Back

Development of processing products from Mahachanok mangoes and utilization of waste from the production process.

การพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากมะม่วงมหาชนกและการใช้ประโยชน์เศษเหลือจากกระบวนการผลิต

@คณะอุตสาหกรรมอาหาร

#Highlight 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากมะม่วงมหาชนกและการใช้ประโยชน์เศษเหลือจากกระบวนการผลิต

Details

Due to the problem of a small number of mangoes that met export standards, many were returned. Mangoes that are downgraded are overflowing in the market. The production location still needs to be discovered for small traders in the country. Farmers do not know processing. As a result, the Mahachanok mangoes were downgraded. A lot was left behind. As for mangoes, grades B, C, and D can be processed into other products, such as dried mango preserves, jam, etc. This creates a lot of waste from processing, such as peels and seeds, to bring back the remaining materials. Take advantage and add value According to the principle of creating zero waste. Therefore, the idea was to take mango peels and nuts and process them into three products: 1. Mahachanok mango peel tea. It is a tea that contains antioxidants and has health benefits. 2. Activated carbon from Mahachanok mango seeds To be used to delay the ripening of mangoes during delivery for distribution. The activated carbon can be packed into boxes containing mangoes for further distribution. 3. A methyl jasmonate coating and chitosan are produced to coat mangoes and extend their shelf life. To prevent easy perishability after harvesting and causing a lot of waste. 4. Mango powder, and 5. Dried mango khaeim It can be seen that this project is to help farmers process their produce and leftover materials. and prevent spoilage of Mahachanok mangoes after harvest. To create value for the produce and remaining materials from Mahachak mango processing. In addition, the research team has transferred production knowledge according to food safety standards. And can be produced commercially.

Objective

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ตลาดมะม่วงในประเทศไทยได้ทำความรู้จักกับมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาด ในชื่ออันเป็นมงคล “มะม่วงมหาชนก” มะม่วงพันธุ์เฉพาะของประเทศไทย ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซทของอเมริกากับมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันของไทย จนได้ลักษณะที่เด่น เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากมะม่วงในท้องตลาด มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อผลสุกมีสีแดงสวยงาม รสชาติหวานหอม เนื้อไม่เละ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างชาติ และเป็นผลไม้ที่มีอนาคตไกลสำหรับการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งแบบผลสุกและแบบแปรรูป
จึงเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลาย เพื่อส่งขายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่อำเภอหนองกรุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอำเภอที่มีการปลูกมะม่วง จำนวน 5028 ไร่ มีเกษตรกรขึ้นทะเบียน 603 ครัวเรือน ซึ่งเป็นอีกแหล่งผลิตมะม่วงมหาชนกคุณภาพดี ที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปมะม่วงมหาชนก ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้น โดยผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) สามารถส่งออกผลผลิตไปยังต่างประเทศได้ โดยมีการรวมกลุ่มกันปลูกมะม่วงมหาชนกเพื่อทำการส่งออกทั้งในและต่างประเทศ โดยการคัดเลือกมะม่วงที่มีคุณภาพดี(เกรด A) แต่ปัญหาที่พบ คือ มะม่วงที่ได้มาตรฐานส่งออกมีจำนวนน้อย ถูกตีกลับจำนวนมาก มะม่วงส่วนที่ตกเกรดล้นตลาด แหล่งผลิตยังไม่เป็นที่รู้จักของพ่อค้ารายย่อยในประเทศ เกษตรกรไม่มีความรู้ด้านการแปรรูป จึงส่งผลให้ มีมะม่วงมหาชนกตกเกรด ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก ส่วนมะม่วงที่เหลือ(เกรด B,C,D) จะสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นได้ เช่น มะม่วงอบแห้ง มะม่วงกวน แยมมะม่วง เป็นต้น 
	จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำให้เกิดวัสดุเศษเหลือจากการแปรรูปจำนวนมาก เช่น เปลือกมะม่วง และเมล็ดมะม่วง เป็นต้น โดยการจัดการเปลือกและเมล็ดมะม่วงส่วนใหญ่ของเกษตรกร จะทำการทิ้งเป็นปุ๋ยหรือมีการฝังกลบเท่านั้น จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกมะม่วงพบว่า มีสารประกอบฟีนอลิก และสารประกอบแคโรทีนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถยับยั้งหรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่จะนำไปสู่การก่อมะเร็งได้ และยังมีฤทธิ์ช่วยต้านอาการอักเสบ ได้
ด้วยเหตุนี้ทีมผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะม่วงมหาชนกและการจัดการลดของเสียที่เกิดจากการแปรรูปมะม่วงมหาชนก และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเศษเหลือ ทั้งจากเปลือกและเมล็ดจากการแปรรูปมะม่วงมหาชนก รวมถึงการเก็บรักษามะม่วงมหาชนกหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อป้องกันการเน่าเสียง่ายจนทำให้เกิดของเสีย โดยยึดหลักการลดของเสียให้เป็นศูนย์(Zero Waste) เพื่อช่วยเกษตรกรในการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าของวัสดุเศษเหลอจากการแปรรูปมะม่วงมหาชนก อีกทั้งยังสามารถจัดการปัญหามะม่วงตกค้างได้ในอนาคต

Project Members

ระจิตร สุวพานิช
Rachit Suwapanich

#อาจารย์

Member
ธงชัย พุฒทองศิริ
TONGCHAI PUTTONGSIRI

#อาจารย์

Member
โสรยา เกิดพิบูลย์
Soraya Kerdpiboon

#อาจารย์

Member
พงษ์เสริฐ ศรีพรหม
Pongsert Sriprom

#อาจารย์

Member
พรสวรรค์ อัศวแสงรัตน์
Pornsawan Assawasaengrat

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...