กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 และ 10 ไมครอน กับปริมาณจราจร บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางรามอินทรา ทางพิเศษฉลองรัช

STUDY OF THE RELATIONSHIP BETWEEN THE CONCENTRATIONS OF PM2.5 AND PM10 MICRON AND TRAFFIC VOLUME AT RAM INTRA TOLL GATE CHALONG RAT EXPRESSWAY

@คณะวิทยาศาสตร์

#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 และ 10 ไมครอน กับปริมาณจราจร บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางรามอินทรา ทางพิเศษฉลองรัช

รายละเอียด

โครงงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 กับปริมาณจราจรที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โดยตรวจวัดความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ภายในตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษที่ 3 และ 4 ระหว่างวันที่ 16 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยใช้เครื่องวัดฝุ่นในบรรยากาศแบบพกพา และตรวจวัดความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศทั่วไปนอกตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยใช้เครื่องตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางรามอินทรา ทางพิเศษฉลองรัช และตรวจวัดปริมาณจราจรที่ผ่านเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษโดยใช้แบบสอบถาม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 กับปริมาณจราจร และความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 กับผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ

วัตถุประสงค์

ปัจจุบันปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) นับเป็นปัญหามลพิษอากาศที่สำคัญในเมืองใหญ่ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปีแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง ฟอสซิลของรถยนต์ กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้ากระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาสัมผัส อายุ และสุขภาพอนามัยของผู้รับสัมผัสแต่ละคน กรมควบคุมมลพิษได้กำหนดค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศทั่วไปที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือสุขภาพมนุษย์ มีค่าไม่เกิน 37.5 และไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ (กรมควบคุมมลพิษ, 2566)							
 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงขนาดใหญ่ที่มักเกิดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 และ ฝุ่นละออง PM10 ในบรรยากาศเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณริมถนน จากสถิติกรมขนส่งทางบก ในปี พ.ศ. 2564 รายงานว่ามีรถจดทะเบียนใหม่ในกรุงเทพมหานคร 2,971,535 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 ที่มีปริมาณรถยนต์ 2,682,200 คัน (กองแผนงาน กรมขนส่งทางบก, 2566) จากปัญหาการจราจรที่หนาแน่น จึงได้มีการสร้างทางพิเศษขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหารถติดในกรุงเทพมหานคร ทางพิเศษฉลองรัชเป็นหนึ่งในทางพิเศษที่ช่วยแบ่งเบาการจราจรบนถนนรามอินทรา มีระยะทางทั้งสิ้น 28.2 กิโลเมตร มีด่านเก็บค่าผ่านทางทั้งสิ้น 14 ด่าน โดยมีรถยนต์ 4 ล้อ และรถบรรทุกผ่านเส้นทางนี้เป็นจำนวนมาก	พนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับมลพิษจากไอเสียของรถยนต์ เนื่องจากต้องทำงานในสถานที่ปิด คับแคบ และมีรถวิ่งตลอดเวลา เมื่อได้รับมลพิษเหล่านี้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคระบบทางเดินหายใจ			
 ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ในตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษเปรียบเทียบกับในบรรยากาศทั่วไป บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางรามอินทรา ทางพิเศษฉลองรัช รวมทั้งศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานที่ปฏิบัติงานมามากกว่า 10 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันการได้รับฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ของพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษต่อไปในอนาคต

ผู้จัดทำ

ภรภัทร ศึกษานนท์
PORAPAT SUKSANON

#นักศึกษา

สมาชิก
ปิติพร เตชะวงค์
PITIPORN TACHAWONG

#นักศึกษา

สมาชิก
สุวรรณี จรรยาพูน
Suwannee Junyapoon

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา
อัศวิน วงศ์วิวัฒน์
Asawin Wongwiwat

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด