Back
AUTO-GENERATING EXPERT RECOMMENDATIONS IN THAI JUVENILE CASES USING NATURAL LANGUAGE PROCESSING MODEL
การสร้างคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในคดีเด็กและเยาวชน โดยใช้แบบจำลองการประมวลผลภาษาธรรมชาติ
@คณะวิทยาศาสตร์
#KLLC 2024
#Digital Technology
Details
This project focuses on expert recommendations stemming from the process of conducting meetings to develop rehabilitation plans for children or adolescents in pre-litigation stages of the justice process. The authors identify the issue that the aforementioned process takes a considerable amount of time to execute. Hence, I contemplate the possibility of employing artificial intelligence to address these challenges. The proposed method involves utilizing Natural Language Processing (NLP) models to synthesize expert recommendations, considering factors such as age, legal offenses, damages incurred, among others. This approach aims to reduce the time required for the rehabilitation planning process. To create a model capable of functioning in a specific manner, the authors fine-tuned the OpenThaiGPT model using a dataset consisting of cases involving children or adolescents and expert recommendations. The results of fine-tuning the model demonstrate its ability to generate expert recommendations effectively at an acceptable level of performance.
Objective
ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก มีการประยุกต์ใช้ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน เช่น ChatGPT, Bard เป็นต้น ณ ตอนนี้ได้มีความพยายามนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับกระบวนการยุติธรรม เพื่อพัฒนาให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในโครงการนี้จะมุ้งเน้นไปที่กระบวนการจัดทำแผนแก้ไข้บำบัดฟื้นฟู ซึ่งกระบวนการนี้สามารถจัดทำขึ้นได้ตั้งแต่เด็กหรือเยาวชนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นก่อนฟ้องคดี เมื่อคดีเด็กหรือเยาวชนเข้าข่ายมาตราที่ 86 90 หรือ 132 ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2553 และผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นควรให้มีการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู จะต้องจัดการประชุมจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู และเมื่อจัดทำแผนแล้วเสร็จต้องเสนอต่อศาลหรือพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาว่าแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดต่อเด็กหรือเยาวชนและผู้เสียหายมากกว่าการพิจารณาพิพากษาหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นให้ศาลหรือพนักงานอัยการเห็นชอบกับแผนดังกล่าวและให้มีการดำเนินการเพื่อจัดทำตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู โดยผู้จัดทำมองเห็นถึงปัญหาว่ากระบวนการที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ต้องใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของกระบวนการ จึงได้เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้แก้ปัญหาที่กล่าวไป โดยวิธีการคือการใช้แบบจำลองการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) สังเคราะห์คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ปัจจัยบางอย่างเป็นส่วนประกอบเช่น อายุ ความผิดตามกฎหมาย ความเสียหายที่เกิดขึ้น และอื่น ๆ ซึ่งสิ่งนี้อาจช่วยให้เวลาที่ใช้ในกระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูนั้นน้อยลง
Project Members
วันวิสา ขาวโต
WANWISA KAWTO
#นักศึกษา
Member
จักรพันธ์ เตไชยา
Jakapun Tachaiya
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project