Back

Screening Lactic acid bacteria in rumen of sheep for Probiotic product

การคัดแยกเชื้อ Lactic acid bacteria (LAB) ในรูเมนของแกะเนื้อ เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ Probiotic

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#Cluster 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
การคัดแยกเชื้อ Lactic acid bacteria (LAB) ในรูเมนของแกะเนื้อ เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ Probiotic

Details

Antibiotics are widely used in livestock production. To stimulate growth and prevent diarrhea in the farm, which is commonly used in animal feed. Antibiotics also contribute to economic returns. However, the disadvantages of using. Antibiotics were shown more clearly. This has made consumers increasingly concerned about antibiotic residues in animal products (there are also indications that continued use of antibiotics may increase resistance to pathogenic bacteria). This will be harmful to animals and consumers in the future. For this reason, many countries such as the European Union and Japan prohibit antibiotic use as growth promoters. and there are other countries Plans to ban the use of antibiotics in animal feed, such as China and the United States. While Thailand has announced control over the use of antibiotics in animal feed, effective at the level of the animal feed factory. And farms that mix animal feed for use from 26 September 2020, the use of probiotics from lactic acid bacteria should therefore help solve this problem. especially the isolates found in Thailand should help increase the efficiency of the infection.

Objective

การใช้ Antibiotic ในระบบการผลิตปศุสัตว์ถือได้ว่ามีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยของสัตว์ในฟาร์ม จากการศึกษาของ สุภาวดี และ อิสรพงษ์ (2021) พบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะมีอย่างแพร่หลายในฟาร์มปศุสัตว์สูงถึง 93.8 เปอร์เซ็นต์ โดยการเข้าถึงยาได้ง่ายจากการซื้อที่ร้านจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร 56.3 เปอร์เซ็นต์ มียาที่จำหน่ายในร้านขายสินค้าทางการเกษตร เป็นยาที่ไม่มีทะเบียนยา 47 เปอร์เซ็นต์ เป็นยาปฏิชีวนะ 36.8 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรยังไม่มีความเข้าใจในการใช้ Antibiotic ทำให้เกิดการใช้ที่ไม่ถูกวิธี ส่งผลให้เกิดการตกค้างของ Antibiotic ในผลิตผภัณฑ์ปศุสัตว์ การดื้อยาในสัตว์และผู้บริโภค 	ในปัจจุบัน นักพัฒนาอาหารสัตว์จึงหันมาให้ความสนใจ Probiotic หรือเรียกอีกอย่างว่า สารเสริมชีวนะ ซึ่งถือว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของสัตว์และมนุษย์ (Gilliland, 1990; Fuller, 1989) เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการใช้ Antibiotic ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การใช้ Probiotic ในอาหารสัตว์มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ 2) เพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์ นอกจากนั้น การใช้ Probiotic ยังมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์อยู่ในสภาวะสมดุล การลดลงของจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารทำให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารในสัตว์ดีขึ้น เนื่องจากสภาวะที่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เอื้อให้สัตว์สามารถใช้อาหารได้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและเอื้อให้มีการดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น (กานต์ชนา, 2015) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่สามารถนำมาใช้เป็น Probiotic ได้แก่ bacteria, yeast และ mould (Fuller, 1992) และจากการรายงานของ Salminen et al. (1992) รายงานว่า bacteria ที่มักจะนำมาใช้เป็น Probiotic ได้แก่ กลุ่ม lactic acid bacteria ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น Generally Regarded As Safe (GRAS) ถึงแม่ว่า lactic acid bacteria จะมีการนำมาใช้เป็น Probiotic อย่างแพร่หลายแต่ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำให้เซลล์มรชีวิต (viable cell) ของเชื้อลดลงอย่างรวดเร็ว เช่น ปริมาณกรดที่ lactic acid bacteria มากเกินไปมีผลให้ตัวของ lactic acid bacteria ถูกทำลายด้วย หรือ lactic acid bacteria ที่ใช้อยู่ในประเทศส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่มีการนำเข้า ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศอาจจะมีผลต่อการเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพการทำหน้าที่ลดลง เป็นต้น				 	ดังนั้น ทางบริษัทผู้นำเอา Probiotic ได้ให้ความสำคัญของสายพันธุ์และการรอดชีวิตของเชื้อทั้งในระหว่างการผลิตและเก็บรักษา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็น Probiotic ในอนาคต จึงเป็นเหตุผลให้มีการศึกษาเชื้อ lactic acid bacteria ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหารของแกะที่ถูกเลี้ยงในประเทศไทย

Project Members

อัจฉรา ลักขณานุกูล
Achara Lukkananukool

#อาจารย์

Member
รินรดา ยืนยงค์
RINRADA YUENYONG

#นักศึกษา

Member
นพอนันต์ เสถียรพัฒโนดม
NOPA-ANUN SATHEANPATNODOM

#นักศึกษา

Member

Vote for this Innovation!

Loading...