กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
สถานีมาตรฐานสำหรับเรียนรู้ ทดสอบ และฝึกซ้อมบัลเลต์โดยใช้เซ็นเซอร์คิเนคท์
Standardized Ballet Learning, Testing, and Training Station Using Kinect Sensors
@คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
#Cluster 2024
#Digital Technology
รายละเอียด
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เริ่มมีการสอนบัลเลต์แบบออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจะเต้นบัลเลต์ได้ดีจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบร่างกายที่ชัดเจน ในต่างประเทศมีสถาบันที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการเต้นบัลเลต์ อาทิเช่น Royal Academy of Dance ในพระราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานและแรงบันดาลใจสำหรับนักเรียนหรือนักเต้นชาวไทย ผู้วิจัยจึงคิดโครงการวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเต้นและบุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้และตรวจสอบพัฒนาการในการเต้นของตัวเอง โดยเทียบเคียงกับนักบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนแบบ Face-to-face กับนักบัลเลต์ท่านนั้นโดยตรง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงตัวเองให้มีความสามารถสูงขึ้นตามจุดประสงค์ของแต่ละคน
วัตถุประสงค์
ปัจจุบัน เริ่มมีการตระหนักถึงความสำคัญของนาฏศิลป์มากไปกว่าการเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง หากแต่ยังมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรายได้เข้าประเทศ ตามแบบอย่างของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีที่สามารถทำรายได้เข้าประเภทในหลักหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือหลายแสนล้านบาทไทย จากความสำเร็จของคุณลลิษา มโนบาล หรือ Lisa Blackpink ซึ่งเป็นศิลปินชาวไทยที่ประสบความสำเร็จในระดับโลกในแง่ของการขับร้องและการเต้น ทำให้ประเทศไทยมีความตื่นตัวในเรื่องของ Soft Power มากขึ้นทั้งในหน่วยงานรัฐ อาทิ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนภาคเอกชน แม้ว่าบัลเลต์จะเป็นนาฏศิลป์แบบคลาสสิคที่กำเนิดมาตั้งแต่สมัยเรอเนสซองส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 บัลเลต์ก็ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันทั้งในกลุ่มนักเต้นอาชีพและบุคคลทั่วไป ตลอดจนเป็นรากฐานและนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเต้นในหลายๆรูปแบบ โดยนักเต้นอาชีพที่มีชื่อเสียงมักมีประสบการณ์ในการเต้นบัลเลต์ไม่มากก็น้อย สำหรับในประเทศไทยนั้น มีนักบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติหลายท่าน อาทิเช่น คุณวรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์ และคุณณัฐนรี พิพิธสุขสันต์ (https://en.wikipedia.org/wiki/Ommi_Pipit-Suksun) ซึ่งได้ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษาและต้นแบบการเต้นในโครงการวิจัยนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เริ่มมีการสอนบัลเลต์แบบออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจะเต้นบัลเลต์ได้ดีจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบร่างกายที่ชัดเจน ในต่างประเทศมีสถาบันที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการเต้นบัลเลต์ อาทิเช่น Royal Academy of Dance ในพระราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานและแรงบันดาลใจสำหรับนักเรียนหรือนักเต้นชาวไทย ผู้วิจัยจึงคิดโครงการวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเต้นและบุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้และตรวจสอบพัฒนาการในการเต้นของตัวเอง โดยเทียบเคียงกับนักบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนแบบ Face-to-face กับนักบัลเลต์ท่านนั้นโดยตรง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงตัวเองให้มีความสามารถสูงขึ้นตามจุดประสงค์ของแต่ละคน
ผู้จัดทำ
อภิรัฐ ลิ่มมณี
Apirath Limmanee
#อาจารย์
สมาชิก
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project