Back
Development of capsicum oleoresin loaded-oral disintegrating films.
การพัฒนาฟิล์มที่สลายตัวในช่องปากด้วยการเติมสารสกัดจากพริก
@คณะอุตสาหกรรมอาหาร
#KLLC 2024
#Healthcare and Wellness
Details
Oral disintegrating film has received a lot of attention.This is because the active ingredients mixed in the film can be released to quickly dissolve in saliva without chewing or water intake. In this research, the objective was to study the effect of polymer compounds including Pullulan Hydroxypropyl methyl cellulose and Carboxymethyl cellulose on the production of oral disintegrating film containing capsicum oleoresin. Various properties of the film are studied including analysis of the Rheological properties of the film solution Moisture content Water activity Thickness Color Mechanical properties Contact angle and disintegration time. Development of oral disintegrating film with chili extract. Therefore it is interesting and it is expected that it will be beneficial to people with dysphagia as it can help stimulate saliva secretion.
Objective
ฟิล์มสลายตัวในช่องปาก (ODF) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สามารถปลดปล่อยสารออกฤทธิ์ที่โหลดลงในน้ำลายได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเคี้ยวหรือดื่มน้ำ (Garcia และคณะ, 2020) สารออกฤทธิ์ที่ปล่อยออกมาจะถูกดูดซึมผ่านเส้นเลือดฝอยที่อุดมสมบูรณ์ใต้ลิ้น (Nagaraju และคณะ, 2005) โดยทั่วไป ODF ผลิตจากโพลีเมอร์ที่แตกต่างกัน ผสมกับพลาสติไซเซอร์สารออกฤทธิ์สารลดแรงตึงผิว และสารแต่งกลิ่นรส (Limpongsa และคณะ, 2020) อย่างไรก็ตามการเลือกโพลีเมอร์ต่างๆนั้น ส่งผลต่อคุณสมบัติของ ODF หลังจากฟิล์มก่อตัวขึ้น นอกจากนี้ในการเติมสารสกัดจากพริกลงไปในฟิล์มสลายตัวในช่องปากนั้น จะช่วยในการกระตุ้นของน้ำลาย เพราะสารสกัดจากพริกมีรสชาติที่เผ็ดร้อน และมีประโยชน์มากมาย มีส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระ (สุภาวดี, 2562) ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) คือ อาการไอ สำลัก หรือมีความรู้สึกเจ็บ เมื่อต้องกลืนอาหาร หรือน้ำ ซึ่งอาหาร และน้ำ สามารถหลุดเข้าไปในหลอดลม ทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อ และการอักเสบขึ้น เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ (เพชรเวช, 2565) มักพบในผู้ที่กล้ามเนื้อที่ใช้กลืนมีปัญหาบีบตัวผิดจังหวะ ทำให้น้ำหรืออาหาร หลงเหลือไม่ได้กลืนลงลำคอ จนเกิดการสำลัก การกลืนลำบาก พบได้ตามความเสื่อมของร่างกายเมื่อสูงอายุขึ้น และพบมากในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท (ปิยะภัทร, 2556) โดยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ มีภาวะกลืนลำบากมากที่สุดถึง 84 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ โรคพาร์กินสัน 50-82 เปอร์เซ็นต์ และโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก 65 เปอร์เซ็นต์ เพราะไม่อยากสำลัก จึงมักหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ หรือกินน้อยลง ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ขาดสารอาหาร ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมโรคเดิมที่เป็นอยู่ น้ำหนักลด ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อในปอดและทางเดินหายใจจากการสำลัก (ปิยะภัทร, 2556) ดังนั้นการพัฒนาฟิล์มสลายตัวในช่องปากด้วยสารสกัดจากพริก จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก ช่วยกระตุ้นการเกิดน้ำลาย ซึ่งในการทดลองนี้ ต้องการที่จะศึกษาสมบัติ และปริมาณของสารประกอบที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างฟิล์มสลายตัวในช่องปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากพริก ให้ได้มีประสิทธิภาพ มีการละลายที่ดี และสามารถช่วยสร้างการกระตุ้นของน้ำลายได้ ที่สามารถนำมาบริโภคได้จริง เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก
Project Members
กัลยวรรธน์ ศิริวัฒนสกุล
KANYAWAT SIRIWATTANASAKUL
#นักศึกษา
Member
ศิรดา สังสินชัย
Sirada Sungsinchai
#อาจารย์
Advisor
Vote for this Innovation!
Loading...
Powered By KMITL Innovation Project