กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ผลการเสริมกัญชงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตสุกร
Effects of dietary hemp supplementation on swine production performance.
@คณะเทคโนโลยีการเกษตร
#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
รายละเอียด
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลการเสริมกัญชง ต่อสมรรณภาพและคุณภาพซาก การผลิตในสุกรหย่านม โดยใช้สุกรหย่านมอายุ 21 วัน สามสายเลือด (Large white x Landrace x Pietrain) ที่มีน้ำหนักประมาณ 4.10 - 5.90 กิโลกรัม จำนวน 30 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มการทดลอง กลุ่มละ 10 ตัว โดยอาหารที่สุกรได้รับแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหาร basal diet กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหาร basal diet + กัญชง 300 ppm กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหาร basal diet + กัญชง 500 ppm เลี้ยงในโรงเรือนแบบปิดควบคุมอุณหภูมิด้วยระบบการระเหยของน้ำ ทำการเลี้ยงสุกรจนได้น้ำหนักเฉลี่ย 100 กิโลกรัม เพื่อทำการศึกษาน้ำหนักสุกรที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินทั้งหมด อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ต้นทุนอาหารในการเพิ่มน้ำหนัก
วัตถุประสงค์
อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2561 - 2565 ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของไทยลดลง เนื่องจาก ปี พ.ศ. 2561 - 2565 การผลิตสุกรของไทยลดลง เนื่องจากแม่พันธุ์สุกรได้รับความเสียหายจากการระบาดของโรค ASF และเกษตรกรรายย่อยชะลอการเลี้ยงเพื่อลดความเสี่ยง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตสุกรและปริมาณการบริโภคสุกรในภาพรวมลดลง เนื่องจากเนื้อสุกรมีราคาปรับตัวสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงหันไปบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่าทดแทน ปัจจัยหลักในการเลี้ยงสุกรคือ ต้นทุนทางด้านอาหารอยู่ที่ประมาณอยู่ที่ 70% ซึ่งในปัจจุบันวัตถุดิบในการนำผสมอาหารมีราคาสูงขึ้น กัญชงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับการนำมาประยุกต์ใช้เป็น feed additive การปลูกกัญชงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเส้นใยและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ของกัญชงมีคุณสมบัติทางยาในกลุ่มของสารแคนนาบินอยด์ จัดเป็นอนุพันธุ์อยู่ในกลุ่มของ ไฟโตแคนนาบินอยด์ เทอร์ปีน เทอร์พีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ แบ่งกลุ่มของสารออกฤทธิ์เป็น cannidiol (CBD) และ tetrahydrocannabinol (THC) เป็นกลุ่มสารที่สามารถพบได้ในพืชกัญชง เนื่องมูลค่าของกัญชงนั้นคือดอกในระดับอุตสาหกรรมการปลูกกัญชง เพื่อเอาดอกเป็น product ส่วนของพืชที่เหลือจะเป็น byproduct ที่มูลค่าไม่สูงเท่าและเส้นทางในการนำไปใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ทางเราเร่งเห็นว่า byproduct มีสารเทอร์ปีน ที่เป็นสารให้กลิ่นและมีประโยชน์ เหมาะแก่การนำมาใช้ประโยชน์ในอาหารสัตว์ เพื่อการเจริญอาหารของสัตว์ และกัญชงในทางการแพทย์ให้ความสำคัญต่ออนุพันธ์แคนนาบินอยด์ของสารสกัดในพืชชนิดนี้เพื่อเป็นยา และแหล่งโภชนะทางเลือก และการใช้ส่วนต่างๆ ของกัญชงเพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ จึงเหมาะสมสำหรับการนำมาเป็น feed additive ในการเลี้ยงสุกรเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของสุกร ดังนั้น ผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษา ผลการเสริมกัญชงสดในอาหารสุกรต่อสมรรถภาพการผลิตและ เพื่อศึกษาผลของการเสริมกัญชงในอาหารสุกรต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต
ผู้จัดทำ
ชนัญชิดา ดอกกุหลาบ
CHANANCHIDA DOKKULARB
#นักศึกษา
สมาชิก
ณัฐดนัย ม่วงอ่อน
NATDAHNAI MAUNGON
#นักศึกษา
สมาชิก
ชนาธิป ธรรมการ
Chanathip Thammakarn
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project