กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ต้นแบบนวัตกรรมตรวจจับการปลอมแปลงใบหน้าเพื่อสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัล

Deepfake Detection in Digital Media Forensics

@คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

#Cluster 2024
#Digital Technology
ต้นแบบนวัตกรรมตรวจจับการปลอมแปลงใบหน้าเพื่อสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัล

รายละเอียด

        ต้นแบบนวัตกรรมนี้มีจุดประสงค์ เพื่อนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ป้องกันและตรวจสอบ ปัญหาการปลอมแปลง หรือการตัดต่อใบหน้าบนสื่อดิจิทัลในรูปภาพและวิดีโอ เพื่อสนับสนุนการสอบสวนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนวัตกรรมกรรมนี้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบการเรียนรู้เชิงลึก เพื่อสร้างแบบจำลอง AI และตรวจสอบประสิทธิภาพ จากนั้นสร้างเว็บไซต์ เชื่อมต่อแบบจำลอง 

วัตถุประสงค์

    ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว มีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในการทำอาชญากรรม ทำให้เกิดอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่มีความซับซ้อนในการตรวจจับอย่างมาก นั่นก็คือ อาชญากรรมไซเบอร์ โดยเฉพาะรูปแบบการใช้ Deepfake ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการสร้างภาพและปลอมแปลงวีดิโอ ส่งผลกระทบทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ เกิดปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัว และการกระจายข้อมูลอันเป็นเท็จ เช่น การข่มขู่ การฉ้อโกงเพื่อหลอกลวง การปลุกปั่น หรือการทำให้บุคคลเสียชื่อเสียง ในกรณีของประเทศไทย มีข่าวมิจฉาชีพใช้ Deepfake ตัดต่อใบหน้าตนเองเป็นเจ้าหน้ารัฐหลอกลวงประชาชน จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่จะสามารถตรวจสอบภาพและวิดีโอเหล่านี้ได้

    เพื่อการป้องกันการถูกหลอกหรือฉ้อโกงเบื้องต้นสำหรับประชาชน รวมถึง สามารถใช้นวัตกรรมทั้งการใช้งานเพื่อสนับสนุนการสอบสวนทางคดีกับ การปลอมแปลงใบหน้าสื่อดิจิทัล ผู้จัดทำจึงนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยการตัดต่อใบหน้าของรูปภาพและวิดีโอโดยกระบวนการเรียนรู้ของเครื่อง(Machine Learning) ผ่านหลักการ Supervise Learning โดยมีการเรียนรู้จากชุดข้อมูล (Dataset) ภาพ เพื่อพัฒนาแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึก (Model Training) โดยใช้หลักการของ CNN (Convolutional Neural Network) ในการตรวจสอบภาพและวิดีโอ และทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลอง และแบบจำลองเข้าสู่เว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำรูปภาพหรือวิดีโอมาตรวจสอบการปลอมแปลงใบหน้า โดยจะแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบร้อยละความมั่นใจที่รูปภาพหรือวิดีโอจะเป็นรูปที่มีโอกาสเป็นรูปจริงหรือมีการปลอมแปลงหรือตัดต่อใบหน้า

    ทั้งนี้จากการศึกษาและพัฒนา ต้นแบบนวัตกรรมตรวจจับการปลอมแปลงใบหน้าเพื่อสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัลพบว่า การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงลึก สามารถตรวจจับการปลอมแปลง ตัดต่อใบหน้า รูปภาพและวิดีโอ ที่สามารถสนับสนุนการสอบสวนทางคดีกับสื่อดิจิทัล และสามารถป้องกันการถูกหลอกหรือฉ้อโกงเบื้องต้นสำหรับประชาชนได้

ผู้จัดทำ

วาธิน พรมฝ้าย
WATIN PROMFIY

#นักศึกษา

สมาชิก
ชัญญณัท พุทธสุธิกัน
CHANYANAT PHUTHASUTHIKHAN

#นักศึกษา

สมาชิก
สุวิทย์ ภูมิฤทธิกุล
Suvit Poomrittigul

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด