กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
ตัวแบบพยากรณ์จำนวนการเกิด การตาย การย้ายเข้า และการย้ายออกของประชากรไทย
Forecasting Models for the Number of Birth, Death, Migration In and Out of Thai Population.
@คณะวิทยาศาสตร์
#KLLC 2024
#Digital Economy
รายละเอียด
-
วัตถุประสงค์
ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนอัตราการเกิดที่ลดลง และสัดส่วนผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นและจำนวนประชากรในวัยทำงานลดลง ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งประชากรถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต เมื่อโครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ในขณะที่วัยทำงานมีสัดส่วนเท่าเดิมหรือลดน้อยลงส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจ (กรมกิจการผู้สูงอายุ. 2564) และจากข้อมูลการย้ายออกจะเห็นได้ว่ามีอัตราการย้ายออกเพิ่มสูงขึ้น โดยการย้ายออกจากประเทศไทย เพื่อไปทำงาน เรียนต่อ ใช้ชีวิตหรือมีคู่ชีวิต หากมองให้ลึกลงไปในสาเหตุการย้ายออก จะพบว่ามีปัญหาทางสังคม ที่เป็นตัวกระตุ้นให้คนตัดสินใจย้ายออกจากประเทศไทย ไปเสาะแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ โดยหากมองในเชิงโครงสร้างถึงสาเหตุการย้ายออกของคนรุ่นใหม่ คือในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่ไม่เอื้อให้อยู่ในประเทศ จากสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายทำให้ดูแลครอบครัวไม่ได้ และการย้ายออกอาจทำให้เกิดสภาวะสมองไหล (Brian Drain) ซึ่งเป็นคำเปรียบเทียบถึงสภาวะที่แรงงานทักษะสูงหรือคนเก่งในประเทศอพยพไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมากและส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในไทย (Karoonp. Chetpayark. 2565) การย้ายออกจากประเทศไทยและอัตราการเกิดที่ลดลงมีผลกระทบต่อจำนวนแรงงานในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อวัยแรงงานลดลง เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาการใช้แรงงานสูง ทำให้ต้องพึ่งแรงงานข้ามชาติหลายล้านคน เพื่อพยุงประเทศไทยให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป รัฐบาลไทยจึงควรส่งเสริมให้มีการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงวัย โดยปรับโครงสร้างแรงงาน การศึกษา การพัฒนาสมรรถนะของผู้สูงวัย และต้องเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่จะสามารถทำให้ผู้สูงวัยยังคงทำงานต่อไปได้อย่างสะดวก (ดร.นพวิชช์ เกษมทรัพย์. 2564) จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าข้อมูลการเกิดและข้อมูลการย้ายออกมีความสำคัญ ผู้จัดทำจึงเห็นความสำคัญในการพยากรณ์การเกิด การตาย การย้ายเข้า การย้ายออก เพื่อจะนำการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและตัดสินใจในสภาวะสังคมสูงอายุในอนาคตทั้งในเรื่องการวางแผนค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณ การยกระดับคุณภาพชีวิตหากเราสามารถวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยภาครัฐก็มีส่วนสำคัญในการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุและทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้จัดทำ
กัลย์สุดา พันธุลี
KANSUDA PHANTHULEE
#นักศึกษา
สมาชิก
มาลิตา บุญมี
MALITA BOONMEE
#นักศึกษา
สมาชิก
สุภานัน ปัทมา
SUPANAN PATTAMA
#นักศึกษา
สมาชิก
สมศรี บัณฑิตวิไล
Somsri Banditvilai
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project