กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การทำนายการปลอมปนของพริกไทยขาวกับข้าวคั่วโดยใช้เทคนิค Near infrared hyperspectral imaging

Prediction of adulterated white pepper with roasted rice using Near infrared hyperspectral imaging

@คณะอุตสาหกรรมอาหาร

#KLLC 2024
#Digital Technology
การทำนายการปลอมปนของพริกไทยขาวกับข้าวคั่วโดยใช้เทคนิค Near infrared hyperspectral imaging

รายละเอียด

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำนายการปลอมปนของพริกไทยขาวกับข้าวคั่ว เพื่อเป็นแนวในการตรวจสอบการปลอมปนของอาหารชนิดอื่นๆสำหรับนักศึกษาที่สนใจ โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและมีความแม่นยำเรียกเทคนิคนี้ว่า Near Infrared hyper spectral imaging และนำผลการทดลองไปสร้างโมเดล Partial Least Squares regression (PLS) ซึ่งเป็นโมเดลที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์การทดลองในครั้งนี้ เป็นวิธีการถดถอยกำลังน้อยที่สุดบางส่วน โดยการสร้างตัวแบบแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและกลุ่มตัวแปรอิสระหรือกลุ่มตัวแปรทำนาย   โดยอยู่บนพื้นฐานของตัวแปรแฝงที่สร้างจากผลรวมเชิงเส้นของตัวแปรทำนาย โดยตัวแปรแฝงที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันและมีความแปรปรวนร่วมกับตัวแปรตามสูงจึงเหมาะสมที่จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล กรณีที่มีจำนวนตัวแปรทำนายมาก ซึ่งตัวแปรทำนายเหล่านี้มักมีความสัมพันธ์เชิงเส้นแบบพหุ ดังนั้นผลการทดลองครั้งนี้จะแสดงออกเป็นกราฟเพื่อดูการเกาะกลุ่มของข้อมูล

วัตถุประสงค์

 ปัญหาการปลอมปนผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ใช่อาหารชนิดเดียวกันมาปลอมปนกับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมาตรฐานนำมาขายในราคาที่สูงเพื่อเป็นการลดต้นทุนของผู้ขาย แต่ส่งผลเสียกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตาเปล่า อ้างอิงจากข่าวในอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น การปลอมปนพริกป่นกับพุทราจีนแห้งป่น และปัญหาที่เราจะนำมาทดลองคือ “ การปลอมปนพริกไทยขาวป่น ” ที่มีเนื้อหาข่าวว่าใส่เท่าไหร่ก็ไม่เผ็ดหรือไม่ได้กลิ่นฉุนของพริกไทย แต่ไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อร่างกายผู้บริโภค แต่อาหารที่ปลอมปนบางชนิดอาจส่งผลถึงตายได้
            ดังนั้น ปัญหาการปลอมปนเป็นอันตรายมากต่อผู้บริโภค จึงเป็นปัญหาที่มีความจำเป็นจะต้องแก้ไข ตลอดจนการหาแนวทางมาป้องกันการปลอมปนตั้งแต่การตรวจคุณภาพอาหารก่อนนำมาวางขายสู่ท้องตลาด ซึ่งการที่จะตรวจสอบการปลอมปนของพริกไทยขาวป่นด้วยตาเปล่าเป็นเรื่องที่ยาก จะต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำ เราจะเลือกใช้เทคนิค Near infrared hyperspectral imaging เพื่อตรวจสอบการปลอมปนของพริกไทยป่นขาวกับสิ่งปลอมปนตัวอย่างคือ “ ข้าวคั่ว ”  นำมาทดสอบการตรวจจับสิ่งปลอมปนของเครื่องมือ Near infrared hyperspectral imaging และการทดสอบนี้จะทำให้ผู้ศึกษาสามารถเรียนรู้กระบวนการทดสอบและการประมวลผลลัพธ์จากกราฟค่าการทดลอง ซึ่งนำมาถึงบทสรุปประโยชน์ของเครื่องมือ Near infrared hyperspectral imaging
           จากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าเคยมีงานวิจัยที่ทำเรื่องพริกไทยขาวป่นปลอมปนกับแป้งมันสำปะหลังมาแล้ว โดยผลิตภัณฑ์พริกไทยขาวป่นปลอมปนกับแป้งมันสำปะหลังขายบนตลาดออนไลน์ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการวิจัยนี้จะใช้เทคนิค Fourier Transform Infrared (FTIR) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการจำแนกประเภทของ สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และพันธะเคมีในโมเลกุล รวมถึงสามารถบอกถึงปริมาณองค์ประกอบ ที่มีอยู่ในโมเลกุลของสารผสมตัวอย่างที่มีทราบชนิดโดยทำการตรวจวัดการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ของตัวอย่างที่ความถี่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละพันธะ และงานวิจัยนี้ได้นำผลิตภัณฑ์พริกไทยขาวป่น 15 ยี่ห้อที่ซื้อมาจากตลาดออนไลน์มาตรวจสอบ พบว่ามี 3 ยี่ห้อที่ได้รับการยืนยันว่ามีการเพิ่มด้วยส่วนผสมอื่น ๆ อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่สามารถจําแนกให้เป็นผลิตภัณฑ์ปลอมปนได้ เนื่องจากฉลากของพวกเขาบอกว่าพวกเขามีส่วนผสมต่าง ๆ นอกเหนือจากพริกไทยขาวป่น
           จากแนวคิดผลการศึกษาและปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะทดลองในเรื่อง ปัญหาการปลอมปนพริกไทยขาวป่น จากผลิตภัณฑ์อาหารของจริงคือ พริกไทยขาวป่น และผลิตภัณฑ์ปลอมปนคือ  ข้าวคั่ว เพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้ศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดอื่นอีกต่อไป

ผู้จัดทำ

เจนจิรา จามจุรี
JANEJIRA JAMJUREE

#นักศึกษา

สมาชิก
ชุติกาญจน์ โอภาสวรกิจกุล
CHUTIKAN OPATWORAKITKUN

#นักศึกษา

สมาชิก
ชุติมา รุ่งสว่าง
CHUTIMA RUNGSAWANG

#นักศึกษา

สมาชิก
สนธิสุข ธีระชัยชยุติ
Sontisuk Teerachaichayut

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด