Back

Moina beads from fish scale gelatin

ไรแดงป๊อปจากเจลาตินเกล็ดปลา

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
ไรแดงป๊อปจากเจลาตินเกล็ดปลา

Details

At present, the majority of the population likes to use fish for cooking and processing it into various products. As a result, there are a lot of scraps left over from production. Fish scales are waste that cannot be used. Can be beneficial But the study found that Fish scales contain gelatin (Gelatin), so the amount of gelatin was studied. and properties of gelatin from snakehead fish scales compared to gelatin from tilapia fish scales, and studying the possibility of increasing the value of fishery waste. To be able to be used in a wider variety of ways by planning a paired comparison experiment (Independent-Samples t-test), dividing the experimental set into 2 experimental sets (scale type), 3 repetitions per experimental set. At the end of the experiment Found that The yield of gelatin from 100 grams of snakehead fish scales and tilapia scales had gelatin quantities of 185.33±11.39 ml and 279.66±14.09 ml, respectively, and gelatin powder quantities of 9.64±0.19 grams and 15.90±0.34 grams, respectively. The yield of these two types of fish scale gelatin is significantly different. Statistically significant (P>0.05) in which snakehead fish scale gelatin and tilapia scale gelatin have different yields, but in terms of gelatin quality, the two types of fish are not different. Gelatin can be used to produce Moina beads as another from of fish feed.

Objective

ในปัจจุบันนี้ประชากรส่วนใหญ่นิยมนำปลามาประกอบอาหารและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ในปริมาณมาก เช่น ลูกชิ้นปลา ทอดมันปลา และปลาแดดเดียว เป็นต้น จึงทำให้มีเศษของเหลือทิ้ง
จากกระบวนการผลิตจำนวนมาก ได้แก่พวก หัวปลา หนังปลา ไส้ปลา และเกล็ดปลา ซึ่งทั้งหมดนี้
สามารถที่จะนำไปหมักทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ เพื่อไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆได้ ส่วนเกล็ดปลามักเป็นของ
เหลือทิ้งที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้และมีปริมาณมากอีกด้วย แต่ส่วนใหญ่เกล็ดปลามักจะมา
จากโรงงานผลิตลูกชิ้นปลา ตลาดสด ร้านอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
จึงทำการศึกษาแล้วพบว่าในเกล็ดปลามีเจลาติน (Gelatin) ซึ่งเป็นสารประกอบโปรตีนที่ได้มา
จากคอลลาเจนที่เสื่อมสภาพของกระดูก หนังสัตว์ และเกล็ดปลา โดยการใช้ความร้อนและกรด หรือ
ด่าง เพื่อย่อย หรือสลายให้โมเลกุลของคอลลาเจนให้เล็กลงแล้วเปลี่ยนสภาพมาเป็นเจลาติน ซึ่ง
เจลาตินสามารถใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา ทางการแพทย์ เครื่องสำอาง และบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้
เจลาตินยังมีประโยชน์ ซึ่งช่วยบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ ช่วยซ่อมแซมและยัง
สามารถทดแทนเจลาตินจากหนังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ และเป็นที่ยอมรับสำหรับผู้นับถือศาส นา
อิสลามหรือผู้ที่เคร่งศาสนา ซึ่งเกล็ดปลาที่เลือกใช้ในการศึกษาปริมาณเจลาติน และคุณสมบัติต่างๆ
ของเจลาติน ได้แก่ เกล็ดของปลาช่อน (Channa striata ) และเกล็ดของปลานิล (Oreochromis
niloticus) ซึ่งได้มาจากแม่ค้าในตลาดสด ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยที่แยกชนิดเกล็ดอย่างชัดเจน ซึ่ง
ปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ หนอง คลอง บึง ต่าง ๆ และสามารถ
แพร่ขยายพันธุ์ได้ง่าย เจริญเติบโตดี เลี้ยงง่าย มีความทนทาน มีรสชาติดี จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มี
ความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย การส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในรูปของการแปรรูป แต่ปัจจุบันนี้
จำนวนปลาในธรรมชาติ พบว่ามีปริมาณที่ลดลงอย่างมาก เกษตรกรจึงเริ่มมีการเพาะเลี้ยงที่มากขึ้น
ดังนั้นการศึกษาการสกัดเจลาตินจากเกล็ดของปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นการศึกษาและ
เปรียบเทียบปริมาณเจลาตินและคุณสมบัติของเจลาตินจากเกล็ดปลาช่อนและเกล็ดของปลานิล
เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆทางการประมงและทางด้านอื่นๆ และสิ่งสำคัญ
เพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับเกล็ดปลาที่เหลือทิ้งในปริมาณมากด้วย และยังช่วยลดของเสีย (Waste) ที่ทำ
ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ให้กับชาวประมงและเกษตรกร

Project Members

ชนกกานต์ หงษ์เวียงจันทร์
CHANOKKARN HONGWINGJAN

#นักศึกษา

Member
อัจฉรี เรืองเดช
Uscharee Ruangdej

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...