Back

Standardized Ballet Learning, Testing, and Training Station Using Kinect Sensors

สถานีมาตรฐานสำหรับเรียนรู้ ทดสอบ และฝึกซ้อมบัลเลต์โดยใช้เซ็นเซอร์คิเนคท์

@คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

#Cluster 2024
#Digital Technology
สถานีมาตรฐานสำหรับเรียนรู้ ทดสอบ และฝึกซ้อมบัลเลต์โดยใช้เซ็นเซอร์คิเนคท์

Details

Ballet educators are aware that, as we creep through the hard time of the COVID-19 pandemic spread, students are sometimes forced to rely on online learning to prevent contagion among them and their teachers. A large proportion of IT research as applied to ballet necessitates the use of Kinect cameras. These cameras are often called sensors, as they can immediately transform the captured images into numerical position of the body joints in three-dimensional cartesian coordinates. This allows researchers to focus on manipulating these numerical coordinates for their purposes, such as dance recording, learning, practicing, as well as evaluation of ballet dance. This project develops “Posé Ballet,” the ballet gesture recognition and evaluation system using MS Kinect camera. “Posé Ballet” has gone through continual development which can be divided into three phases according to requirements from three different user groups. These three groups are ballet students, ballet teachers and dancers, as well as beginners and laypersons. 

Objective

ปัจจุบัน เริ่มมีการตระหนักถึงความสำคัญของนาฏศิลป์มากไปกว่าการเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง หากแต่ยังมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรายได้เข้าประเทศ ตามแบบอย่างของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีที่สามารถทำรายได้เข้าประเภทในหลักหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือหลายแสนล้านบาทไทย  จากความสำเร็จของคุณลลิษา มโนบาล หรือ Lisa Blackpink ซึ่งเป็นศิลปินชาวไทยที่ประสบความสำเร็จในระดับโลกในแง่ของการขับร้องและการเต้น ทำให้ประเทศไทยมีความตื่นตัวในเรื่องของ Soft Power มากขึ้นทั้งในหน่วยงานรัฐ อาทิ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนภาคเอกชน

แม้ว่าบัลเลต์จะเป็นนาฏศิลป์แบบคลาสสิคที่กำเนิดมาตั้งแต่สมัยเรอเนสซองส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 บัลเลต์ก็ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันทั้งในกลุ่มนักเต้นอาชีพและบุคคลทั่วไป ตลอดจนเป็นรากฐานและนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเต้นในหลายๆรูปแบบ โดยนักเต้นอาชีพที่มีชื่อเสียงมักมีประสบการณ์ในการเต้นบัลเลต์ไม่มากก็น้อย สำหรับในประเทศไทยนั้น มีนักบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติหลายท่าน อาทิเช่น คุณวรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์ และคุณณัฐนรี พิพิธสุขสันต์ (https://en.wikipedia.org/wiki/Ommi_Pipit-Suksun) ซึ่งได้ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษาและต้นแบบการเต้นในโครงการวิจัยนี้

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เริ่มมีการสอนบัลเลต์แบบออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจะเต้นบัลเลต์ได้ดีจำเป็นต้องมีการจัดระเบียบร่างกายที่ชัดเจน ในต่างประเทศมีสถาบันที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการเต้นบัลเลต์ อาทิเช่น Royal Academy of Dance ในพระราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานและแรงบันดาลใจสำหรับนักเรียนหรือนักเต้นชาวไทย ผู้วิจัยจึงคิดโครงการวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเต้นและบุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้และตรวจสอบพัฒนาการในการเต้นของตัวเอง โดยเทียบเคียงกับนักบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนแบบ Face-to-face กับนักบัลเลต์ท่านนั้นโดยตรง เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงตัวเองให้มีความสามารถสูงขึ้นตามจุดประสงค์ของแต่ละคน

Project Members

อภิรัฐ ลิ่มมณี
Apirath Limmanee

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...