Back

GNSS (Global Navigation Satellite System) RFI Detection System

ระบบตรวจจับสัญญาณรบกวนจีเอ็นเอสเอสตามระดับอาร์เอฟไอ

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Industry 4.0
ระบบตรวจจับสัญญาณรบกวนจีเอ็นเอสเอสตามระดับอาร์เอฟไอ

Details

The Global Navigation Satellite System (GNSS) is an essential infrastructure for providing location and coordinate data on the surface of the Earth. However, due to the low signal levels received by ground receivers, it is at risk of disturbance, which may have consequences for individuals or organizations that rely on highly reliable signals. As a result, we have developed a device for detecting GNSS signal interferences. The device processes the received data to determine whether or not the received signals are disturbed. Using artificial intelligence (AI), it also analyzes the signal's spectrum to detect any variations and classify the type of interference device. The collected data from this device is also recorded in a database for convenient web-browser-based analysis and access in the future.

Objective

ระบบจีเอ็นเอสเอส (GNSS : Global Navigation Satellite System) เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการสําหรับระบุตําแหน่งหรือค่าพิกัดบนพื้นผิวโลกหรือใช้อ้างอิงมาตรฐานเวลา และเนื่องจากสัญญาณของระบบระบุพิกัดตําแหน่งจากดาวเทียมเป็นระบบแบบเปิด จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเกิดการถูกรบกวนสัญญาณขึ้นทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งจะส่งผลให้การระบุตําแหน่งของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เกิดความผิดพลาด และในบางครั้งอาจส่งผลให้เครื่องรับสัญญาณนั้นไม่สามารถตรวจจับและติดตามดาวเทียมได้ในขณะนั้น โดยสัญญาณที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจนั้นอาจเกิดจากระบบสื่อสารอื่น ๆ ที่แพร่ความถี่ข้างเคียงออกมาจึงทำให้เกิดระบบการทำงานที่ไม่สมบูรณ์ และสัญญาณที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจอาจเกิดจากอุปกรณ์รบกวนสัญญาณหรือ Jammer ขนาดเล็กที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะผลิตสัญญาณขึ้นมาในย่านความถี่จีพีเอส อุปกรณ์ชนิดนี้จะถูกใช้งานในการตัดสัญญาณดาวเทียมเพื่อป้องกันการติดตาม โดยในอุปกรณ์รบกวนสัญญาณแบบ SMA-Battery Jammer จะสามารถรบกวนสัญญาณได้ถึงระยะ 110 เมตร และในอุปกรณ์รบกวนสัญญาณแบบ USB-GPS Jammer จะสามารถรบกวนสัญญาณได้ถึงระยะ 90 เมตร ซึ่งส่งผลให้การรับค่าสัญญาณจากดาวเทียมนั้นเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ โดยในบางครั้งอาจรับจำนวนดาวเทียมได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่สามารถรับดาวเทียมได้เลย ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ และได้ออกแบบรวมถึงพัฒนาอุปกรณ์สําหรับการตรวจจับสัญญาณรบกวนแบบเจาะจงทิศทางเดียวในระยะครอบคลุม 20 เมตร เนื่องจากต้องการให้ระบบนั้นสามารถตรวจจับการรบกวนและภาพแหล่งที่มาของการถูกรบกวนสัญญาณได้อย่างชัดเจนร่วมกับอุปกรณ์รับสัญญาณจีเอ็นเอสเอส โดยในการทำงานเมื่อรับสัญญาณมาแล้วระบบจะนำข้อมูลไปประมวลผลว่าค่ากําลังสัญญาณ จำนวนดาวเทียมหรือค่าอัตราความหนาแน่นของคลื่นพาห์ต่อสัญญาณรบกวน (CNR : Carrier-to-Noise Ratio) ที่รับค่ามานั้นมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ที่กําหนดหรือไม่ เพื่อจะสามารถวิเคราะห์ระดับการถูกรบกวนของสัญญาณ โดยจะวิเคราะห์ร่วมกับกราฟสเปกตรัมของสัญญาณว่ามีความเปลี่ยนแปลงของกราฟสเปกตรัมอย่างไร หากมีการรบกวนจะมีการส่งแจ้งเตือน และจะมีการจับภาพแหล่งที่มาเก็บไว้ด้วย นอกจากนี้ระบบยังสามารถระบุประเภทของอุปกรณ์รบกวนสัญญาณว่าเป็นอุปกรณ์ชนิดใด จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ระบบจะนําข้อมูลทั้งหมดที่บันทึกได้ไปจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลและไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลและสำรองข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลดังกล่าวมาแสดงบนเว็บเบราว์เซอร์ที่สร้างขึ้นมาให้มีความสะดวกในการใช้งานและตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น

Project Members

พาณิภัคร ค้าของ
PANIPRAK KAKHONG

#นักศึกษา

Member
พรนภัส งามพาณิชยกิจ
PORNNAPAS NGAMPANITCHAYAKIT

#นักศึกษา

Member
พลอยนวล ชนะบุญ
PLOYNUAN CHANABOON

#นักศึกษา

Member
จิรภูมิ บุตรโท
Jirapoom Budtho

#อาจารย์

Advisor
พรชัย ทรัพย์นิธิ
PORNCHAI SUPNITHI

#อาจารย์

Co-advisor

Vote for this Innovation!

Loading...