กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การสร้างคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในคดีเด็กและเยาวชน โดยใช้แบบจำลองการประมวลผลภาษาธรรมชาติ

AUTO-GENERATING EXPERT RECOMMENDATIONS IN THAI JUVENILE CASES USING NATURAL LANGUAGE PROCESSING MODEL

@คณะวิทยาศาสตร์

#KLLC 2024
#Digital Technology
การสร้างคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในคดีเด็กและเยาวชน โดยใช้แบบจำลองการประมวลผลภาษาธรรมชาติ

รายละเอียด

ในโครงการนี้จะมุ้งเน้นไปที่คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกิดจากกระบวนการจัดประชุมทำแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูให้กับเด็กหรือเยาวชนในชั้นก่อนฟ้องคดีของกระบวนการยุติธรรม โดยผู้จัดทำมองเห็นถึงปัญหาว่ากระบวนการที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ต้องใช้เวลานานในการดำเนินขั้นตอนของกระบวนการ จึงได้เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้แก้ปัญหาที่กล่าวไป โดยวิธีการคือการใช้แบบจำลองการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) สังเคราะห์คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ปัจจัยบางอย่างเป็นส่วนประกอบเช่น อายุ ความผิดตามกฎหมาย ความเสียหายที่เกิดขึ้น และอื่น ๆ ซึ่งสิ่งนี้อาจช่วยให้เวลาที่ใช้ในกระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้นน้อยลง และเพื่อการพัฒนาแบบจำลองที่สามารถทำงานในรูปแบบเฉพาะทาง ทางผู้จัดทำจึงเลือกปรับแต่ง (fine-tuned) แบบจำลอง OpenThaiGPT ด้วยชุดข้อมูลคดีเด็กหรือเยาวชนที่ประกอบไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ และคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ โดยผลลัพธ์ของการปรับแต่งแบบจำลอง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และมีประสิทธิภาพในระดับที่ยอมรับได้

วัตถุประสงค์

ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก มีการประยุกต์ใช้ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน เช่น ChatGPT, Bard เป็นต้น ณ ตอนนี้ได้มีความพยายามนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับกระบวนการยุติธรรม เพื่อพัฒนาให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในโครงการนี้จะมุ้งเน้นไปที่กระบวนการจัดทำแผนแก้ไข้บำบัดฟื้นฟู ซึ่งกระบวนการนี้สามารถจัดทำขึ้นได้ตั้งแต่เด็กหรือเยาวชนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นก่อนฟ้องคดี เมื่อคดีเด็กหรือเยาวชนเข้าข่ายมาตราที่ 86 90 หรือ 132 ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2553  และผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นควรให้มีการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู จะต้องจัดการประชุมจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู และเมื่อจัดทำแผนแล้วเสร็จต้องเสนอต่อศาลหรือพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาว่าแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดต่อเด็กหรือเยาวชนและผู้เสียหายมากกว่าการพิจารณาพิพากษาหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นให้ศาลหรือพนักงานอัยการเห็นชอบกับแผนดังกล่าวและให้มีการดำเนินการเพื่อจัดทำตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู
โดยผู้จัดทำมองเห็นถึงปัญหาว่ากระบวนการที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ต้องใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของกระบวนการ จึงได้เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้แก้ปัญหาที่กล่าวไป โดยวิธีการคือการใช้แบบจำลองการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) สังเคราะห์คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ปัจจัยบางอย่างเป็นส่วนประกอบเช่น อายุ ความผิดตามกฎหมาย ความเสียหายที่เกิดขึ้น และอื่น ๆ ซึ่งสิ่งนี้อาจช่วยให้เวลาที่ใช้ในกระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้นน้อยลง

ผู้จัดทำ

วันวิสา ขาวโต
WANWISA KAWTO

#นักศึกษา

สมาชิก
จักรพันธ์ เตไชยา
Jakapun Tachaiya

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด