กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
โครงการฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวริมคลองห้วยยาง ตําบลทับเที่ยง อําเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
Return of Klong Huai Yang
@คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
รายละเอียด
คลองห้วยยาง คลองที่ไหลผ่านตัวเมืองทับเที่ยงและอยู่ร่วมกับคนตรังมานานนับตั้งแต่จะ มีบันทึกไว้ในจดหมายของเจ้าเมืองสักฉบับ ในอดีตเคยหล่อเลี้ยงชีวิตชาวทับเที่ยงตลอดระยะ ทางที่คลองจะไหลผ่าน เป็นทั้งแหล่งอาหารให้จับปลา เส้นทางสัญจรผู้คนและการค้าให้เชื่อมต่อ ถึงกัน หรือแม้กระทั่งสวนพริกไทยเมืองตรังที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพืช GI ก็ยังต้องใช้น้ำจากคลอง เส้นนี้ให้การหล่อเลี้ยงให้ผลผลิตเติบโต คนตรังหลายคนมีความทรงจำร่วมกับคลองแห่งนี้ จนกระทั่งเวลาล่วงผ่านไป การเติบโตของเมืองรวมถึงการพัฒนาเข้ามาถึงคลองเส้นนี้ จากตลิ่งดิน มีพื้นที่ให้พืชพรรณเติบโต ก็กลายเป็นพื้นดาดคอนกรีตที่ถูกทิ้งไม่ได้รับการดูแล รักษา เกิดเป็นแหล่งอาชญากร ตัดขาดระหว่างคนกับคลอง กลายเป็นแหล่งน้ำเสียส่งกลิ่นและ กระทบกับนิเวศ ทำให้คลองห้วยยางแห่งนี้ถูกผู้คนหันหลังใส่ ไม่ได้ใช้ศักยภาพและประสิทธิภาพ ของพื้นที่ได้เต็มที่อย่างที่เคยเป็น จะเป็นอย่างไรถ้าคลองห้วยยางได้กลับมามีบทบาทในชีวิตของชาวเมืองทับเที่ยงได้อีกครั้ง ด้วยระยะทางกว่า 1.3 กิโลเมตร “Return of Klong Huai Yang” ได้เสนอพื้นที่และ Function ที่ทำให้คน คลอง และนิเวศ กลับมาอยู่ร่วมกันโดยสร้างสรรค์พื้นที่ที่เหมาะกับบริบทโดยรอบ ส่งเสริมการใช้งานในชีวิตประจำวันจากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ได้มาพบปะพูดคุยกัน รวมถึงเป็น พื้นที่ที่สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับบริเวณใกล้เคียง ปรับการใช้งานให้ตอบโจทย์กับยุคปัจจุบัน แต่ยังคงมีกลิ่นอายของอดีตให้นึกถึง ผ่าน Design Concept ที่ใช้สวนพริกไทยมาเป็นตัวเชื่อม ทุกอย่างเข้าด้วยกัน ให้คนเก่า ๆ ได้หวนนึกถึง และคนรุ่นใหม่ก็ได้รับรู้ประวัติศาสตร์ของคลอง แห่งนี้ร่วมกัน
วัตถุประสงค์
เนื่องจากผู้ออกแบบเห็นถึงศักยภาพในพื้นที่ริมคลองห้วยยาง จึงได้ทำการศึกษาการใช้งานพื้นที่ริมคลองห้วยยางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีการให้ความสำคัญกับพื้นที่ริมคลองลดน้อยลงและมีแนวโน้มในการเกิดเป็นพื้นที่ถูกทิ้งร้าง โครงการนี้จึงเป็นการเสนอแนะแนวทางการออกแบบและพัฒนาพื้นที่ริมคลองห้วยยาง เพื่อนำเสนอให้เกิดทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่ริมคลองห้วยยางให้เข้ากับบริบทเมืองได้ต่อไปในอนาคต
ผู้จัดทำ
มณฑิตา เพ่งพิศ
MONTHITA PENGPIT
#นักศึกษา
สมาชิก
ธิติพันธุ์ ตริตระการ
Thitiphan Tritrakarn
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project