Back

Electric Vehicle Conversion

รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง

@คณะวิศวกรรมศาสตร์

#KLLC 2024
#Industry 4.0
รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง

Details

This thesis presents a comparison of energy consumption tests conducted on electric vehicles conversion. The motor's operation is controlled with a Programmable Logic Controller (PLC) to develop, enhance, and reduce the energy consumption rate before and after conversion. The tests adhere to the standards for distance testing of electric vehicles, specifically the WLTP (Worldwide Harmonized Light Vehicles Test Procedures). The testing utilizes a Chassis Dynamometer, serving as an engine horsepower tester, and involves adjusting or controlling the motor's operation in converted electric vehicles, especially the torque, using Programmable Logic Controller (PLC) Motor Control.
The electric vehicle subjected to testing was an ISUZU pickup truck, model D-max TFR86JRMN1. Prior to testing with the Chassis Dynamometer, simulations were conducted to replicate real-road driving conditions as closely as possible. Consequently, converted electric vehicles were tested on actual roads in real environments to gather Coast Down Town values. These values led to the analysis of various data results, which are specific to each vehicle.
Post-testing, there was a design implemented to enhance the system used to control the motor's operation or PLC. Subsequently, the converted electric vehicle underwent re-testing with a Chassis Dynamometer to compare the results and analyze the trend in the energy consumption rate. This comparison included both expressway driving and city driving, both before and after improving the motor's performance.

Objective

ในปัจจุบันทั่วโลกมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นได้จริงและมีการสนับสนุนหรือผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยมีพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการผลิตตั้งแต่ระดับภาคครัวเรือนจนถึงระดับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามีการใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเป็นหลัก โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงมีภาพลักษณ์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวได้ แต่การที่จะทราบว่ารถยนต์ของเรานั้นมีประสิทธิภาพที่ดี หรือ เหมาะสมต่อการใช้งานหรือไม่ จำเป็นต้องถูกทดสอบด้วยมาตรฐานระยะทางในการวิ่งของรถยนต์ ซึี่งจะแสดงถึงประสิทธิภาพของรถยนต์
เนื่องจากในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีหลายแบรนด์ในท้องตลาด และอีกทั้งยังมีรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ที่ถูกดัดแปลงจากรถยนต์สันดาปมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องมีการทดสอบมาตรฐานต่างๆของรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งการทดสอบระยะทางในการวิ่งของรถยนต์ ซึ่งแสดงถึงว่ารถยนต์นั้นสามารถวิ่งได้ระยะทางตามที่ออกแบบมาหรือไม่ ด้วยมาตรฐานต่างๆ เช่น WLTP EPA NEDC เป็นต้น
ในประเทศไทยมีการใช้รถยนต์สันดาปเป็นจำนวนมากและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งรถไฟฟ้าในปัจจุบันยังมีราคาแพง ซึ่งการดัดแปลงรถไฟฟ้าจากรถที่ใช้เชื้อเพลิงไปเป็นรถไฟฟ้านั้น จึงมีความสำคัญในเรื่องของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะส่งผลให้เกิดโลกร้อน และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถยนต์เก่าในการดัดแปลงเป็นรถไฟฟ้า ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่าการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ ในปัจจุบันมีการศึกษาด้านรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเป็นอย่างแพร่หลาย ทำให้มีอุตสาหกรรมใหม่หรือโครงการในการดัดแปลงรถยนต์เก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่ต้องการรถไฟฟ้า แต่ไม่มีงบประมาณในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่
โดยในรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงที่สร้างขึ้นนั้นได้ใช้ PLC เป็นอุปกรณ์ควบคุมกลางที่ใช้ในการสั่งงานควบคุมอุปกรณ์ควบคุมตัวอื่นๆ ซึ่งทำให้สามารถใช้ PLC ในการควบคุมหรือปรับค่าการทำงานมอเตอร์ได้ เพื่อให้มีแรงขับที่เหมาะสม และมีอัตราการกินพลังงานที่น้อยที่สุดแต่ยังสามารถขับเคลื่อนไปด้วยแรงขับที่เราต้องการได้
ในปัจจุบันเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการใช้งานมีมากขึ้น ดังนั้น จากความสำคัญข้างต้น จึงได้จัดทำโครงงานวิศวกรรม เพื่อที่จะศึกษาและออกแบบการควบคุมระบบการทำงานของมอเตอร์ในยายนนต์ไฟฟ้าด้วย PLC และการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้าด้วยเครื่องมือ Chassis Dynamometer เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการใช้งานจริง โดยมีแนวโน้มอัตราการใช้พลังงานที่ลดลงในอนาคตได้ ซึ่งอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือการสูญเสียทรัพยากร และลดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลงได้ในระดับหนึ่ง

Project Members

รัชฎาภรณ์ พลพันธ์
RATCHADAPHORN PHOLPHAN

#นักศึกษา

Member
รัตนธร บุญสกุลโสภิต
RATTANATHON BOONSKULSOPIT

#นักศึกษา

Member
ปฏิภาณ จุลพันธ์
PATIPHAN JUNLAPAN

#นักศึกษา

Member
ธนบดี พุ่มทอง
THANABODEE PUMTONG

#นักศึกษา

Member
ธีรพล โพธิ์พงศ์วิวัฒน์
Teeraphon Phophongviwat

#อาจารย์

Advisor

Vote for this Innovation!

Loading...