Back

Deepfake Detection in Digital Media Forensics

ต้นแบบนวัตกรรมตรวจจับการปลอมแปลงใบหน้าเพื่อสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัล

@คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

#Cluster 2024
#Digital Technology
ต้นแบบนวัตกรรมตรวจจับการปลอมแปลงใบหน้าเพื่อสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัล

Details

    The purpose of this innovation is to utilize artificial intelligence (AI) technology to prevent and detect problems such as forgery or manipulation of facial features in digital images and videos. This aims to enhance the efficiency of investigations. The innovation employs deep learning AI technology to create models and assess their effectiveness. Subsequently, a website is developed to connect with these models.

Objective

    ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว มีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในการทำอาชญากรรม ทำให้เกิดอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่มีความซับซ้อนในการตรวจจับอย่างมาก นั่นก็คือ อาชญากรรมไซเบอร์ โดยเฉพาะรูปแบบการใช้ Deepfake ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการสร้างภาพและปลอมแปลงวีดิโอ ส่งผลกระทบทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ เกิดปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัว และการกระจายข้อมูลอันเป็นเท็จ เช่น การข่มขู่ การฉ้อโกงเพื่อหลอกลวง การปลุกปั่น หรือการทำให้บุคคลเสียชื่อเสียง ในกรณีของประเทศไทย มีข่าวมิจฉาชีพใช้ Deepfake ตัดต่อใบหน้าตนเองเป็นเจ้าหน้ารัฐหลอกลวงประชาชน จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่จะสามารถตรวจสอบภาพและวิดีโอเหล่านี้ได้

    เพื่อการป้องกันการถูกหลอกหรือฉ้อโกงเบื้องต้นสำหรับประชาชน รวมถึง สามารถใช้นวัตกรรมทั้งการใช้งานเพื่อสนับสนุนการสอบสวนทางคดีกับ การปลอมแปลงใบหน้าสื่อดิจิทัล ผู้จัดทำจึงนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยการตัดต่อใบหน้าของรูปภาพและวิดีโอโดยกระบวนการเรียนรู้ของเครื่อง(Machine Learning) ผ่านหลักการ Supervise Learning โดยมีการเรียนรู้จากชุดข้อมูล (Dataset) ภาพ เพื่อพัฒนาแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึก (Model Training) โดยใช้หลักการของ CNN (Convolutional Neural Network) ในการตรวจสอบภาพและวิดีโอ และทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลอง และแบบจำลองเข้าสู่เว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำรูปภาพหรือวิดีโอมาตรวจสอบการปลอมแปลงใบหน้า โดยจะแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบร้อยละความมั่นใจที่รูปภาพหรือวิดีโอจะเป็นรูปที่มีโอกาสเป็นรูปจริงหรือมีการปลอมแปลงหรือตัดต่อใบหน้า

    ทั้งนี้จากการศึกษาและพัฒนา ต้นแบบนวัตกรรมตรวจจับการปลอมแปลงใบหน้าเพื่อสนับสนุนการสอบสวนบนสื่อดิจิทัลพบว่า การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงลึก สามารถตรวจจับการปลอมแปลง ตัดต่อใบหน้า รูปภาพและวิดีโอ ที่สามารถสนับสนุนการสอบสวนทางคดีกับสื่อดิจิทัล และสามารถป้องกันการถูกหลอกหรือฉ้อโกงเบื้องต้นสำหรับประชาชนได้

Project Members

วาธิน พรมฝ้าย
WATIN PROMFIY

#นักศึกษา

Member
ชัญญณัท พุทธสุธิกัน
CHANYANAT PHUTHASUTHIKHAN

#นักศึกษา

Member
สุวิทย์ ภูมิฤทธิกุล
Suvit Poomrittigul

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...