กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
นวัตกรรมเครื่องผลิตอาหารปลาและสูตรอาหารปลาอัดเม็ดจากเศษขยะอินทรีย์เหลือทิ้งในชุมชนชายฝั่งทะเล
Fish-food machine for production fish-food pellet from organic waste in coastal community
@วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
รายละเอียด
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตอาหารปลาในส่วนการอบแห้งอาหารปลาอัดเม็ดเพื่อคงคุณค่าและเพิ่มความสามารถในการเก็บรักษาอาหารปลาได้นานขึ้นและเพื่อศึกษาต่อยอดส่วนผสมอาหารปลาอัดเม็ดจากส่าหร่ายทะเล, เปลือกกุ้ง, และเปลือกปูลงในสูตรอาหารปลาแบบเดิม โดยร่วมมือกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านปากคลองบางสนและแหล่งเรียนรู้ธนาคารปูม้าเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านหินกบ ซึ่งมีโจทย์ในเรื่องการจัดการขยะอินทรีย์เหลือทิ้งเช่น สาหร่าย เปลือกกุ้ง และเปลือกปู มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารปลาสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงปลา ในงานวิจัยนี้จึงสร้างเครื่องผลิตอาหารปลาจากขยะอินทรีย์ในชุมชนที่สามารถอัดเม็ดอาหารและอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดได้ในเครื่องเดียวรวมทั้งออกแบบส่วนผสมสูตรอาหารปลาให้มีส่วนผสมของสาหร่าย เปลือกกุ้ง และเปลือกปู โดยศึกษาผลกระทบของส่วนผสมและอุณหภูมิในการอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการอัดเม็ด, จลนศาสตร์การอบแห้ง, อัตราการผลิต, ดัชนีความคงทนของเม็ดอาหาร, และความคงทนในการละลายน้ำ ผลการศึกษาพบว่า เครื่องผลิตเม็ดอาหารปลามีประสิทธิภาพการอัดเม็ดอาหารอยู่ในช่วง 60-76% โดยที่ปริมาณของสาหร่าย เปลือกกุ้ง และเปลือกปูที่แตกต่างกันในส่วนผสมไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการอัดเม็ดอย่างมีนัยสำคัญ และอุณหภูมิที่ 110˚C เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งเม็ดอาหารปลาเครื่องผลิตอาหารปลาอัดเม็ด (อัดเม็ดและอบแห้ง) มีอัตราการผลิตอยู่ที่ 64 kg/day ซึ่งเม็ดอาหารปลาที่ผลิตมีค่าดัชนีความคงทนสูงกว่า 80% และมีค่าความคงทนในการละลายน้ำสูงกว่า 85% (หลังการแช่น้ำ 6 ชั่วโมง)
วัตถุประสงค์
การพัฒนาเครื่องผลิตอาหารปลาแบบอัดเม็ดชนิด Pellet ร่วมกับเทคนิคการอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบด ประสบความสำเร็จในการเป็นส่วนนึงที่ช่วยวิสาหกิจชุมชนในการเพิ่มอัตราการผลิตอาหารปลาอัดเม็ด และลดการพึ่งพาการซื้ออาหารปลาอัดเม็ดที่มีราคาสูงในท้องตลาดได้ โดยในชุมชนมีขยะเหลือทิ้งที่มี ศักยภาพในการใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารปลา เช่น สาหร่าย เปลือกกุ้งและเปลือกปู ซึ่งสามารถออกแบบและสร้างเครื่องผลิตอาหารปลาจากขยะอินทรีย์โดยการอัดเม็ดเป็น Pellet และใช้การอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดได้ในเครื่องเดียว
ผู้จัดทำ
นฤบดี ศรีสังข์
Naruebodee Srisang
#อาจารย์
สมาชิก
จตุพัฒน์ ไม้แก้ว
JUTUPHAT MAIKAEW
#นักศึกษา
สมาชิก
ศิริวรรณ ศรีสังข์
Siriwan Stisang
#อาจารย์
สมาชิก
วารุณี ลิ่มมั่น
Warunee limmun
#อาจารย์
สมาชิก
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project