กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโลจิสติกส์ขาเข้าโดยใช้การระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

INCREASING PERFORMANCE OPTIMIZATIONS IN INBOUND LOGISTICS USING RADIO FREQUENCY IDENTIFICATION

@วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

#KLLC 2024
#Industry 4.0
การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโลจิสติกส์ขาเข้าโดยใช้การระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

รายละเอียด

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอรายงานประสบการณ์การฝึกงานและสหกิจศึกษาในส่วนวิศวกรรม การบริหารโครงการ และนวัตกรรม ภายในแผนก Contract Logistics ตามสัญญาของ บริษัท เช้งเก้อร์ (ไทย) จำกัด ในการรับผิดชอบโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโลจิสติกส์แผนกขาเข้า ซึ่งในปัจจุบันกระบวนการนี้ใช้เวลาทั้งหมด 1 วัน โดยมีระยะเวลารอคอยที่มากเกินไปในขั้นตอนต่าง ๆ และการขาดความต่อเนื่องของขั้นตอนการทำงาน สถานการณ์นี้ส่งผลให้มีต้นทุนจำนวนมากและประสิทธิภาพการทำงานลดลง ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ คือ 1. เพื่อลดเวลาในการทำงานทั้งหมดของแผนกขาเข้าให้น้อยกว่าเวลาในการทำงานทั้งหมดในปัจจุบันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. เพื่อลดขั้นตอนการทำงานและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และ 3. เพื่อลดระยะเวลารอคอยที่มากเกินไปในขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ภายในแผนกขาเข้า โดยโครงการมีการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีหลายรูปแบบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีน ซิกซ์ ซิกม่า เป็นวิธีการจัดการและปรับปรุงกระบวนการทำงาน 2. การใช้ไมโครซอฟท์ เอ็กเซล และเอ็กเซล วีบีเอ เพื่อพัฒนาโปรแกรมตรวจสอบสินค้าก่อนบันทึกเข้าระบบสินค้าคงคลังได้อย่างราบรื่น และ 3. นำการระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุหรืออาร์เอฟไอดีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบและนับจำนวนสินค้า และ 4. การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์อาร์ดุยโนเพื่อควบคุมระบบตรวจสอบสินค้าก่อนป้อนข้อมูลบันทึกเข้าสู่ระบบ

วัตถุประสงค์

บริษัท เช้งเก้อร์ (ไทย) จำกัด ได้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ให้กับผู้ใช้บริการหลายราย  แต่ละรายมีประเภทของสินค้าที่แตกต่างกัน ทำให้คลังสินค้าของบริษัทแต่แห่งของบริษัทมีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยในปัจจุบันผู้ใช้บริการได้ให้ความไว้วางใจบริษัทจัดการสินค้าพร้อมกับเป็นศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ของผู้ใช้บริการ โดยภายในศูนย์กระจายสินค้าประกอบไปด้วย 5 แผนก ได้แก่ แผนกขาเข้า (Inbound) แผนกกระจายสินค้า (Allocation) แผนกเก็บสินค้าเข้าชั้นวาง (Put Away) แผนกหยิบสินค้า (Picking) และแผนกขาออก (Outbound) 
       จุดมุ่งหมายสำคัญในการปรับปรุง คือ แผนกขาเข้าหรือโลจิสติกส์ขาเข้าของบริษัท ในการดูแลสินค้าประเภทเครื่องนุ่มห่มและเครื่องใช้ภายในบ้านของผู้ใช้บริการรายหนึ่ง ซึ่งในแผนกมีการแบ่งย่อยกระบวนการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การขนถ่ายสินค้า (Unloading) และการรับสินค้า (Receiving) เมื่อเสร็จสิ้นครบทุกส่วน สินค้าจะถูกส่งต่อไปที่แผนกต่อไป คือ แผนกเก็บสินค้าเข้าชั้นวางและแผนกกระจายสินค้า โดยในปัจจุบันแผนกขาเข้าใช้เวลาทำงานทั้งหมดเฉลี่ย 5.13 ชั่วโมงต่อการรับสินค้า ระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลารอคอยที่มากเกินไปในขั้นตอนต่าง ๆ และการขาดความต่อเนื่องของขั้นตอนการทำงาน สถานการณ์นี้ส่งผลให้มีต้นทุนจำนวนมากและประสิทธิภาพการทำงานลดลง การศึกษาเพื่อปรับปรุงปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมและสมควรพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้จัดทำ

วิรชัช จิตธรรมมา
WIRACHAT JITTHAMMA

#นักศึกษา

สมาชิก
ชานนท์ วริสาร
CHANON WARISARN

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด