กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ระบบตรวจจับสัญญาณรบกวนจีเอ็นเอสเอสตามระดับอาร์เอฟไอ

GNSS (Global Navigation Satellite System) RFI Detection System

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Industry 4.0
ระบบตรวจจับสัญญาณรบกวนจีเอ็นเอสเอสตามระดับอาร์เอฟไอ

รายละเอียด

ระบบจีเอ็นเอสเอส (GNSS : Global Navigation Satellite System) เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการสําหรับระบุตําแหน่งหรือค่าพิกัดบนพื้นผิวโลก แต่เนื่องจากระดับสัญญาณที่รับได้จากเครื่องรับที่อยู่ที่พื้นโลกมีค่าต่ำ  จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเกิดการถูกรบกวนสัญญาณได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ต้องใช้สัญญาณที่มีเสถียรภาพสูง ดังนั้นในโครงงานนี้คณะผู้จัดทำได้พัฒนาอุปกรณ์สําหรับการตรวจจับสัญญาณรบกวนจีเอ็นเอสเอส โดยจะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผลว่าค่ากําลังสัญญาณที่รับมานั้นน้อยกว่าที่กําหนดหรือไม่ ซึ่งจะวิเคราะห์ร่วมกับสเปกตรัมของสัญญาณว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และสามารถระบุประเภทของอุปกรณ์รบกวนสัญญาณว่าเป็นอุปกรณ์ชนิดใดได้ผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จากนั้นนําข้อมูลทั้งหมดที่บันทึกได้ไปจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่อสะดวกในการใช้งานและตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเว็บเบราว์เซอร์

วัตถุประสงค์

ระบบจีเอ็นเอสเอส (GNSS : Global Navigation Satellite System) เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการสําหรับระบุตําแหน่งหรือค่าพิกัดบนพื้นผิวโลกหรือใช้อ้างอิงมาตรฐานเวลา และเนื่องจากสัญญาณของระบบระบุพิกัดตําแหน่งจากดาวเทียมเป็นระบบแบบเปิด จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเกิดการถูกรบกวนสัญญาณขึ้นทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งจะส่งผลให้การระบุตําแหน่งของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เกิดความผิดพลาด และในบางครั้งอาจส่งผลให้เครื่องรับสัญญาณนั้นไม่สามารถตรวจจับและติดตามดาวเทียมได้ในขณะนั้น โดยสัญญาณที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจนั้นอาจเกิดจากระบบสื่อสารอื่น ๆ ที่แพร่ความถี่ข้างเคียงออกมาจึงทำให้เกิดระบบการทำงานที่ไม่สมบูรณ์ และสัญญาณที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจอาจเกิดจากอุปกรณ์รบกวนสัญญาณหรือ Jammer ขนาดเล็กที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะผลิตสัญญาณขึ้นมาในย่านความถี่จีพีเอส อุปกรณ์ชนิดนี้จะถูกใช้งานในการตัดสัญญาณดาวเทียมเพื่อป้องกันการติดตาม โดยในอุปกรณ์รบกวนสัญญาณแบบ SMA-Battery Jammer จะสามารถรบกวนสัญญาณได้ถึงระยะ 110 เมตร และในอุปกรณ์รบกวนสัญญาณแบบ USB-GPS Jammer จะสามารถรบกวนสัญญาณได้ถึงระยะ 90 เมตร ซึ่งส่งผลให้การรับค่าสัญญาณจากดาวเทียมนั้นเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ โดยในบางครั้งอาจรับจำนวนดาวเทียมได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่สามารถรับดาวเทียมได้เลย ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ และได้ออกแบบรวมถึงพัฒนาอุปกรณ์สําหรับการตรวจจับสัญญาณรบกวนแบบเจาะจงทิศทางเดียวในระยะครอบคลุม 20 เมตร เนื่องจากต้องการให้ระบบนั้นสามารถตรวจจับการรบกวนและภาพแหล่งที่มาของการถูกรบกวนสัญญาณได้อย่างชัดเจนร่วมกับอุปกรณ์รับสัญญาณจีเอ็นเอสเอส โดยในการทำงานเมื่อรับสัญญาณมาแล้วระบบจะนำข้อมูลไปประมวลผลว่าค่ากําลังสัญญาณ จำนวนดาวเทียมหรือค่าอัตราความหนาแน่นของคลื่นพาห์ต่อสัญญาณรบกวน (CNR : Carrier-to-Noise Ratio) ที่รับค่ามานั้นมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ที่กําหนดหรือไม่ เพื่อจะสามารถวิเคราะห์ระดับการถูกรบกวนของสัญญาณ โดยจะวิเคราะห์ร่วมกับกราฟสเปกตรัมของสัญญาณว่ามีความเปลี่ยนแปลงของกราฟสเปกตรัมอย่างไร หากมีการรบกวนจะมีการส่งแจ้งเตือน และจะมีการจับภาพแหล่งที่มาเก็บไว้ด้วย นอกจากนี้ระบบยังสามารถระบุประเภทของอุปกรณ์รบกวนสัญญาณว่าเป็นอุปกรณ์ชนิดใด จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ระบบจะนําข้อมูลทั้งหมดที่บันทึกได้ไปจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลและไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลและสำรองข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลดังกล่าวมาแสดงบนเว็บเบราว์เซอร์ที่สร้างขึ้นมาให้มีความสะดวกในการใช้งานและตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผู้จัดทำ

พาณิภัคร ค้าของ
PANIPRAK KAKHONG

#นักศึกษา

สมาชิก
พรนภัส งามพาณิชยกิจ
PORNNAPAS NGAMPANITCHAYAKIT

#นักศึกษา

สมาชิก
พลอยนวล ชนะบุญ
PLOYNUAN CHANABOON

#นักศึกษา

สมาชิก
จิรภูมิ บุตรโท
Jirapoom Budtho

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชัย ทรัพย์นิธิ
PORNCHAI SUPNITHI

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด