กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการตลาดของฟาร์มเจ้าคุณ BY KMITL

The Development of Print Media for the Public Relations Marketing Products of Chaokhun Farm By KMITL

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการตลาดของฟาร์มเจ้าคุณ BY KMITL

รายละเอียด

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการตลาดของฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้บริการฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL ที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการตลาด 3) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปต่อด้านความคิดเห็นสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการตลาด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ใช้บริการฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ และแบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการตลาด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent Sample t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test จากผลประเมินความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่ามีความคิดเห็นในด้านเนื้อหาระดับมาก (X = 3.98, S.D. = 0.87) ด้านภาพประกอบ และสีพื้น อยู่ในระดับมาก (X = 3.81, S.D. = 0.97) และด้านตัวอักษร ในระดับมาก (X = 3.80, S.D. = 0.87) โดยปัจจัยของเพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างกัน 2 ด้าน คือ ด้านภาพประกอบ และสีพื้น และด้านตัวอักษร แตกต่างกัน และอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และผู้ที่เคยได้รับข้อมูลการประชาสัมพันธ์แล้วมีผลต่อความคิดเห็นด้านสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการตลาดที่แตกต่างกันทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านภาพประกอบ และสีพื้น ด้านตัวอักษร

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบัน สื่อประชาสัมพันธ์ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เนื่องจากเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระจายข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่จะนําไปสู่ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร (อภิชัจ พุกสวัสดิ์ และคณะ, 2556) การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่แค่เพียงการเผยแพร่เรียกร้องความสนใจหรือสื่อสารไปยังผู้รับสารอย่างเดียวเท่านั้น จะต้องสังเกต รับฟัง ความต้องการของผู้ส่งสาร เพื่อออกแบบสื่อให้สอดคล้องต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพผู้ส่งสารหรือองค์กรจะต้องเลือกสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้มีความอย่างเหมาะสม เพื่อให้การสื่อสารนั้น มีประสิทธิภาพในทางการประชาสัมพันธ์มากที่สุด (ชวนพิศ เที่ยวแสวง, 2566) โดยสื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ (Poster) คือ เครื่องมือทางการประชาสัมพันธ์ชิ้นหนึ่งที่มีข่าวสารและรายละเอียดเนื้อหา สามารถจัดทำรูปแบบ ขนาด สีสัน สวยงาม เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้และความต้องการในสินค้าบริการ (เรวดี ไวยวาสนา, 2565)
ฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL ก่อตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เกิดจากองค์ความรู้ งานวิจัย และการเรียนการสอนของคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีองค์ความรู้และงานวิจัยจากอาจารย์และนักวิจัยรองรับ และมีส่วนรับในการส่งเสริมและสนับสนับสนุนนักศึกษา ตามวิสัยทัศน์ของตราสินค้าเพื่อให้สังคมได้รับสุขภาพที่ดี (จีรนันท์ เขิมขันธ์ และคณะ, 2565) โดยบริเวณฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL จัดตั้งจุดแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์สินค้าดังนี้ ปุ๋ยมูลช้าง ดินพลังไพร แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผักสลัด น้ำปลาร้าแบรนด์วังโอชา ข้าวอินทรีย์ ไข่เป็ด และไข่ไก่อารมณ์ดี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าแนะนำโดยมีองค์ความรู้และงานวิจัยจากอาจารย์และนักวิจัยรองรับ จากการสังเกตปัญหาเบื้องต้นผู้ใช้บริการร้านค้าฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL สินค้าทางการตลาดยังไม่เป็นที่รู้จัก และไม่ทราบรายละเอียดผลิตภัณฑ์สินค้า จัดจำหน่ายในปริมาณ และราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าไหร่ 
การทำให้เกิดการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารู้จักสินค้ามากขึ้นสื่อสิ่งพิมพ์ถือเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นซึ่งมีหลายงานวิจัยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการประชาสัมพันธ์แล้วทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจมาก เช่น งานวิจัยที่ผ่านมาของบุษยา หมีเงิน และ กุลกนิษฐ์ ทองเงา (2566) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การพัฒนาของสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบแผ่นพับ และโปสเตอร์ ผสมผสานร่วมกับ QR Code เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเขตเทศบาล ตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ผลวิจัยพบว่ามีความเหมาะสม และมีความพึงใจอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นบทความนี้จัดทำการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์ ผสมผสานร่วมกับ QR Code เพื่อให้ผู้ใช้บริการฟาร์มเจ้าคุณ By KMITL เกิดการรับรู้ข้อมูลสินค้าที่วางจำหน่าย ช่องทางติดต่อสอบถามสินค้า และเป็นทางเลือกในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าทางการตลาดจากสื่อประชาสัมพันธ์

ผู้จัดทำ

อัญชิษา ทุมทัดทราย
AUNCHISA THUMTHATSAI

#นักศึกษา

สมาชิก
จีรนันท์ เขิมขันธ์
Jeeranun Khermkhan

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด