กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ไรแดงป๊อปจากเจลาตินเกล็ดปลา

Moina beads from fish scale gelatin

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ไรแดงป๊อปจากเจลาตินเกล็ดปลา

รายละเอียด

ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่นิยมนำปลามาประกอบอาหารและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
จึงทำให้มีเศษของเหลือทิ้งจากการผลิตมาก ซึ่งเกล็ดปลาเป็นของเหลือทิ้งที่ไม่สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ต่อได้ แต่การศึกษาพบว่า ในเกล็ดปลามีเจลาติน (Gelatin) จึงทำการศึกษาปริมาณเจลาติน
และคุณสมบัติของเจลาตินจากเกล็ดปลาช่อนเทียบกับเจลาตินจากเกล็ดปลานิล และศึกษาความ
เป็นไปได้ของการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งทางการประมง ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
มากขึ้น โดยมีการวางแผนการทดลองแบบเปรียบเทียบคู่ ( Independent-Samples t-test ) แบ่ง
ชุดการทดลองเป็น 2 ชุดการทดลอง (ชนิดเกล็ด) ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า
ผลผลิตของเจลาตินจากเกล็ดปลาช่อนและเกล็ดปลานิล 100 กรัม มีปริมาณเจลาติน 185.33±11.39
มิลลิลิตร และ 279.66±14.09 มิลลิลิตร ตามลำดับ และได้ปริมาณผงเจลาติน 9.64±0.19 กรัม และ
15.90±0.34 กรัม ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตเจลาตินเกล็ดปลาทั้ง 2 ชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และผลการเปรียบเทียบคุณภาพเจลาติน พบว่า เจลาตินเกล็ดปลาช่อน
และเจลาตินเกล็ดปลานิลขนาด 5x5x2 เซนติเมตร ใช้เวลาละลาย 21.63±1.47 นาที และ
25.07±2.51 นาที ตามลำดับ และมีปริมาณโปรตีน 6.10±0.23 เปอร์เซ็นต์ และ 6.26±0.37
เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งคุณภาพของเจลาตินทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ (P>0.05) ซึ่งเจลาตินเกล็ดปลาช่อนและเจลาตินเกล็ดปลานิลมีผลผลิตที่แตกต่างกัน แต่ในด้าน
คุณภาพเจลาตินของปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเจลาตินสามารถนำมาผลิตไรแดงป๊อปสำหรับเป็นอาหารสำหรับปลาได้อีกรูปแบบ

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบันนี้ประชากรส่วนใหญ่นิยมนำปลามาประกอบอาหารและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ในปริมาณมาก เช่น ลูกชิ้นปลา ทอดมันปลา และปลาแดดเดียว เป็นต้น จึงทำให้มีเศษของเหลือทิ้ง
จากกระบวนการผลิตจำนวนมาก ได้แก่พวก หัวปลา หนังปลา ไส้ปลา และเกล็ดปลา ซึ่งทั้งหมดนี้
สามารถที่จะนำไปหมักทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ เพื่อไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆได้ ส่วนเกล็ดปลามักเป็นของ
เหลือทิ้งที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้และมีปริมาณมากอีกด้วย แต่ส่วนใหญ่เกล็ดปลามักจะมา
จากโรงงานผลิตลูกชิ้นปลา ตลาดสด ร้านอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
จึงทำการศึกษาแล้วพบว่าในเกล็ดปลามีเจลาติน (Gelatin) ซึ่งเป็นสารประกอบโปรตีนที่ได้มา
จากคอลลาเจนที่เสื่อมสภาพของกระดูก หนังสัตว์ และเกล็ดปลา โดยการใช้ความร้อนและกรด หรือ
ด่าง เพื่อย่อย หรือสลายให้โมเลกุลของคอลลาเจนให้เล็กลงแล้วเปลี่ยนสภาพมาเป็นเจลาติน ซึ่ง
เจลาตินสามารถใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา ทางการแพทย์ เครื่องสำอาง และบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้
เจลาตินยังมีประโยชน์ ซึ่งช่วยบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ ช่วยซ่อมแซมและยัง
สามารถทดแทนเจลาตินจากหนังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ และเป็นที่ยอมรับสำหรับผู้นับถือศาส นา
อิสลามหรือผู้ที่เคร่งศาสนา ซึ่งเกล็ดปลาที่เลือกใช้ในการศึกษาปริมาณเจลาติน และคุณสมบัติต่างๆ
ของเจลาติน ได้แก่ เกล็ดของปลาช่อน (Channa striata ) และเกล็ดของปลานิล (Oreochromis
niloticus) ซึ่งได้มาจากแม่ค้าในตลาดสด ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยที่แยกชนิดเกล็ดอย่างชัดเจน ซึ่ง
ปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ หนอง คลอง บึง ต่าง ๆ และสามารถ
แพร่ขยายพันธุ์ได้ง่าย เจริญเติบโตดี เลี้ยงง่าย มีความทนทาน มีรสชาติดี จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มี
ความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย การส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในรูปของการแปรรูป แต่ปัจจุบันนี้
จำนวนปลาในธรรมชาติ พบว่ามีปริมาณที่ลดลงอย่างมาก เกษตรกรจึงเริ่มมีการเพาะเลี้ยงที่มากขึ้น
ดังนั้นการศึกษาการสกัดเจลาตินจากเกล็ดของปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นการศึกษาและ
เปรียบเทียบปริมาณเจลาตินและคุณสมบัติของเจลาตินจากเกล็ดปลาช่อนและเกล็ดของปลานิล
เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆทางการประมงและทางด้านอื่นๆ และสิ่งสำคัญ
เพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับเกล็ดปลาที่เหลือทิ้งในปริมาณมากด้วย และยังช่วยลดของเสีย (Waste) ที่ทำ
ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ให้กับชาวประมงและเกษตรกร

ผู้จัดทำ

ชนกกานต์ หงษ์เวียงจันทร์
CHANOKKARN HONGWINGJAN

#นักศึกษา

สมาชิก
อัจฉรี เรืองเดช
Uscharee Ruangdej

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด