Back

Indoor Positioning System using IoT technology

ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารโดยการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#Cluster 2024
#Smart City
ระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารโดยการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Details

Recently, there are many applications of the location-based services (LBS) have been found, for example, applications providing services of searching for the restaurants, gas stations, and hospitals hereby, or providing navigation services, like the well-know Google map in which the GPS system is utilized. The location estimation using the GPS system works well in outdoors because the system needs the receive clearly signals from the satellite. Therefore, when it is used in indoors, the performance of the location estimation vastly degrades. Nowadays, the user equipment is embedded with the IoT modules together with the wireless communication modules, as well as the infrastructure of wireless communication are already installed.  This makes developing the indoor positioning system becomes easier. There are many indoor positioning techniques utilized in practical. Each has advantages and disadvantages. In this research, we study, design and implement the prototype of the indoor positioning system to evaluate the positioning techniques that is suit for a specific indoor environment. We will investigate the results in the school building as our use case.

Objective

ในปัจจุบันมีการพบเห็นการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการทราบข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้งาน หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการทราบตำแหน่งของอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานพกพาอยู่ เช่นแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการในการค้นหาตำแหน่งร้านอาหาร สถานีบริการน้ำมัน โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้ หรือแอพพลิเคชั่นแผนที่เพื่อใช้นำทางให้กับผู้ใช้งาน ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายเช่น Google map อย่างไรก็ตามแอพพลิเคชั่นดังกล่าว เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคาร เนื่องจากอุปกรณ์จำเป็นต้องรับสัญญาณจากดาวเทียมได้อย่างชัดเจน จึงจะทำให้ข้อมูลตำแหน่งของอุปกรณ์ที่คำนวณได้มีความแม่นยำ หากผู้ใช้งานอยู่ในอาคาร แอพพลิเคชั่นดังกล่าวอาจจะสามารถใช้งานได้บ้างหรือใช้งานไม่ได้บ้าง ขึ้นกับว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้อยู่ใกล้กับบริเวณที่พอรับสัญญาณดาวเทียมได้หรือไม่ แต่แน่นอนว่าค่าความแม่นยำในการคำนวณหาตำแหน่งจะไม่ดีเท่ากับบริเวณภายนอกอาคารอย่างแน่นอน 
หากเราต้องการให้บริการผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบใดก็ตาม การพัฒนาแอพพลเคชั่นที่ต้องการทราบข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้งานที่อยู่ในอาคารจึงเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ผู้ใช้มีความพึงพอใจกับการใช้บริการดังกล่าวมากขึ้น ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยจำนวนมากได้ทำการศึกษาและพัฒนาเทคนิคในการระบุตำแหน่งของเป้าหมายภายในอาคาร โดยมีการเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสารภายในอาคาร ซึ่งนำมาทดแทนการใช้งานดาวเทียมนั่นเอง และในปัจจุบันนี้ไม่ว่าข้อมูลใดๆ ก็ตาม จะถูกเก็บไว้ในอินเทอร์เน็ตหรือระบบคลาวด์ รวมถึงข้อมูลตำแหน่งที่คำนวณได้จากโมดูลการสื่อสารไร้สาย ก็มักจะมีการเก็บไว้ในระบบคลาวด์ด้วย  ในปัจจุบันอุปกรณ์ของผู้ใช้งานบางอุปกรณ์จะมีโมดูลอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ซึ่งรวมอยู่กับโมดูลการสื่อสารไร้สายด้วย เช่นเช่นสมารท์โฟน แทบเลตหรือคอมพิวเตอร์โนตบุ๊ค เป็นต้น

สำหรับเทคนิคการระบุตำแหน่งภายในอาคารนั้น มีหลายวิธีซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT)  โดยจะพิจารณาเลือกโมดูลอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและเทคนิคการระบุตำแหน่งภายในอาคารที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เจาะจง ซึ่งกำหนดขอบเขตงานวิจัยโดยทำการทดสอบและติดตั้งระบบภายในอาคารเรียนเป็นกรณีศึกษา โดยมีเป้าหมายหลัก คือเพื่อทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการคำนวณตำแหน่งของวัตถุเป้าหมายภายในอาคาร ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการใช้เทคนิคการหาตำแหน่งในหลากหลายเทคนิคที่เลือกมา 

Project Members

พนารัตน์ เชิญถนอมวงศ์
Panarat Cherntanomwong

#อาจารย์

Member
Farid Yuli Martin Adiyatma
FARIDYULIMARTIN ADIYATMA

#นักศึกษา

Member
กฤติมา เหลือล้ำ
KRITTIMA LUALUM

#นักศึกษา

Member
สมิตา สุนิมิตร
SAMITA SUNIMIT

#นักศึกษา

Member
ณภัทร ฉายแสง
NAPHAT CHAISANG

#นักศึกษา

Member
ธันวา โชคพรทวีสุข
THANWA CHOKPORNTAVEESUK

#นักศึกษา

Member
อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร
Akkarit Sangpetch

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...