compacted soil under the road surface. There is a soil void nearby, and the soil under the road surface is compacted improperly or the dry density of compaction cannot be controlled. And the moisture content during compaction to meet the specified conditions for compaction of different types of soil. The road space is limited, and a tapping machine is often used to adjust the soil surface to make it smooth and compact. By transmitting the energy of the compactor to the soil being compacted on site. Currently, the compaction energy is transmitted to the soil being compacted on site by the ground compactor. There is no standard to control the energy transmitted by machines to the soil. Most people who use soil compaction machines rely on their experience of compaction and feel that the soil is already very dense. Due to the lack of compaction theory and principles, this study aims to study soil compaction conditions to achieve maximum density, such as moisture content. Best water control.

Objective

ทางเท้าเป็นสิ่งก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนเดินเท้า และสร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ ในการสร้างทางเท้าต้องคำนึงถึงความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นหลัก เช่น สภาพพื้นผิว ความสม่ำเสมอของพื้นผิว การหลีกเลี่ยงไม่ให้มีสิ่งกีดขวางในเส้นทางเดินทาง จากการสังเกตสภาพของทางเท้าโดยทั่วไปพบว่า เมื่อผ่านการใช้งานตามระยะเวลา และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศต่าง ๆ ทางเท้าจะเกิดการยุบตัวที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางเท้า ซึ่งสาเหตุของการยุบตัวนั้นสามารถเกิดจากการไหลของดินบดอัดใต้ทางเท้าเนื่องจากมีการรั่วซึมของน้ำในพื้นที่ การมีโพรงดินอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง และการบดอัดดินใต้ผิวพื้นทางเดินที่ไม่ได้คุณภาพ หรือไม่สามารถควบคุมความหนาแน่นแห้งของการบดอัด และปริมาณความชื้นในการบดอัดให้ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในการบดอัดของดินชนิดต่าง ๆ จึงเกิดเป็นภาพภูมิทัศน์ที่ไม่สวยงามและอาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่ใช้งานบนทางเท้า
เครื่องมือในการบดอัดดินมีหลายชนิดและหลายขนาด การทำงานบดอัดดินในพื้นที่ขนาดใหญ่นิยมใช้รถบดอัดทำการบดอัดดิน จนมีความหนาแน่นได้ใกล้เคียงกับค่าที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการส่งผ่านของพลังงานของรถบดอัดดินไปยังดินที่ต้องการบดอัดจำนวนมาก และมีการทดสอบความหนาแน่นในสนามในกระบวนการขั้นตอนการก่อสร้างทำให้สามารถคำนวนจำนวนเที่ยวการบดอัดดินลูกรังควรใช้ความเร็วที่ต่ำ การใช้ความเร็วรถบดอัดที่สูงเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง เวลา และทำให้เครื่องจักรสึกหรอ ดังนั้นการวิ่งรถบดอัด จำนวนเที่ยววิ่งรถบดอัดที่ความหนาแน่นแห้งสูงสุด มีค่าประมาณ 11 รอบและ 23 รอบสำหรับความเร็วเท่ากับ 6.0และ 11.0กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตามในพื้นที่จำกัดมักใช้เครื่องตบหน้าดินในการปรับพื้นผิวดินให้เรียบและแน่น โดยอาศัยการส่งผ่านพลังงานของเครื่องบดอัดสู่ดินในการบดอัดในสนาม ซึ่งปัจจุบันการส่งผ่านพลังงานการบดอัดไปยังดินในสนามของเครื่องตบหน้าดิน ยังไม่มีมาตราฐานควบคุมพลังงานที่เครื่องจักรส่งผ่านให้ดิน โดยผู้ที่ใช้เครื่องตบหน้าดินส่วนมากอาศัยประสบการณ์ในการบดอัดโดยใช้ความรู้สึกว่าดินมีความแน่นแล้ว โดยขาดทฤษฎีและหลักการในการบดอัด
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเงื่อนไขของการบดอัดดินให้ได้ความหนาแน่นสูงสุดเช่นปริมาณน้ำเหมาะสมที่สุด ( optimum water content, OWC ) ศึกษาวิธีการควบคุมพลังงานในการบดอัดดินในสนามด้วยเครื่องตบหน้าดิน เพื่อควบคุมระดับชั้นการบดอัดดิน (Degree of compaction) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในการควบคุมคุณภาพ เทียบกับความหนาแน่นของดินบดอัดในห้องปฏิบัติการเพื่อให้พลังงานถูกส่งผ่านไปสู่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

Project Members

กนกพร กุสดิษฐ
KANOKPORN KUDSADIT

#นักศึกษา

Member
ณัฐพล กองสุวรรณ์
NATTHAPON KONGSUWAN

#นักศึกษา

Member
บูรพา หาญจริง
BURAPA HANJRING

#นักศึกษา

Member
ช่อธรรม ศรีนิล
Chortham Srinil

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...