กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การคัดแยกเชื้อ Lactic acid bacteria (LAB) ในรูเมนของแกะเนื้อ เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ Probiotic

Screening Lactic acid bacteria in rumen of sheep for Probiotic product

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การคัดแยกเชื้อ Lactic acid bacteria (LAB) ในรูเมนของแกะเนื้อ เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ Probiotic

รายละเอียด

ยาปฏิชีวนะถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในระบบผลิตปศุสัตว์ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและป้องกันการเกิดการท้องเสียในฟาร์ม ซึ่งมีการใช้กันเป็นเรื่องปกติในอาหารสัตว์ ยาปฏิชีวนะยังมีส่วนช่วยในเรื่องของผลตอบแทนทางเศรฐกิจอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผลเสียของการใช้ ยาปฏิชีวนะก็แสดงให้เห็นชัดเจนมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความกังวัลเรื่องของการตกค้างของยาปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากยิ่งขึ้น (นอกจากนี้ ยังมีข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องอาจเพิ่มความต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสัตว์และผู้บริโภคต่อไปในอนาคตด้วยเหตุนี้หลายประเทศห้ามไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต เช่น สหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น และยังมีประเทศอื่นๆ ที่วางแผนที่จะห้ามไม่ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ เช่น ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่ประเทศไทยได้มีประกาศควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์โดยมีผลบังคับใช้ทั้งระดับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และฟาร์มที่ผสมอาหารสัตว์ใช้เองตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563 การใช้ Probiotic จาก Lactic acid bacteria จึงน่าจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยเฉพาะการแยกเชื้อที่พบในประเทศไทย น่าจะช่วยให้ประสิทธิภาพของเชื้อสูงขึ้น

วัตถุประสงค์

การใช้ Antibiotic ในระบบการผลิตปศุสัตว์ถือได้ว่ามีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยของสัตว์ในฟาร์ม จากการศึกษาของ สุภาวดี และ อิสรพงษ์ (2021) พบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะมีอย่างแพร่หลายในฟาร์มปศุสัตว์สูงถึง 93.8 เปอร์เซ็นต์ โดยการเข้าถึงยาได้ง่ายจากการซื้อที่ร้านจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร 56.3 เปอร์เซ็นต์ มียาที่จำหน่ายในร้านขายสินค้าทางการเกษตร เป็นยาที่ไม่มีทะเบียนยา 47 เปอร์เซ็นต์ เป็นยาปฏิชีวนะ 36.8 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรยังไม่มีความเข้าใจในการใช้ Antibiotic ทำให้เกิดการใช้ที่ไม่ถูกวิธี ส่งผลให้เกิดการตกค้างของ Antibiotic ในผลิตผภัณฑ์ปศุสัตว์ การดื้อยาในสัตว์และผู้บริโภค 	ในปัจจุบัน นักพัฒนาอาหารสัตว์จึงหันมาให้ความสนใจ Probiotic หรือเรียกอีกอย่างว่า สารเสริมชีวนะ ซึ่งถือว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของสัตว์และมนุษย์ (Gilliland, 1990; Fuller, 1989) เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการใช้ Antibiotic ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การใช้ Probiotic ในอาหารสัตว์มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ 2) เพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์ นอกจากนั้น การใช้ Probiotic ยังมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์อยู่ในสภาวะสมดุล การลดลงของจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารทำให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารในสัตว์ดีขึ้น เนื่องจากสภาวะที่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เอื้อให้สัตว์สามารถใช้อาหารได้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและเอื้อให้มีการดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น (กานต์ชนา, 2015) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่สามารถนำมาใช้เป็น Probiotic ได้แก่ bacteria, yeast และ mould (Fuller, 1992) และจากการรายงานของ Salminen et al. (1992) รายงานว่า bacteria ที่มักจะนำมาใช้เป็น Probiotic ได้แก่ กลุ่ม lactic acid bacteria ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น Generally Regarded As Safe (GRAS) ถึงแม่ว่า lactic acid bacteria จะมีการนำมาใช้เป็น Probiotic อย่างแพร่หลายแต่ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำให้เซลล์มรชีวิต (viable cell) ของเชื้อลดลงอย่างรวดเร็ว เช่น ปริมาณกรดที่ lactic acid bacteria มากเกินไปมีผลให้ตัวของ lactic acid bacteria ถูกทำลายด้วย หรือ lactic acid bacteria ที่ใช้อยู่ในประเทศส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่มีการนำเข้า ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศอาจจะมีผลต่อการเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพการทำหน้าที่ลดลง เป็นต้น				 	ดังนั้น ทางบริษัทผู้นำเอา Probiotic ได้ให้ความสำคัญของสายพันธุ์และการรอดชีวิตของเชื้อทั้งในระหว่างการผลิตและเก็บรักษา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็น Probiotic ในอนาคต จึงเป็นเหตุผลให้มีการศึกษาเชื้อ lactic acid bacteria ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหารของแกะที่ถูกเลี้ยงในประเทศไทย

ผู้จัดทำ

อัจฉรา ลักขณานุกูล
Achara Lukkananukool

#อาจารย์

สมาชิก
รินรดา ยืนยงค์
RINRADA YUENYONG

#นักศึกษา

สมาชิก
นพอนันต์ เสถียรพัฒโนดม
NOPA-ANUN SATHEANPATNODOM

#นักศึกษา

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด