กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

IIoT Edge Computing สำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางสู่โรงงานอัจฉริยะ

IIoT Edge Computing for SMEs to Smart Factory

@คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

#Cluster 2024
#Industry 4.0
IIoT Edge Computing สำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางสู่โรงงานอัจฉริยะ

รายละเอียด

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ประมวลผลที่ขอบสำหรับไอโอทีภาคอุตสาหกรรม (IIoT Edge Computing) สำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยบอร์ดประมวลผล Raspberry Pi Compute Module (CM4) และบอร์ดขยายที่มีพอร์ตมาตรฐานอุตสาหกรรม RS485 ในตัว ร่วมกับซอฟต์แวร์โปรแกรม IoT Design ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาระบบ IoT  ในภาคอุตสาหกรรม (Industrial IoT) ที่ถูกพัฒนาขึ้น  เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องมือวัดผ่านการเชื่อมต่อทางเครือข่าย ด้วยการตั้งค่าแบบ No Code และการสร้างหน้าแสดงผล (Data Visualization) ด้วยเครื่องมือที่สามารถจัดวางได้แบบลากแล้ววาง (Drag and Drop) โดยระบบสามารถจัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลแบบ Real-time รวมทั้งมีการบริหารจัดการอุปกรณ์ การบริหารจัดการผู้ใช้งาน และการแจ้งเตือน โดยต้นแบบ IIoT Edge Computing ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ระบบการตรวจวัดการใช้และวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคาร ระบบการตรวจวัดการทำงานของเครื่องจักร และระบบการตรวจวัดการทำงานของระบบแบบเรียลไทม์

วัตถุประสงค์

ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) เป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อผลักดันการเติบโตของรายได้ในประเทศให้สูงขึ้นอย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยการขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการบริการระดับสูง ตามแนวทางที่สอดคล้องกับ Industry 4.0 ที่เป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet of Things (IoT) เรียกว่า IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรม หรือ Industrial IoT (IIoT) ที่ทำหน้าที่จัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลจากเซนเซอร์หรือเครื่องมือวัดที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นโรงงานอัจฉริยะที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต และเป็นส่วนสำคัญให้เกิดความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางเศรษฐกิจของชาติ
ปัจจุบัน สำนักงานสถิติแห่งชาติประเมินว่า ประเทศไทยมีสถานประกอบการด้านการผลิตเพียง 2% จากทั้งหมด  453,617 แห่ง เท่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและไปได้ไกลถึง Industry 4.0 โดยมากกว่าครึ่งของสถานประกอบการทั้งหมดอยู่ในขั้น Industry 2.0 และจัดอยู่ในกลุ่มของโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่มีความพร้อมในการนำ IIoT มาใช้งานน้อยกว่าโรงงานขนาดใหญ่ เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการลงทุน หรือขาดความเชื่อมั่นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ประกอบกับการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ในการพัฒนาและดูแลระบบ ดังนั้นสำหรับโรงงานที่มีงบประมาณจำกัด แต่มีความต้องการใช้ระบบ IIoT อย่างยั่งยืนและประหยัด
จากที่กล่าวมาข้างต้น การสร้างระบบ IIoT ในโรงงานด้วยงบประมาณจำกัด และด้วยบุคลากรในโรงงานเอง สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรม IoT Design ที่เป็นแพลตฟอร์ม IIoT ที่สามารถเชื่อมต่อทุกอย่างในระบบเพื่อจัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลได้ในตัว ด้วยการตั้งค่าระบบได้อย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ (IIoT Edge Computing) ที่เหมาะสมสำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อนำสู่การพัฒนาสู่โรงงานอัจฉริยะได้ในอนาคต

ผู้จัดทำ

พรพิมล ฉายรัศมี
Pornpimon Chayratsami

#อาจารย์

สมาชิก
นนธวัช เวียงคำ
NONTAWACH WIANGKOM

#นักศึกษา

สมาชิก
วรวิทย์ สมหา
Worawit Somha

#อาจารย์

สมาชิก
ปิยะ จิตธรรมมาภิรมย์
Piya Jitthammapirom

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด