กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ผลของการเสริมแคลเซียมและวิตามินดีต่อคุณลักษณะการเติบโตในหอยหวานทอง (Pomacea sp.)
Effects of calcium and vitamin D supplementation on growth performances in Golden apple snail (Pomacea sp.)
@คณะเทคโนโลยีการเกษตร
#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
รายละเอียด
ศึกษาผลของเสริมด้วยแคลเซียมและวิตามินดีต่อคุณลักษณะการเติบโตในหอยหวานทอง โดยแบ่งหอยหวานทอง ออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มเสริมแคลเซียม 1% และวิตามินดี2 50 ไมโครกรัม/กรัม กลุ่มเสริมแคลเซียม 1% และวิตามินดี2 100 ไมโครกรัม/กรัม กลุ่มเสริมแคลเซียม 1% และวิตามินดี2 200 ไมโครกรัม/กรัม และกลุ่มที่เสริมแคลเซียม 1% และวิตามินดี2 300 ไมโครกรัม/กรัม ตามลำดับ แต่ละชุดการทดลองมี 4 ซ้ำ ในแต่ละชุดการทดลองจะใช้แคลเซียมและวิตามินดีผสมในอาหารกุ้ง หอยที่เริ่มใช้ในการทดลองมีอายุ 3 วัน เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 100 ตัวต่อปริมาตรที่ใช้เลี้ยง 500 มิลลิลิตร (12.5 x 17.5 x 7.2 ซม.) สัตว์ทดลองเริ่มต้นมีน้ำหนักและความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 0.23 ± 0.02 มิลลิกรัม และ 1.58 ± 0.03 มิลลิเมตร ตามลำดับ หลังจากสัปดาห์ที่ 3 ย้ายหอยทดลองดังกล่าวมาเลี้ยงในถังที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (ขนาด 15 ลิตร) ปริมาตรน้ำที่ใช้เลี้ยง 7 ลิตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าหอยหวานทองมีน้ำหนักเฉลี่ยแต่ละกลุ่มทดลองเท่ากับ 5.45 ± 0.39, 5.98 ± 0.58, 6.65 ± 1.18, 5.54 ± 0.44 และ 5.26 ± 1.38) ตามลำดับ มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 6.72 ± 0.74, 8.61 ± 1.10, 12.12 ± 0.67, 11.34 ± 0.28 และ 10.73 ± 2.21 ตามลำดับ อัตราแลกเนื้อ อัตราเติบโตจำเพาะ และพารามิเตอร์คุณภาพน้ำไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P> 0.05) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการแคลเซียม 1% และวิตามินดี2 100 ไมโครกรัม ไม่มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต่อการเติบโตของหอยหวานทองได้ดียิ่งขึ้นถึงแม้จะมีอัตรารอดที่มากกว่า 80%
วัตถุประสงค์
หอยแอปเปิล Pomacea sp. เป็นหอยน้ำจืดที่มีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ในเขตร้อน กึ่งเขตร้อนและเขตอบอุ่น หอยแอปเปิลเริ่มมีการแพร่กระจายเข้ามาในแถบเอเชียเมื่อปี 1980 และเป็นศัตรูที่รุกรานในนาข้าว จึงมีการศึกษาและวิธีการควบคุมต่างๆ ทั้งเคมี ชีววิทยา และการเพาะเลี้ยง แต่ในทวีปยุโรปนิยมนำหอยทากบางชนิดเช่น Helix aspersa และ Helix pomatia มารับประทานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี และประเทศสเปน ที่มีผู้บริโภคหอยทากในแต่ละปีมากถึง 40,000 ตันต่อปี 38,000 ตันต่อปี และ 20,000 ตันต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ทางทวีปแอฟริกานิยมรับประทานหอยทาก Achatina achatina และ Achatina julica เพราะถูกจัดว่าเป็นอาหารที่มีโปรตีน (20.7) ที่สูงกว่าเนื้อหมู(11.9) เนื้อแพะ เนื้อแกะ (15.7) และเนื้อวัว (17.5) มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีไขมันและคลอเรสเตอรอลที่ต่ำ (1.21) เป็นแหล่งอาหารประเภทโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถทดแทนกันได้ ฉะนั้นจึงเกิดการเพาะเลี้ยงหอยแอปเปิลขึ้นในฟาร์ม ซึ่งการเพาะเลี้ยงหอยแอปเปิลนั้นกลายเป็นอาชีพที่น่าสนใจในกลุ่มชาวเกษตรกร อีกทั้งยังใช้ต้นทุนสำหรับการเพาะเลี้ยงที่น้อย ทำให้การเพาะเลี้ยงหอยแอปเปิลเป็นอาชีพที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และปัญหาในการเพาะเลี้ยงที่พบเจอคือ การเติบโตที่ช้า อาจเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ความหนาแน่นในการเพาะเลี้ยง หรือสารอาหารที่ได้รับ และสารอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเติบโตของหอย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ต้องเป็นไปตามความต้องการในด้านของโปรตีน พลังงาน และแร่ธาตุ แคลเซียมถือว่าเป็นแร่ธาตุหลักชนิดหนึ่งที่พบในกระดูกและเปลือกของสัตว์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของของเหลวภายในเซลล์และเนื้อเยื่อที่มีชีวิต และเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อชีวิตของหอยโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องอาศัยเปลือกหุ้มเพื่อป้องกันตัว ในการอยู่รอดหากจากสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมบริเวณน้ำจืด อีกทั้งยังช่วยสร้างขนาดของเปลือกให้มีความแข็งแรง เช่น หอยแอปเปิล วิตามินดี มีหน้าที่หลักช่วยในการดูดซึมแคลเซียมซึ่งวิตามินดีถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นอีกสารชนิดหนึ่ง ที่มีโปรฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมสภาวะสมดุลของแคลเซียมและการบำรุงรักษาโครงกระดูกที่แข็งแรง ในหอยเกี่ยวข้องกับการสร้างเปลือก และวิตามินดีเป็นสารเมแทบอไลต์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจนกับการทำงานของเซลล์แคลเซียมกับกระบวรซ่อมแซมเปลือก ซึ่งการเสริมแคลเซียมในหอยโข่ง Pila sp. ที่ระดับ 1-5% มีการเติบโตมากที่สุด เมื่อเทียบกับระดับแคลเซียมที่ 7% และ 9%
ผู้จัดทำ
ณิชกานต์ สระทองห้อย
NITCHAKAN SRATHONGHOI
#นักศึกษา
สมาชิก
รุ่งตะวัน ยมหล้า
Rungtawan Yomla
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project