กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การปรับปรุงและการจัดการข้อมูล 3 มิติผ่านระบบ TEAMCENTER

Improvement and Management of 3D Data through TEAMCENTER System

@วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

#KLLC 2024
#Industry 4.0
การปรับปรุงและการจัดการข้อมูล 3 มิติผ่านระบบ TEAMCENTER

รายละเอียด

รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาร่วมกับแผนก Engineer ของบริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยานยนต์ โดยโครงงานนี้นำเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงและการจัดการข้อมูล 3 มิติผ่านระบบ Teamcenter โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาในการรอชิ้นงาน 3 มิติ (Part component) ของแผนก Sourcing และลดระยะเวลาในการเตรียมชิ้นงาน 2 มิติ (drawing , Part component) ในแผนก Engineer สำหรับการออก Engineering order sheet (EOS) เพื่อขอราคาต้นทุน โดยทำการศึกษาและเขียนแบบ 3 มิติในโปรแกรม CATIA เป็นจำนวน 2,500 ชิ้นงานจากทั้งหมด 5,318 ชิ้นงานจากนั้นทำการอัปโหลดข้อมูลเข้าในระบบ Teamcenter และนอกจากนี้ยังมีการสร้าง  Bill of Materials (BOM) ของโมเดลรุ่นใหม่ๆในระบบ Teamcenter ซึ่งผลจากการอัปโหลดชิ้นงาน 3 มิติ จำนวน 2,500 ชิ้นงานและการสร้าง BOM ของโมเดลรุ่นใหม่ๆนั้นส่งผลให้ในระบบ Teamcenter มีข้อมูลที่แต่ละแผนกสามารถนำไปใช้งานได้มากขึ้นจากเดิมที่มีข้อมูลเฉพาะแค่ชิ้นงาน 2 มิติอัปโหลดอยู่เท่านั้นอีกทั้งยังสามารถช่วยลดเวลาในการรอชิ้นงาน 3 มิติของแผนก Sourcing และลดระยะเวลาในการเตรียมชิ้นงาน 2 มิติในแผนก Engineer ได้เช่นกัน ซึ่งสามารถนำโครงานนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระบบ Teamcenter ที่ดีขึ้นได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์

การจัดการข้อมูลในระบบ Teamcenter เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในบริษัทไทยสตีลเคเบิล จำกัด(มหาชน) โดยเฉพาะในแผนก Engineer ที่ต้องมีการทำงานโดยอัปโหลดชิ้นงาน 2 มิติ (drawing) ของ Finished goods , Part Semi และ Part Component เข้าไปในระบบ Teamcenter เพื่อให้แผนกอื่นๆที่ต้องการใช้งานในส่วนของชิ้นงาน 2 มิติสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ส่งผลให้ ณ ปัจจุบันในระบบ Teamcenter นั้นมีเพียงชิ้นงาน 2 มิติที่อัปโหลดอยู่เท่านั้น ซึ่งปัญหาเกิดจากเมื่อในกรณีที่ทางแผนก Sourcing ต้องการเปลี่ยน Supplier หรือหา Supplier เจ้าใหม่ทางแผนก Sourcing จะทำการ Request ชิ้นงาน 3 มิติ Part component นั้นๆ ซึ่งทางแผนก Engineer จะต้องใช้ระยะเวลาในการส่งชิ้นงาน 3 มิติ Part component นั้นๆให้กับแผนก Sourcing ภายในระยะเวลา 3 วัน ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่าหากมีการเพิ่มข้อมูลในส่วนของชิ้นงาน 3 มิติ Part component เข้าไปในระบบ Teamcenter จะช่วยลดระยะเวลาในการรอชิ้นงาน 3 มิติของแผนก Sourcing ได้ และนอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดจากกรณีที่แผนก Engineer ต้องการออก Engineering order sheet (EOS) ให้กับแผนก Sourcing เพื่อขอราคาต้นทุนจาก Supplier ซึ่งปัญหาเกิดขึ้นที่ขั้นตอนของการออก EOS ของแผนก Engineer ที่ต้องมีการจัดเตรียม ชิ้นงาน 2 มิติ part component ของ Finished goods drawing (FG drawing) นั้นๆซึ่งในขั้นตอนนี้ทางแผนก Engineer ต้องค้นหาชิ้นงาน 2 มิติในระบบ Teamcenter ทีละ component ทางผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่าหากมีการสร้าง Bill of Materials (BOM) ของ FG drawing ไว้ใน Teamcenter จะช่วยให้สามารถลดเวลาในการเตรียมชิ้นงาน 2 มิติ Part component เนื่องจากสามารถค้นหาแค่ FG drawing แล้วสามารถดาวน์โหลดชิ้นงาน 2 มิติ Part component ภายใน FG drawing นั้นๆได้เลยในครั้งเดียว และนอกจากนี้การแก้ไขปัญหาของทั้ง 2 กรณียังเป็นการเพิ่มข้อมูลในระบบ Teamcenter จึงส่งผลให้การใช้งานระบบ Teamcenter มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย

ผู้จัดทำ

ชนัญชิดา รักษาศรี
CHANANCHIDA RAKSASRI

#นักศึกษา

สมาชิก
ชานนท์ วริสาร
CHANON WARISARN

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด