กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก จังหวัดสมุทรปราการ
PACKAGING DEVELOPMENT OF BAN SORANG SOK COMMUNITY ENTERPRISE GROUPS SAMUT PRAKAN PROVINCE
@คณะเทคโนโลยีการเกษตร
#Cluster 2024
#Healthcare and Wellness
รายละเอียด
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศกอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เเละเพื่อปรับปรุงพัฒนาตราสินค้าบรรจุภัณฑ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างและการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่มกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก ผลการศึกษาพบว่า จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนด้านความต้องการในการพัฒนาตราสินค้า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก จังหวัดสมุทรปราการ พบว่ามีความต้องการพัฒนาตราสินค้า โดยใช้ชื่อว่า “พรสำเภา” ด้านตราสินค้า อยู่ในระดับมากที่สุด ความเด่นชัดของตราสินค้าบน บรรจุภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 5) ด้านความเป็นเอกลักษณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ต้องการรูปแบบน่าสนใจ จดจำตราสินค้าง่าย ( ค่าเฉลี่ย 5) ด้านข้อมูลรายละเอียดสินค้า อยู่ในระดับมากที่สุด บอกรายละเอียดวันผลิตและวันหมดอายุ (ค่าเฉลี่ย 5) ด้านองค์ประกอบรูปภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ โทนสีเย็น (ให้ความรู้สึกสบายตา) ( ค่าเฉลี่ย 4.57) และชุมชน ด้านความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านรูปแบบความต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด คือ บรรจุภัณฑ์สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้ดี ( ค่าเฉลี่ย 5) บรรจุภัณฑ์ปิดมิดชิดเก็บสินค้าได้สะดวก ( ค่าเฉลี่ย 4.57) บรรจุภัณฑ์มีลักษณะที่สะอาดปลอดภัยเก็บรักษาได้นาน (ค่าเฉลี่ย 4.57) ด้านปริมาตรหรือปริมาณ พบว่า อยู่ในระดับมาก คือ 500 กรัม (ค่าเฉลี่ย 4.43) จากการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรบ้านสร่างโศก จังหวัดสมุทรปราการ ตราสินค้าแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของกุ้งเหยียดและเรือสำเภาที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้าให้มีความโดดเด่นและสามารถสร้างดึงดูดลูกค้าได้มากกว่าทำให้การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก
วัตถุประสงค์
วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) เป็นกิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันรายได้ส่วนใหญ่ที่ได้มาจากการทำผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งก็ได้มีการแปรรูป ผลผลิตหรือการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนั้น เดิม“กุ้งเหยียด”เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของชุมชนบ้านสาขลา ที่ตั้งอยู่ริมคลองสาขลาซึ่งเป็น คลองที่แยกออกมาจากคลองสรรพสามิตในเขต ตำบล นาเกลือ อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สภาพพื้นที่ของชาวบ้านสาขลานี้ส่วนใหญ่ถูกขุดขึ้นเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง เนื่องมาจากเลี้ยงกุ้งได้ง่าย เดิมกุ้งเหยียดเริ่มจากการทำเพื่อรับประทานกันเองในบ้าน โดยในขณะนั้นยังไม่ได้ใช้ชื่อเรียกว่า กุ้งเหยียด (สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ, 2566) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก ตำบล คลองด่าน อำเภอ คลองด่าน จังหวัด สมุทรปราการ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2537 ในอดีตกลุ่มผลิตกะปิจากเคย มีคู่แข่งในตลาดค่อนข้างมาก เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ เข้ามาช่วยเหลือเรื่องราคาของผลผลิตที่ตกต่ำ ระดมทุนเพื่อแปรรูปสินค้าจากเคย หลังจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศกเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ได้ผลิตสินค้าใหม่ออกมา เช่น น้ำพริกกะปิ และกุ้งเหยียด โดยนำเสนอว่าผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในชุมชนและปลอดภัย (สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ, 2566) ปัจจุบัน กุ้งเหยียด ภูมิปัญญาชาวบ้าน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก เริ่มมีการนำกุ้งมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เป็นการถนอมอาหารให้มีระยะเวลาการเก็บรักษาได้นานมากขึ้น เนื่องจากทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และปรับปรุงตราสินค้าให้มีลักษณะที่โดดเด่นจึงยังไม่สามารถสร้างความดึงดูดและความน่าจดจำให้กับผู้บริโภคได้ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนสามารถนำไปต่อยอดต้องมีการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น ดังนั้น ผู้ทำวิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และพัฒนาตราสินค้า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก ให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีความแตกต่างจากคู่แข่ง และเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถแข่งขันในตลาดต่อไป
ผู้จัดทำ
ศิริรัตน บาศรี
SIRIRAT BASRI
#นักศึกษา
สมาชิก
ฉันท์หทัย เกิดศรีเสริม
Chanhathai Kerdsriserm
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project