กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากมะม่วงมหาชนกและการใช้ประโยชน์เศษเหลือจากกระบวนการผลิต

Development of processing products from Mahachanok mangoes and utilization of waste from the production process.

@คณะอุตสาหกรรมอาหาร

#Highlight 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากมะม่วงมหาชนกและการใช้ประโยชน์เศษเหลือจากกระบวนการผลิต

รายละเอียด

จากปัญหามะม่วงที่ได้มาตรฐานส่งออกมีจำนวนน้อย ถูกตีกลับจำนวนมาก มะม่วงส่วนที่ตกเกรดล้นตลาด แหล่งผลิตยังไม่เป็นที่รู้จักของพ่อค้ารายย่อยในประเทศ เกษตรกรไม่มีความรู้ด้านการแปรรูป จึงส่งผลให้มีมะม่วงมหาชนกตกเกรด ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก ส่วนมะม่วง เกรด B,C,D จะสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ เช่น มะม่วงอบแห้ง มะม่วงกวน แยมมะม่วง เป็นต้น จึงทำให้เกิดวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูป เช่น เปลือก และเมล็ด จำนวนมากเพื่อเป็นการนำวัสดุเศษเหลือกลับมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่า ตามหลักการทำของเสียให้เป็นศูนย์ จึงมีแนวความคิดในการนำเปลือกและเม็ดมะม่วงมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ 3 ผลิตภัณฑ์ คือ 1.ชาเปลือกมะม่วงมหาชนก เป็นชาที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ 2. ถ่านกัมมันต์จากเมล็ดมะม่วงมหาชนก เพื่อใช้ในการชะลอการสุกของมะม่วงระหว่างการส่งเพื่อการจำหน่าย โดยสามารถนำถ่านกัมมันต์บรรจุในกล่องที่บรรจุมะม่วงเพื่อการส่งขายต่อไป 3. การผลิตสารเคลือบเมทิลจัสโมเนทร่วมกับไคโตซานเคลือบผิวมะม่วงเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา เพื่อป้องกันการเน่าเสียง่ายหลังการเก็บเกี่ยวจนทำให้เกิดของเสียจำนวนมาก 4. มะม่วงผง และ 5. มะม่วงแข่อิ่มอบแห้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงการนี้เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรด้านการแปรรูปผลผลิตและวัสดุเศษเหลือ และการป้องกันการเน่าเสียของมะม่วงมหาชนกหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตและวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูปมะม่วงมหาชก นอกจากนี้แล้วทีมงานวิจัยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร และสามารถผลิตในทางการค้าได้

วัตถุประสงค์

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ตลาดมะม่วงในประเทศไทยได้ทำความรู้จักกับมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาด ในชื่ออันเป็นมงคล “มะม่วงมหาชนก” มะม่วงพันธุ์เฉพาะของประเทศไทย ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซทของอเมริกากับมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันของไทย จนได้ลักษณะที่เด่น เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากมะม่วงในท้องตลาด มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อผลสุกมีสีแดงสวยงาม รสชาติหวานหอม เนื้อไม่เละ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างชาติ และเป็นผลไม้ที่มีอนาคตไกลสำหรับการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งแบบผลสุกและแบบแปรรูป
จึงเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลาย เพื่อส่งขายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่อำเภอหนองกรุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอำเภอที่มีการปลูกมะม่วง จำนวน 5028 ไร่ มีเกษตรกรขึ้นทะเบียน 603 ครัวเรือน ซึ่งเป็นอีกแหล่งผลิตมะม่วงมหาชนกคุณภาพดี ที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วงมหาชนก ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้น โดยผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) สามารถส่งออกผลผลิตไปยังต่างประเทศได้ โดยมีการรวมกลุ่มกันปลูกมะม่วงมหาชนกเพื่อทำการส่งออกทั้งในและต่างประเทศ โดยการคัดเลือกมะม่วงที่มีคุณภาพดี(เกรด A) แต่ปัญหาที่พบ คือ มะม่วงที่ได้มาตรฐานส่งออกมีจำนวนน้อย ถูกตีกลับจำนวนมาก มะม่วงส่วนที่ตกเกรดล้นตลาด แหล่งผลิตยังไม่เป็นที่รู้จักของพ่อค้ารายย่อยในประเทศ เกษตรกรไม่มีความรู้ด้านการแปรรูป จึงส่งผลให้ มีมะม่วงมหาชนกตกเกรด ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก ส่วนมะม่วงที่เหลือ(เกรด B,C,D) จะสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ เช่น มะม่วงอบแห้ง มะม่วงกวน แยมมะม่วง เป็นต้น 
	จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำให้เกิดวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูปจำนวนมาก เช่น เปลือกมะม่วง และเมล็ดมะม่วง เป็นต้น โดยการจัดการเปลือกและเมล็ดมะม่วงส่วนใหญ่ของเกษตรกร จะทำการทิ้งเป็นปุ๋ยหรือมีการฝังกลบเท่านั้น จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกมะม่วงพบว่า มีสารประกอบฟีนอลิก และสารประกอบแคโรทีนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถยับยั้งหรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่จะนำไปสู่การก่อมะเร็งได้ และยังมีฤทธิ์ช่วยต้านอาการอักเสบ ได้
ด้วยเหตุนี้ทีมผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะม่วงมหาชนกและการจัดการลดของเสียที่เกิดจากการแปรรูปมะม่วงมหาชนก และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเศษเหลือ ทั้งจากเปลือกและเมล็ดจากการแปรรูปมะม่วงมหาชนก รวมถึงการเก็บรักษามะม่วงมหาชนกหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อป้องกันการเน่าเสียง่ายจนทำให้เกิดของเสีย โดยยึดหลักการลดของเสียให้เป็นศูนย์(Zero Waste) เพื่อช่วยเกษตรกรในการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าของวัสดุเศษเหลอจากการแปรรูปมะม่วงมหาชนก อีกทั้งยังสามารถจัดการปัญหามะม่วงตกค้างได้ในอนาคต

ผู้จัดทำ

ระจิตร สุวพานิช
Rachit Suwapanich

#อาจารย์

สมาชิก
ธงชัย พุฒทองศิริ
TONGCHAI PUTTONGSIRI

#อาจารย์

สมาชิก
โสรยา เกิดพิบูลย์
Soraya Kerdpiboon

#อาจารย์

สมาชิก
พงษ์เสริฐ ศรีพรหม
Pongsert Sriprom

#อาจารย์

สมาชิก
พรสวรรค์ อัศวแสงรัตน์
Pornsawan Assawasaengrat

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด