Back
Prediction of adulterated white pepper with roasted rice using Near infrared hyperspectral imaging
การทำนายการปลอมปนของพริกไทยขาวกับข้าวคั่วโดยใช้เทคนิค Near infrared hyperspectral imaging
@คณะอุตสาหกรรมอาหาร
#KLLC 2024
#Digital Technology
Details
The purpose of this research is to study the prediction of the forgery of white peppers and peanuts, to provide a guide to examining the forging of other foods for interested students. Using modern technology, which is an easy-to-use and precise tool, this technique is called Near Infrared hyper spectral imaging, and results from the experimental model of Partial Least Squares regression (PLS), which is the best model for experimental analysis at this time. It is some of the least retroactive methods. By creating a model of the relationship between variables and groups of free variables or groups of predictive variables, based on the variables generated from the linear aggregation of the predicted variables. By variables that are not correlated and have variations in conjunction with high variables it is appropriate to use it in the analysis of data in cases with a large number of predicting variables which, therefore, this is a graphical example of this experimental group of relations.
Objective
ปัญหาการปลอมปนผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ใช่อาหารชนิดเดียวกันมาปลอมปนกับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมาตรฐานนำมาขายในราคาที่สูงเพื่อเป็นการลดต้นทุนของผู้ขาย แต่ส่งผลเสียกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตาเปล่า อ้างอิงจากข่าวในอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น การปลอมปนพริกป่นกับพุทราจีนแห้งป่น และปัญหาที่เราจะนำมาทดลองคือ “ การปลอมปนพริกไทยขาวป่น ” ที่มีเนื้อหาข่าวว่าใส่เท่าไหร่ก็ไม่เผ็ดหรือไม่ได้กลิ่นฉุนของพริกไทย แต่ไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อร่างกายผู้บริโภค แต่อาหารที่ปลอมปนบางชนิดอาจส่งผลถึงตายได้ ดังนั้น ปัญหาการปลอมปนเป็นอันตรายมากต่อผู้บริโภค จึงเป็นปัญหาที่มีความจำเป็นจะต้องแก้ไข ตลอดจนการหาแนวทางมาป้องกันการปลอมปนตั้งแต่การตรวจคุณภาพอาหารก่อนนำมาวางขายสู่ท้องตลาด ซึ่งการที่จะตรวจสอบการปลอมปนของพริกไทยขาวป่นด้วยตาเปล่าเป็นเรื่องที่ยาก จะต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำ เราจะเลือกใช้เทคนิค Near infrared hyperspectral imaging เพื่อตรวจสอบการปลอมปนของพริกไทยป่นขาวกับสิ่งปลอมปนตัวอย่างคือ “ ข้าวคั่ว ” นำมาทดสอบการตรวจจับสิ่งปลอมปนของเครื่องมือ Near infrared hyperspectral imaging และการทดสอบนี้จะทำให้ผู้ศึกษาสามารถเรียนรู้กระบวนการทดสอบและการประมวลผลลัพธ์จากกราฟค่าการทดลอง ซึ่งนำมาถึงบทสรุปประโยชน์ของเครื่องมือ Near infrared hyperspectral imaging จากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าเคยมีงานวิจัยที่ทำเรื่องพริกไทยขาวป่นปลอมปนกับแป้งมันสำปะหลังมาแล้ว โดยผลิตภัณฑ์พริกไทยขาวป่นปลอมปนกับแป้งมันสำปะหลังขายบนตลาดออนไลน์ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการวิจัยนี้จะใช้เทคนิค Fourier Transform Infrared (FTIR) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการจำแนกประเภทของ สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และพันธะเคมีในโมเลกุล รวมถึงสามารถบอกถึงปริมาณองค์ประกอบ ที่มีอยู่ในโมเลกุลของสารผสมตัวอย่างที่มีทราบชนิดโดยทำการตรวจวัดการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ของตัวอย่างที่ความถี่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละพันธะ และงานวิจัยนี้ได้นำผลิตภัณฑ์พริกไทยขาวป่น 15 ยี่ห้อที่ซื้อมาจากตลาดออนไลน์มาตรวจสอบ พบว่ามี 3 ยี่ห้อที่ได้รับการยืนยันว่ามีการเพิ่มด้วยส่วนผสมอื่น ๆ อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่สามารถจําแนกให้เป็นผลิตภัณฑ์ปลอมปนได้ เนื่องจากฉลากของพวกเขาบอกว่าพวกเขามีส่วนผสมต่าง ๆ นอกเหนือจากพริกไทยขาวป่น จากแนวคิดผลการศึกษาและปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะทดลองในเรื่อง ปัญหาการปลอมปนพริกไทยขาวป่น จากผลิตภัณฑ์อาหารของจริงคือ พริกไทยขาวป่น และผลิตภัณฑ์ปลอมปนคือ ข้าวคั่ว เพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้ศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารชนิดอื่นอีกต่อไป
Project Members
เจนจิรา จามจุรี
JANEJIRA JAMJUREE
#นักศึกษา
Member
ชุติกาญจน์ โอภาสวรกิจกุล
CHUTIKAN OPATWORAKITKUN
#นักศึกษา
Member
ชุติมา รุ่งสว่าง
CHUTIMA RUNGSAWANG
#นักศึกษา
Member
สนธิสุข ธีระชัยชยุติ
Sontisuk Teerachaichayut
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project