กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ความสัมพันธ์ของปลาในแนวปะการังและโครงสร้างปะการังบริเวณอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

The Relationship between Coral Reef Fish and Habitat Structure on Coral Reefs at Sattahip, Chonburi province

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ความสัมพันธ์ของปลาในแนวปะการังและโครงสร้างปะการังบริเวณอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

รายละเอียด

ศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลาในแนวปะการังและความสมบูรณ์ของปะการังเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างประชากรปลาในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของปะการังที่แตกต่างกัน โดยเก็บข้อมูลบริเวณชายฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ดำเนินการ เดือนสิงหาคม 2566 โดยกำหนดพื้นที่ศึกษาจำนวน 2 บริเวณ ประกอบด้วย พื้นที่ศึกษาบริเวณหาดวัดช่องแสมสาร และบริเวณหาดน้ำใส แบ่งจุดเก็บตัวอย่างของแต่ละพื้นที่ออกเป็น 3 แนว ตามแนวปะการังขนานกับชายฝั่ง รวมพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งสิ้น 6 แนว โดยทำการเก็บข้อมูลปลาในแนวปะการังโดยใช้การถ่ายวีดีโอ โดยถ่ายภาพต่อเนื่องด้วย กล้องถ่ายดิจิตอล (GOPRO 8) บรรจุในกล่องกันน้ำ โดยการใช้หน่วยความจำ SDHC ขนาด 128 GB บันทึกภาพ ระบบ 1080 PHd, 120 FPS ผลการศึกษาพบปลาในแนวปะการังทั้งสิ้น จำแนกเป็น 8 วงศ์ (Family)  16 ชนิด (Species) โดยปลาชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาสลิดหินแก้มดำ (Neoglyphidodon melas) ซึ่งพบจำนวน 418 ตัว หรือคิดเป็นร้อยละ 41.1 ของปลาทั้งหมด ส่วนค่า Shannon-Weiner index, Simpson’s diversity index, evenness index พบว่าในสถานีบริเวณหาดวัดช่องแสมสารซึ่งเป็นตัวแทนของบริเวณที่มีแนวปะการังสมบูรณ์ มีค่ามากที่สุดในทุกค่าดัชนีคือ 1.55 , 0.67 ,1.26 ตามลำดับ อาจเนื่องจากแนวปะการังเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลมากที่สุดในทุกสถานี เพราะสถานีบริเวณหาดช่องแสมสารได้รับอิทธิพลจาการดูแลรักษาปะการังจากคนในชุมชนช่องแสมสาร

วัตถุประสงค์

ระบบนิเวศแนวปะการังเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากความ หนาแน่นและความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากบริเวณนี้ทั้งในแง่ของการ เป็นแหล่งหาอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหลบภัยและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนจัดได้ว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งที่มีความสําคัญในแง่ ของความหลากหลายทางชีวภาพ
	กลุ่มปลาเป็นกลุ่มสัตว์ที่สามารถพบเห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุดในบริเวณแนวปะการัง เป็นที่รู้กันอย่างดีว่าปลาที่อยู่ในบริเวณแนวปะการังนี้มีความหลากหลายของชนิดสูง สามารถพบได้ในบริเวณแนวปะการัง โดยปลาเหล่านี้บางชนิดอาศัยอยู่ถาวรในแนวปะการัง บางชนิดใช้แนวปะการังเป็นบริเวณที่หา อาหาร บางชนิดอาจใช้แนวปะการังเป็นแหล่งหลบภัยและแหล่งวางไข่  ซึ่งปลาเหล่านี้นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านการประมงแล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว เนื่องมาจากรูปร่างและสีสันที่สวยงามของปลาแต่ละชนิดอีกด้วย
	จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดท่องเที่ยวชายทะเลภาคตะวันออกที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว การประมง และสิ่งก่อสร้างอุตสาหกรรมระดับนานาชาติเช่น นิคมอุตสาหะกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมศรีราชา ส่งผลให้ทะเลและชายฝั่งแถบชลบุรีจึงถูกใช้งานอย่างหนักมาตลอด สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาคุกคามระบบนิเวศแนวปะการังและชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี แต่ก็มี่หลายพื้นที่รวมกันฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และช่วยกันดูแลระบบนิเวศทางทะเล ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่การแปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในทะเล ใช้เวลารวดเร็วมาก จึงทำให้การติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในทะเลและแนวปะการังมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
	ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชนิดของปลาในแนวปะการังอยู่ค่อนข้างมาก แต่สำหรับในแนวปะการังบริเวณชายฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีนั้นยังมีค่อนข้างน้อย จึงมุ่งเน้นการศึกษาความหลากหลายของปลาชายฝั่งอ่าวไทย บริเวณแนวปะการัง ตำบลแสมสาร พบปลาในแนวปะการังบริเวณนี้ถึง 16 ชนิด โดยปลากลุ่มเด่นที่พบในบริเวณนี้ได้แก่ ปลา สลิดหิน (ครอบครัว Pomacentridae) และบริเวณนี้ยังไม่เคยมีผู้เข้าไปทำการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธุ์ของปลาในแนวปะการังและโครงสร้างปะการัง ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้นอกจากจะเป็นองค์ ความรู้ใหม่ในเรื่องของการจำแนกชนิดของปลาในแนวปะการังและทำให้ทราบโครงสร้างของแนวปะการัง ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานใน การศีกษาผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพแนวปะการังที่มีต่อความอุดมสมบูรณ์ของปลา ในกรณีที่แนวปะการังบริเวณนี้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาในด้านต่างๆ ในระยะต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้มี ประสิทธิภาพสูงที่สุด 

ผู้จัดทำ

ธีรรัตน์ สุวรรณนารา
TEERARAT SUWANNARA

#นักศึกษา

สมาชิก
วัลย์ลดา กลางนุรักษ์
Wanlada Klangnurak

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด