กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง

Electric Vehicle Conversion

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Industry 4.0
รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง

รายละเอียด

ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการเปรียบเทียบการทดสอบอัตราการใช้พลังงานของยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ระหว่างก่อนและหลังมีการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ด้วย Programmable Logic Controller (PLC) เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงลดอัตราการใช้พลังงานของยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ซึ่งเป็นการทดสอบภายใต้มาตรฐานการทดสอบระยะทางของยานยนต์ไฟฟ้า WLTP (Worldwide Harmonized Light Vehicles Test Procedures) การทดสอบใช้เครื่องทดสอบแรงม้าเครื่องยนต์ (Chassis Dynamometer) เป็นเครื่องมือในการทดสอบ และมีการปรับ หรือควบคุมการทำงานของมอเตอร์ในยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง โดยเฉพาะแรงบิดด้วย Programmable Logic Controller (PLC) Motor Control ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าทดสอบเป็นรถกระบะ ISUZU รุ่น Dmax TFR86JRMN1 ก่อนทำการทดสอบด้วย Chassis Dynamometer เพื่อจำลองสถานการณ์การขับขี่ให้มีความใกล้เคียงกับถนนจริงมากที่สุด จึงมีการนำยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงไปทดสอบบนถนนสภาพแวดล้อมจริง เพื่อการเก็บค่า Coast Down Town และนำไปสู่การวิเคราะห์ผลข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเฉพาะของยานยนต์แต่ละคัน หลังการทดสอบได้มีการออกแบบปรับปรุงระบบที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ หรือ PLC แล้วนำยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงไปทดสอบใหม่ด้วย Chassis Dynamometer เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบและแนวโน้มอัตราการใช้พลังงานของยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงในลักษณะการขับขี่บนทางด่วนและการขับขี่ในเมือง ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงการทำงานของมอเตอร์

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบันทั่วโลกมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นได้จริงและมีการสนับสนุนหรือผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยมีพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการผลิตตั้งแต่ระดับภาคครัวเรือนจนถึงระดับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีการใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเป็นหลัก โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงมีภาพลักษณ์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวได้ แต่การที่จะทราบว่ารถยนต์ของเรานั้นมีประสิทธิภาพที่ดี หรือ เหมาะสมต่อการใช้งานหรือไม่ จำเป็นต้องถูกทดสอบด้วยมาตรฐานระยะทางในการวิ่งของรถยนต์ ซึี่งจะแสดงถึงประสิทธิภาพของรถยนต์
เนื่องจากในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีหลายแบรนด์ในท้องตลาด และอีกทั้งยังมีรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ที่ถูกดัดแปลงจากรถยนต์สันดาปมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องมีการทดสอบมาตรฐานต่างๆของรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งการทดสอบระยะทางในการวิ่งของรถยนต์ ซึ่งแสดงถึงว่ารถยนต์นั้นสามารถวิ่งได้ระยะทางตามที่ออกแบบมาหรือไม่ ด้วยมาตรฐานต่างๆ เช่น WLTP EPA NEDC เป็นต้น
ในประเทศไทยมีการใช้รถยนต์สันดาปเป็นจำนวนมากและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งรถไฟฟ้าในปัจจุบันยังมีราคาแพง ซึ่งการดัดแปลงรถไฟฟ้าจากรถที่ใช้เชื้อเพลิงไปเป็นรถไฟฟ้านั้น จึงมีความสำคัญในเรื่องของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะส่งผลให้เกิดโลกร้อน และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถยนต์เก่าในการดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้า ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่าการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ ในปัจจุบันมีการศึกษาด้านรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเป็นอย่างแพร่หลาย ทำให้มีอุตสาหกรรมใหม่หรือโครงการในการดัดแปลงรถยนต์เก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่ต้องการรถไฟฟ้า แต่ไม่มีงบประมาณในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่
โดยในรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงที่สร้างขึ้นนั้นได้ใช้ PLC เป็นอุปกรณ์ควบคุมกลางที่ใช้ในการสั่งงานควบคุมอุปกรณ์ควบคุมตัวอื่นๆ ซึ่งทำให้สามารถใช้ PLC ในการควบคุมหรือปรับค่าการทำงานมอเตอร์ได้ เพื่อให้มีแรงขับที่เหมาะสม และมีอัตราการกินพลังงานที่น้อยที่สุดแต่ยังสามารถขับเคลื่อนไปด้วยแรงขับที่เราต้องการได้
ในปัจจุบันเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการใช้งานมีมากขึ้น ดังนั้น จากความสำคัญข้างต้น จึงได้จัดทำโครงงานวิศวกรรม เพื่อที่จะศึกษาและออกแบบการควบคุมระบบการทำงานของมอเตอร์ในยายนนต์ไฟฟ้าด้วย PLC และการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้าด้วยเครื่องมือ Chassis Dynamometer เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการใช้งานจริง โดยมีแนวโน้มอัตราการใช้พลังงานที่ลดลงในอนาคตได้ ซึ่งอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือการสูญเสียทรัพยากร และลดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลงได้ในระดับหนึ่ง

ผู้จัดทำ

รัชฎาภรณ์ พลพันธ์
RATCHADAPHORN PHOLPHAN

#นักศึกษา

สมาชิก
รัตนธร บุญสกุลโสภิต
RATTANATHON BOONSKULSOPIT

#นักศึกษา

สมาชิก
ปฏิภาณ จุลพันธ์
PATIPHAN JUNLAPAN

#นักศึกษา

สมาชิก
ธนบดี พุ่มทอง
THANABODEE PUMTONG

#นักศึกษา

สมาชิก
ธีรพล โพธิ์พงศ์วิวัฒน์
Teeraphon Phophongviwat

#อาจารย์

อาจารย์ที่ปรึกษา

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด