กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การพัฒนาฟิล์มที่สลายตัวในช่องปากด้วยการเติมสารสกัดจากพริก

Development of capsicum oleoresin loaded-oral disintegrating films.

@คณะอุตสาหกรรมอาหาร

#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
การพัฒนาฟิล์มที่สลายตัวในช่องปากด้วยการเติมสารสกัดจากพริก

รายละเอียด

ฟิล์มสลายตัวในช่องปากได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถปลดปล่อยสารออกฤทธิ์ที่ผสมในฟิล์มให้ละลายในน้ำลายได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเคี้ยวหรือดื่มน้ำ สารออกฤทธิ์ที่ปล่อยออกมาจะถูกดูดซึมผ่านเส้นเลือดฝอยที่ใต้ลิ้น ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสารประกอบพอลิเมอร์ ได้แก่ พลูลูแลน (Pullulan) ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส (Hydroxymethyl cellulose, HPMC) และคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (Carboxymethyl cellulose, CMC) ต่อการผลิตฟิล์มสลายตัวในช่องปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพริก (capsicum oleoresin) มีการศึกษาสมบัติต่างๆ ของฟิล์ม ได้แก่ การวิเคราะห์สมบัติทางรีโอโลยีของสารละลายฟิล์ม ความชื้น ค่าแอคทิวิตี้ของน้ำ ความหนา ค่าสี สมบัติทางกล มุมสัมผัส และเวลาการสลายตัว การพัฒนาฟิล์มสลายตัวในช่องปากด้วยสารสกัดจากพริกจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะกลืนลำบากที่สามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำลายได้

วัตถุประสงค์

ฟิล์มสลายตัวในช่องปาก (ODF) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สามารถปลดปล่อยสารออกฤทธิ์ที่โหลดลงในน้ำลายได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเคี้ยวหรือดื่มน้ำ (Garcia และคณะ, 2020) สารออกฤทธิ์ที่ปล่อยออกมาจะถูกดูดซึมผ่านเส้นเลือดฝอยที่อุดมสมบูรณ์ใต้ลิ้น (Nagaraju และคณะ, 2005) โดยทั่วไป ODF ผลิตจากโพลีเมอร์ที่แตกต่างกัน ผสมกับพลาสติไซเซอร์สารออกฤทธิ์สารลดแรงตึงผิว และสารแต่งกลิ่นรส (Limpongsa และคณะ, 2020) อย่างไรก็ตามการเลือกโพลีเมอร์ต่างๆนั้น ส่งผลต่อคุณสมบัติของ ODF หลังจากฟิล์มก่อตัวขึ้น นอกจากนี้ในการเติมสารสกัดจากพริกลงไปในฟิล์มสลายตัวในช่องปากนั้น จะช่วยในการกระตุ้นของน้ำลาย เพราะสารสกัดจากพริกมีรสชาติที่เผ็ดร้อน และมีประโยชน์มากมาย มีส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระ (สุภาวดี, 2562)
               ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) คือ อาการไอ สำลัก หรือมีความรู้สึกเจ็บ เมื่อต้องกลืนอาหาร หรือน้ำ ซึ่งอาหาร และน้ำ สามารถหลุดเข้าไปในหลอดลม ทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อ และการอักเสบขึ้น เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ (เพชรเวช, 2565) มักพบในผู้ที่กล้ามเนื้อที่ใช้กลืนมีปัญหาบีบตัวผิดจังหวะ ทำให้น้ำหรืออาหาร หลงเหลือไม่ได้กลืนลงลำคอ จนเกิดการสำลัก การกลืนลำบาก พบได้ตามความเสื่อมของร่างกายเมื่อสูงอายุขึ้น และพบมากในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท (ปิยะภัทร, 2556) โดยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ มีภาวะกลืนลำบากมากที่สุดถึง 84 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ โรคพาร์กินสัน 50-82 เปอร์เซ็นต์ และโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก 65 เปอร์เซ็นต์  เพราะไม่อยากสำลัก จึงมักหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ หรือกินน้อยลง ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ขาดสารอาหาร ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมโรคเดิมที่เป็นอยู่ น้ำหนักลด ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อในปอดและทางเดินหายใจจากการสำลัก (ปิยะภัทร, 2556)
               ดังนั้นการพัฒนาฟิล์มสลายตัวในช่องปากด้วยสารสกัดจากพริก จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก ช่วยกระตุ้นการเกิดน้ำลาย ซึ่งในการทดลองนี้ ต้องการที่จะศึกษาสมบัติ และปริมาณของสารประกอบที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างฟิล์มสลายตัวในช่องปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพริก ให้ได้มีประสิทธิภาพ มีการละลายที่ดี และสามารถช่วยสร้างการกระตุ้นของน้ำลายได้ ที่สามารถนำมาบริโภคได้จริง เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก

ผู้จัดทำ

กัลยวรรธน์ ศิริวัฒนสกุล
KANYAWAT SIRIWATTANASAKUL

#นักศึกษา

สมาชิก
ศิรดา สังสินชัย
Sirada Sungsinchai

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด