กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารโดยการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Indoor Positioning System using IoT technology

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#Cluster 2024
#Smart City
ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารโดยการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

รายละเอียด

ในปัจจุบันมีการพบเห็นการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการทราบข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้งาน หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการทราบตำแหน่งของอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานพกพาอยู่ เช่นแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการในการค้นหาตำแหน่งร้านอาหาร สถานีบริการน้ำมัน โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้ หรือแอพพลิเคชั่นแผนที่เพื่อใช้นำทางให้กับผู้ใช้งาน ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายเช่น Google map อย่างไรก็ตามแอพพลิเคชั่นดังกล่าว เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคารเนื่องจากอุปกรณ์จำเป็นต้องรับสัญญาณจากดาวเทียมจากระบบจีพีเอสได้อย่างชัดเจนจึงจะทำให้ข้อมูลตำแหน่งของอุปกรณ์ที่คำนวณได้มีความแม่นยำ หากผู้ใช้งานอยู่ในอาคาร แอพพลิเคชั่นดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากในปัจจุบันนี้ อุปกรณ์ของผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะมีโมดูลอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งรวมอยู่กับโมดูลการสื่อสารไร้สายด้วยอยู่แล้ว เช่นสมารท์โฟน แทบเลตหรือคอมพิวเตอร์โนตบุ๊ค เป็นต้น อีกทั้งเครือข่ายการสื่อสารไร้สายภายในอาคารมีการติดตั้งอยู่ทั่วไป ทำให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารมากขึ้น สำหรับเทคนิคการระบุตำแหน่งภายในอาคารนั้น มีหลายวิธีซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT)  โดยจะพิจารณาเลือกโมดูลอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและเทคนิคการระบุตำแหน่งภายในอาคารที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เจาะจง ซึ่งกำหนดขอบเขตงานวิจัยโดยทำการทดสอบและติดตั้งระบบภายในอาคารเรียนเป็นกรณีศึกษา โดยมีเป้าหมายหลัก คือเพื่อทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการคำนวณตำแหน่งของวัตถุเป้าหมายภายในอาคาร ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการใช้เทคนิคการหาตำแหน่งในหลากหลายเทคนิคที่เลือกมา 

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบันมีการพบเห็นการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการทราบข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้งาน หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการทราบตำแหน่งของอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานพกพาอยู่ เช่นแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการในการค้นหาตำแหน่งร้านอาหาร สถานีบริการน้ำมัน โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้ หรือแอพพลิเคชั่นแผนที่เพื่อใช้นำทางให้กับผู้ใช้งาน ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายเช่น Google map อย่างไรก็ตามแอพพลิเคชั่นดังกล่าว เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคาร เนื่องจากอุปกรณ์จำเป็นต้องรับสัญญาณจากดาวเทียมได้อย่างชัดเจน จึงจะทำให้ข้อมูลตำแหน่งของอุปกรณ์ที่คำนวณได้มีความแม่นยำ หากผู้ใช้งานอยู่ในอาคาร แอพพลิเคชั่นดังกล่าวอาจจะสามารถใช้งานได้บ้างหรือใช้งานไม่ได้บ้าง ขึ้นกับว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้อยู่ใกล้กับบริเวณที่พอรับสัญญาณดาวเทียมได้หรือไม่ แต่แน่นอนว่าค่าความแม่นยำในการคำนวณหาตำแหน่งจะไม่ดีเท่ากับบริเวณภายนอกอาคารอย่างแน่นอน 
หากเราต้องการให้บริการผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบใดก็ตาม การพัฒนาแอพพลเคชั่นที่ต้องการทราบข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้งานที่อยู่ในอาคารจึงเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ผู้ใช้มีความพึงพอใจกับการใช้บริการดังกล่าวมากขึ้น ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยจำนวนมากได้ทำการศึกษาและพัฒนาเทคนิคในการระบุตำแหน่งของเป้าหมายภายในอาคาร โดยมีการเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสารภายในอาคาร ซึ่งนำมาทดแทนการใช้งานดาวเทียมนั่นเอง และในปัจจุบันนี้ไม่ว่าข้อมูลใดๆ ก็ตาม จะถูกเก็บไว้ในอินเทอร์เน็ตหรือระบบคลาวด์ รวมถึงข้อมูลตำแหน่งที่คำนวณได้จากโมดูลการสื่อสารไร้สาย ก็มักจะมีการเก็บไว้ในระบบคลาวด์ด้วย  ในปัจจุบันอุปกรณ์ของผู้ใช้งานบางอุปกรณ์จะมีโมดูลอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ซึ่งรวมอยู่กับโมดูลการสื่อสารไร้สายด้วย เช่นเช่นสมารท์โฟน แทบเลตหรือคอมพิวเตอร์โนตบุ๊ค เป็นต้น

สำหรับเทคนิคการระบุตำแหน่งภายในอาคารนั้น มีหลายวิธีซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT)  โดยจะพิจารณาเลือกโมดูลอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและเทคนิคการระบุตำแหน่งภายในอาคารที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เจาะจง ซึ่งกำหนดขอบเขตงานวิจัยโดยทำการทดสอบและติดตั้งระบบภายในอาคารเรียนเป็นกรณีศึกษา โดยมีเป้าหมายหลัก คือเพื่อทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการคำนวณตำแหน่งของวัตถุเป้าหมายภายในอาคาร ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการใช้เทคนิคการหาตำแหน่งในหลากหลายเทคนิคที่เลือกมา 

ผู้จัดทำ

พนารัตน์ เชิญถนอมวงศ์
Panarat Cherntanomwong

#อาจารย์

สมาชิก
Farid Yuli Martin Adiyatma
FARIDYULIMARTIN ADIYATMA

#นักศึกษา

สมาชิก
กฤติมา เหลือล้ำ
KRITTIMA LUALUM

#นักศึกษา

สมาชิก
สมิตา สุนิมิตร
SAMITA SUNIMIT

#นักศึกษา

สมาชิก
ณภัทร ฉายแสง
NAPHAT CHAISANG

#นักศึกษา

สมาชิก
ธันวา โชคพรทวีสุข
THANWA CHOKPORNTAVEESUK

#นักศึกษา

สมาชิก
อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร
Akkarit Sangpetch

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด