กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ระบบเนียร์อินฟราเรดเซ็นเซอร์แบบออนไลน์เพื่อการจำแนกคุณภาพเนื้อทุเรียนเพื่อการส่งออก

The online near infrared sensor system for classifying durian pulp quality for export

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#Cluster 2024
#Industry 4.0
ระบบเนียร์อินฟราเรดเซ็นเซอร์แบบออนไลน์เพื่อการจำแนกคุณภาพเนื้อทุเรียนเพื่อการส่งออก

รายละเอียด

หลังจากการเก็บเกี่ยวผลทุเรียน ผลทุเรียนจะถูกส่งไปยังโรงคัดบรรจุทุเรียนเพื่อใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และกระจายไปในตลาดในประเทศและต่างประเทศ ระหว่างการเก็บเกี่ยวเกษตรกรมีปัญหาในการเก็บเพื่อให้ได้ความสุกแก่ของผลทุเรียนลูกต่าง ๆ สม่ำเสมอกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าหากทุเรียนอ่อนถูกเก็บมา ทุเรียนนั้น จะไม่สุกอย่างปกติหรืออาจจะสุกโดยมีรสชาติที่ไม่อร่อย ในทางกลับกันทุเรียนที่สุกเกินไปจะงอมเร็ว หลังจากเก็บเกี่ยว ปัญหาความสุกแก่ที่ไม่เสมอกันเป็นปัญหาสำคัญของผลไม้ขนาดใหญ่ เช่น ทุเรียนหมอนทอง ปัญหาเกิดกับผู้ประกอบการแปรรูปเนื้อทุเรียนหมอนทองเพื่อการส่งออก หรือ ขายในประเทศ เนื่องจากเนื้อทุเรียนมีระดับคุณภาพไม่สม่ำเสมอกัน การคัดด้วยสายตาไม่สามารถ ตอบโจทย์การผลิตจำนวนมากได้ จึงมีความต้องการเครื่องคัดแยกระดับคุณภาพ (ปริมาณเนื้อแห้งและปริมาณของแข็งซึ่งละลายได้ในน้ำ) ของเนื้อทุเรียนระบบออนไลน์ เพื่อให้ใช้ได้จริงในกลุ่มผู้ใช้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเนียร์อินฟราเรดเทคโนโลยีตอบโจทย์นี้ ระบบเนียร์อินฟราเรดเซ็นเซอร์แบบออนไลน์เพื่อการจำแนกคุณภาพเนื้อทุเรียนเพื่อการส่งออก มีกลไกการคัดแยกทำโดยติดตั้งตัวแบบสมการในคอมพิวเตอร์เพื่อทำนายค่า DM และ TSS ของเนื้อทุเรียนพูต่อพู แล้วประมวลผลตามเงื่อนไขการคัดแยกชั้นคุณภาพของทุเรียน โดยชั้นคุณภาพ กลุ่มที่ 1:  A	 DM≥32 % และTSS≥28 %Brix กลุ่มที่ 2: B DM≥32 % และ 22≤ TSS<28 %Brix กลุ่มที่ 3: C	ตกเกรด คือ ไม่ได้อยู่ทั้งในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 หลังจากผ่านการประมวลผลตามเงื่อนไข โปรแกรมจะส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่บนสายพานให้ทำการคัดแยกเนื้อทุเรียนตามชั้นคุณภาพตามกลุ่มที่ 1 2 และ 3 ทุเรียนที่ถูกคัดแยกจะลำเลียงไปตามเส้นทางชั้นคุณภาพ กลุ่มที่ 1 2 และ 3 แยกกัน จากนั้นทุเรียนที่ผ่านการคัดแยกจะถูกจัดเก็บใส่ภาชนะหรือบรรจุหีบห่อเพื่อดำเนินการในจัดจำหน่ายในขั้นถัดไปตามกระบวนการของโรงงานของผู้ประกอบการ

วัตถุประสงค์

หลังจากเก็บเกี่ยว ปัญหาความสุกแก่ที่ไม่เสมอกันเป็นปัญหาสำคัญของผลไม้ขนาดใหญ่ เช่น ทุเรียนหมอนทอง ปัญหานี้เกิดกับผู้ประกอบการแปรรูปเนื้อทุเรียนหมอนทองเพื่อการส่งออก หรือ ขายในประเทศ เช่นกัน เนื่องจากเนื้อทุเรียนมีระดับคุณภาพไม่สม่ำเสมอกัน การคัดด้วยสายตาไม่สามารถ ตอบโจทย์การผลิตจำนวนมากได้ จึงมีความต้องการเครื่องคัดแยกระดับคุณภาพ (ปริมาณเนื้อแห้งและปริมาณของแข็งซึ่งละลายได้ในน้ำ) ของเนื้อทุเรียนระบบออนไลน์ เพื่อให้ใช้ได้จริงในกลุ่มผู้ใช้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเนียร์อินฟราเรดเทคโนโลยีตอบโจทย์นี้ ระบบเนียร์อินฟราเรดเซ็นเซอร์แบบออนไลน์เพื่อการจำแนกคุณภาพเนื้อทุเรียนเพื่อการส่งออกจึงถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งโครงการนี้จัดทำเพื่อเพื่อพิสูจน์การทำงานระบบเนียร์อินฟราเรดเซ็นเซอร์แบบออนไลน์เพื่อการจำแนกคุณภาพเนื้อทุเรียนเพื่อการส่งออกซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้ใช้ได้จริงในกลุ่มผู้ใช้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้จัดทำ

ปานมนัส ศิริสมบูรณ์

#อาจารย์

สมาชิก
เกดแก้ว หมวกเมือง
KATEKAEW MUAKMUANG

#นักศึกษา

สมาชิก
ทีฆทัศน์ แย้มละม้าย
TEEKATUCH YAMLAMAI

#นักศึกษา

สมาชิก
ชนกันต์ มากศิริ
CHANAKAN MAKSIRI

#นักศึกษา

สมาชิก
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด