กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

แบตเตอรี่กราฟีน

Graphene Battery

@คณะวิทยาศาสตร์

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
แบตเตอรี่กราฟีน

รายละเอียด

            ในการผลิตกราฟีนแบตเตอรี่  จะดำเนินการผลิตโดยภาคอุตสาหกรรมคนไทย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ  ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ภายใต้ชื่อ ‘SUN Graphene Battery’  โดย ซันวิชั่น เทคโนโลยี จะดำเนินการสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่กราฟีนระดับอุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่ EEC ตั้งอยู่ในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2568  และจัดสร้างโรงงานระดับ Pilot Plant ภายใน สจล. จะเริ่มการผลิตได้ในปี 2567  เพื่อร่วมกันวิจัยพัฒนา คาดว่าการนำเครื่องจักรผลิตแบตเตอรี่เข้ามาติดตั้งได้ในเร็วๆนี้  เพื่อผลิตแบตเตอรี่กราฟีน  ที่มุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสนับสนุนเกษตรกรไทย ด้วยการรับซื้อวัสดุเหลือทิ้งจากพืชผลเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เปลือกมังคุด ซังข้าวโพด ไม้ไผ่  กะลามะพร้าว 

วัตถุประสงค์

        กราฟีน (Graphene) เป็นวัสดุอัญรูปหนึ่งในกลุ่มของคาร์บอนที่มีความหนาของแผ่น โครงสร้างเพียงคาร์บอนหนึ่งอะตอม (0.354 nm) ซึ่งวัสดุที่มีความบางและความแข็งแรงมาก แต่กราฟีนยังมีความยืดหยุ่นทำให้สามารถโค้งหรือหักงอได้ นอกจากนี้ กราฟีนยัง สามารถนำไฟฟ้า นำความร้อน และนำส่งอิเล็กตรอนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้กราฟีนออกไซด์ (Graphene oxide (GO)) และรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ (Reduced graphene oxide (rGO) มีคุณสมบัติบางประการคล้ายคลึงกับกราฟีนและมีคุณสมบัติ พิเศษเพิ่มเติม เช่น สมบัติการยับยั้งเชื้อโรค เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังมีสมบัติการเป็นฉนวนความร้อน, สมบัติการดูดซับน้ำหรือน้ำมัน ทนทานต่อความร้อนสูง และทนทานต่อ สารเคมี ต่างๆ ซึ่ง สมบัติ เหล่า นี้ ทำให้กราฟีนและรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ได้รับความสนใจเป็นเพื่อใช้ในการพัฒนาวัสดุและนวัตกรรมสมัยใหม่ 
นำกราฟีน มาเป็นวัสดุ ผลิต แบตเตอรี่กราฟีน  และอื่นๆ โดยคณะนักวิจัย รศ.ดร.เชษฐา รัตนพันธ์ นักวิจัยและอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้วิจัยและพัฒนา นวัตกรรม “ แบตเตอรี่กราฟีน ” สามารถนำไปใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และรองรับแนวคิดเศรษฐศาสตร์ บีซีจี (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อสังคมที่ยั่งยืน

ผู้จัดทำ

เชรษฐา รัตนพันธ์
Chesta Ruttanapun

#อาจารย์

สมาชิก
ชวาลย์ ศรีวงษ์
CHAVAL SRIWONG

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด