Back

The Relationship between Coral Reef Fish and Habitat Structure on Coral Reefs at Sattahip, Chonburi province

ความสัมพันธ์ของปลาในแนวปะการังและโครงสร้างปะการังบริเวณอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ความสัมพันธ์ของปลาในแนวปะการังและโครงสร้างปะการังบริเวณอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

Details

Study the diversity of fish species in coral reefs and the integrity of corals to understand the fish population structure in areas with different coral abundance. By collecting data on the coast, Sattahip District, Chonburi Province, conducted in August 2023, by determining 2 study areas, consisting of a study area at Wat Chong Samae San Beach and Nam Sai Beach. Divide the sample collection point of each area into 3 lines according to the coral reef parallel to the coast. Including a total of storage areas by collecting fish in the reef using video shooting continuously with a digital camera (GOPRO8, packed in a waterproof box By using 128 GB SDHC memory, 1080 PHd, 120 FPS, the results of the study found fish in the coral reefs into 8 families (Family) 16 species (Species). The most common fish is the most common. Black Cheek (Neoglyphidodon melas), which found 418 individuals or 41.1% of all fish.

Objective

ระบบนิเวศแนวปะการังเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากความ หนาแน่นและความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากบริเวณนี้ทั้งในแง่ของการ เป็นแหล่งหาอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหลบภัยและแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนจัดได้ว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งที่มีความสําคัญในแง่ ของความหลากหลายทางชีวภาพ
	กลุ่มปลาเป็นกลุ่มสัตว์ที่สามารถพบเห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุดในบริเวณแนวปะการัง เป็นที่รู้กันอย่างดีว่าปลาที่อยู่ในบริเวณแนวปะการังนี้มีความหลากหลายของชนิดสูง สามารถพบได้ในบริเวณแนวปะการัง โดยปลาเหล่านี้บางชนิดอาศัยอยู่ถาวรในแนวปะการัง บางชนิดใช้แนวปะการังเป็นบริเวณที่หา อาหาร บางชนิดอาจใช้แนวปะการังเป็นแหล่งหลบภัยและแหล่งวางไข่  ซึ่งปลาเหล่านี้นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านการประมงแล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว เนื่องมาจากรูปร่างและสีสันที่สวยงามของปลาแต่ละชนิดอีกด้วย
	จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดท่องเที่ยวชายทะเลภาคตะวันออกที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว การประมง และสิ่งก่อสร้างอุตสาหกรรมระดับนานาชาติเช่น นิคมอุตสาหะกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมศรีราชา ส่งผลให้ทะเลและชายฝั่งแถบชลบุรีจึงถูกใช้งานอย่างหนักมาตลอด สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาคุกคามระบบนิเวศแนวปะการังและชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี แต่ก็มี่หลายพื้นที่รวมกันฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และช่วยกันดูแลระบบนิเวศทางทะเล ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่การแปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในทะเล ใช้เวลารวดเร็วมาก จึงทำให้การติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในทะเลและแนวปะการังมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
	ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชนิดของปลาในแนวปะการังอยู่ค่อนข้างมาก แต่สำหรับในแนวปะการังบริเวณชายฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีนั้นยังมีค่อนข้างน้อย จึงมุ่งเน้นการศึกษาความหลากหลายของปลาชายฝั่งอ่าวไทย บริเวณแนวปะการัง ตำบลแสมสาร พบปลาในแนวปะการังบริเวณนี้ถึง 16 ชนิด โดยปลากลุ่มเด่นที่พบในบริเวณนี้ได้แก่ ปลา สลิดหิน (ครอบครัว Pomacentridae) และบริเวณนี้ยังไม่เคยมีผู้เข้าไปทำการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธุ์ของปลาในแนวปะการังและโครงสร้างปะการัง ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้นอกจากจะเป็นองค์ ความรู้ใหม่ในเรื่องของการจำแนกชนิดของปลาในแนวปะการังและทำให้ทราบโครงสร้างของแนวปะการัง ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานใน การศีกษาผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพแนวปะการังที่มีต่อความอุดมสมบูรณ์ของปลา ในกรณีที่แนวปะการังบริเวณนี้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาในด้านต่างๆ ในระยะต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้มี ประสิทธิภาพสูงที่สุด 

Project Members

ธีรรัตน์ สุวรรณนารา
TEERARAT SUWANNARA

#นักศึกษา

Member
วัลย์ลดา กลางนุรักษ์
Wanlada Klangnurak

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...