กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ระบบควบคุมความชื้นในดินและรดน้ำผักในโรงเรือนอัตโนมัติ

Automatic soil moisture control and vegetable watering system in greenhouses

@คณะเทคโนโลยีการเกษตร

#KLLC 2024
#Digital Technology
ระบบควบคุมความชื้นในดินและรดน้ำผักในโรงเรือนอัตโนมัติ

รายละเอียด

การควบคุมการปลูกถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมคุณภาพและปริมาณผลผลิต ซึ่งสิ่งสําคัญที่ต้องควบคุมในการปลูกพืช ก็คือน้ำ และ ความชื้น โครงการระบบควบคุมความชื้นในดินและการรดน้ำผักในโรงเรือนอัตโนมัติมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความรู้และศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของระบบควบคุมความชื้นในดินและรดน้ำผักในโรงเรือนอัตโนมัติ เพื่อนำเทคโนโลยี Internet of Things มาพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตร โดยการใช้โปรแกรม Arduino IDE ในการจำลองผ่านบอร์ด ESP-32 และการนำเข้าเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดความชื้นในดินและควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติ ระบบนี้ทำให้การดูแลรักษาพืชในโรงเรือนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการควบคุมกระบวนการเกษตร

วัตถุประสงค์

      ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น การบริโภคผักผลไม้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ซึ่งผักปลอดสารพิษเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการปลูกผักปลอดสารพิษส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยโรงเรือนในการปลูก   การควบคุมการปลูกนับเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมคุณภาพ และผลผลิต ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องควบคุมในการปลูกพืช ก็คือน้ำ และ ความชื้น ซึ่งเดิมมักควบคุมโดยใช้แรงงานคน ซึ่งทำให้เสียทั้งเวลา และเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านแรงงานอีกด้วย ในขณะที่ปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Internet of thing เข้ามาช่วยควบคุมการทำงานต่างๆได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโครงการ ระบบควบคุมความชื้นในดินและรดน้ำผักในโรงเรือนอัตโนมัติ

ผู้จัดทำ

ธนภัทร แนบฉิมพลี
THANAPHAT NAEBCHIMPLEE

#นักศึกษา

สมาชิก
จุฑาภัทร ศรีวะรมย์
JUTHAPAT SRIWAROM

#นักศึกษา

สมาชิก
ศิรกานต์ ยวงสวัสดิ์
SIRAKARN YOUNGSAWAT

#นักศึกษา

สมาชิก
ศิรินภา วิลาศสุระสังวาลย์
SIRINAPA WILADSURASANGWAN

#นักศึกษา

สมาชิก
อรพัชรินณ์ สันทัดสิน
ORAPATCHARIN SANTADSIN

#นักศึกษา

สมาชิก
ณฐมน วุกซาน
NATHAMON VUKSAN

#นักศึกษา

สมาชิก
อาณัติ รัตนถิรกุล
Arnut Ruttanatirakul

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด