Back

PACKAGING DEVELOPMENT OF BAN SORANG SOK COMMUNITY ENTERPRISE GROUPS SAMUT PRAKAN PROVINCE

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก จังหวัดสมุทรปราการ

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#Cluster 2024
#Healthcare and Wellness
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก จังหวัดสมุทรปราการ

Details

This research has the objective To study and develop product packaging Ban Sang Sok Community Enterprise Group, Bang Bo District Samut Prakan Province to improve and develop brand packaging Ban Sarang Sok Community Enterprise Group, Bang Bo District, Samut Prakan Province The tools used were a structured questionnaire and group discussion activities with the Ban Sarang Sok Community Enterprise Group. The results of the study found that From organizing activities to exchange needs for brand development of the Ban Sarang Sok Community Enterprise Group Samut Prakan Province It was found that there was a need for brand development. using the name "Porn Sampao" in terms of brand at the highest level Prominence of the brand on the packaging ( mean 5) aspect of uniqueness at the highest level Want an interesting format Easy brand recognition (mean 5) in terms of product details information at the highest level Tell details of the production date and expiration date (mean 5) on the picture elements. At the highest level are cool tones (providing a comfortable feeling) (mean 4.57) and the community needs to develop packaging. at the highest level Regarding the form of demand for packaging development, it was found to be at the highest level, namely packaging that can preserve products well ( mean 5) packaging that is completely closed for convenient storage of products (mean 4.57), packaging that has a clean appearance. Safe and can be stored for a long time ( mean 4.57) In terms of volume or quantity, it was found to be at a high level, namely 500 grams ( mean 4.43) from the development of branding and packaging of the Ban Sang Sok Farmers Community Enterprise Group. Samut Prakan Province The brand shows the symbol of stretched shrimp and junk that is unique to the product to stand out and attract more customers. This brand and packaging design matches the actual needs of the product. Community enterprise group

Objective

           วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise) เป็นกิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันรายได้ส่วนใหญ่ที่ได้มาจากการทำผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งก็ได้มีการแปรรูป ผลผลิตหรือการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนั้น เดิม“กุ้งเหยียด”เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของชุมชนบ้านสาขลา ที่ตั้งอยู่ริมคลองสาขลาซึ่งเป็น คลองที่แยกออกมาจากคลองสรรพสามิตในเขต ตำบล นาเกลือ อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สภาพพื้นที่ของชาวบ้านสาขลานี้ส่วนใหญ่ถูกขุดขึ้นเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง เนื่องมาจากเลี้ยงกุ้งได้ง่าย เดิมกุ้งเหยียดเริ่มจากการทำเพื่อรับประทานกันเองในบ้าน โดยในขณะนั้นยังไม่ได้ใช้ชื่อเรียกว่า กุ้งเหยียด (สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ, 2566)
            กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก ตำบล คลองด่าน อำเภอ คลองด่าน จังหวัด สมุทรปราการ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2537 ในอดีตกลุ่มผลิตกะปิจากเคย มีคู่แข่งในตลาดค่อนข้างมาก เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ เข้ามาช่วยเหลือเรื่องราคาของผลผลิตที่ตกต่ำ ระดมทุนเพื่อแปรรูปสินค้าจากเคย หลังจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศกเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ได้ผลิตสินค้าใหม่ออกมา เช่น น้ำพริกกะปิ และกุ้งเหยียด โดยนำเสนอว่าผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในชุมชนและปลอดภัย (สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ, 2566)
            ปัจจุบัน กุ้งเหยียด ภูมิปัญญาชาวบ้าน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก เริ่มมีการนำกุ้งมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เป็นการถนอมอาหารให้มีระยะเวลาการเก็บรักษาได้นานมากขึ้น เนื่องจากทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และปรับปรุงตราสินค้าให้มีลักษณะที่โดดเด่นจึงยังไม่สามารถสร้างความดึงดูดและความน่าจดจำให้กับผู้บริโภคได้ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนสามารถนำไปต่อยอดต้องมีการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น
            ดังนั้น ผู้ทำวิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และพัฒนาตราสินค้า ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสร่างโศก ให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีความแตกต่างจากคู่แข่ง และเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถแข่งขันในตลาดต่อไป

Project Members

ศิริรัตน บาศรี
SIRIRAT BASRI

#นักศึกษา

Member
ฉันท์หทัย เกิดศรีเสริม
Chanhathai Kerdsriserm

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...