กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ชุดทดลองการวัดและวิเคราะห์สัญญาณแสงด้วยเครื่องโอทีดีอาร์
Experimental set of Optical Signals Measure and Analyze with OTDR
@คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
#KLLC 2024
#Digital Technology
รายละเอียด
ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอชุดทดลองการวัดและวิเคราะห์สัญญาณแสงด้วยเครื่องโอทีดีอาร์เพื่อศึกษาการวัดและวิเคราะห์สัญญาณแสงด้วยเครื่องโอทีดีอาร์และเพื่อออกแบบการวัดและวิเคราะห์สัญญาณแสงด้วยเครื่องโอทีดีอาร์ให้เหมาะสมมากขึ้นและสะดวกต่อการใช้งานโดยชุดทดลองชั้นบนจะมีการจำลองผังเมืองและใส่สัญลักษณ์และชั้นล่างเป็นเส้นใยแสงที่กำหนดปัจจัยของตัวแปรการสูญเสียภายในเส้นใยนำแสง ได้แก่ การกดทับ , การโค้งงอ , จุดเชื่อมต่อแบบหลอมละลาย , การเชื่อมต่อแบบ Mechanical และ Connector โดยการรับส่งสัญญาณแสงจะใช้อุปกรณ์กำเนิดแสง วิ่งผ่านเส้นใยนำแสงที่มีการสร้างแบบจำลองตัวแปรการเกิดการสูญเสียในแต่ละจุดและใช้อุปกรณ์รับแสงเป็นตัวตรวจจับแสง และมีใบงานการทดลอง ที่ประกอบไปด้วย 3 ใบงาน ได้แก่ 1. Power Meter 2. Standard Mode 3. Visualizer Mode โดยแต่ละใบงานการทดลองมีการระบุทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและลำดับการทดลองไว้อย่างชัดเจนเพื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีการวัดและวิเคราะห์สัญญาณแสงด้วยเครื่องโอทีดีอาร์ได้อย่างเข้าใจและเห็นภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
หลักสูตรครุศาสตร์วิศวกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาครุศาสตร์วิศวรรมแขนงโทรคมนาคม ชั้นปีที่ 2 มีการจักการเรียนรายวิชาปฏิบัติโทรคมนาคม(TELECOMMUNICATIONS LABORATORY ) ได้มีการทดลองการเชื่อมต่อเส้นใยนำแสงแบบหลอมละลาย(Splice Fiber optic )เป็นการเชื่อมสายที่ขาดหรือหักเข้าหากัน เพื่อทำให้เป็นเนื้อเดียวกันมากที่สุดด้วยเครื่องเข้าหัวเส้นใยนำแสง เพื่อให้การรับ-ส่งสัญญาณแสงสามารถวิ่งผ่านได้เร็วและดีที่สุด โดยที่มีค่าการสูญเสีย (Insertion Loss) น้อยที่สุดซึ่งการที่จะเข้าใจในเรื่องการเกิดการสูญเสียภายในเส้นใยนำแสงเป็นเรื่องที่ยากเพราะเส้นใยนำแสงมีขนาดเล็กทำให้ผู้เรียนไม่สามารถมองภาพการเกิดการสูญเสียภายในเส้นใยนำแสงได้ ซึ่งตัวแปรในการสูญเสียภายในเส้นใยนำแสงนั้นมีหลายตัวแปรดังนั้นการมีสื่อในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นชุดทดลองก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในโครงงานนี้มีแนวคิดที่จะจัดทำชุดทดลองการวัดและวิเคราะห์สัญญาณแสงด้วยเครื่องโอทีดีอาร์เพื่อให้ผู้เรียนที่ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องการเกิดการสูญเสียภายในเส้นใยนำแสง และยังไม่สามารถจินตนาการถึงตัวแปรในการสูญเสียภายในเส้นใยนำแสงในรูปแบบต่างๆได้นั้นเกิดความเข้าใจและสามารถจินตนาการเกี่ยวกับการสูญเสียภายในเส้นใยนำแสงได้มากยิ่งขึ้น
ผู้จัดทำ
เกษศิกรณ์ มีลือธีรเกียรติ์
KETSIKORN MEELUETEERAKEAD
#นักศึกษา
สมาชิก
ศศิประภา พรมมงคล
SASIPRAPA PROMMONGKOL
#นักศึกษา
สมาชิก
อมรชัย ชัยชนะ
Amornchai Chaichana
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project