กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้สูงอายุจากน้ำมันรำข้าวสังข์หยด

body lotion for old age skin from Sung Yod rice

@วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม

#Cluster 2024
#Healthcare and Wellness
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้สูงอายุจากน้ำมันรำข้าวสังข์หยด

รายละเอียด

ด้วยในปัจจุบันประเทศไทยของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และคาดว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศของเราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ส่งผลให้ประชนกรจำนวนมากกว่า 15% ของประเทศจะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่ง หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มวัยดังกล่าวคือ ปัญหาผิวแห้ง แตก คัน อันเป็นผลมาจากการที่ผิวหนังของผู้สูงอายุที่เสื่อมสภาพลงตาม การผลิตไขมันในต่อไขมันเกิดขึ้นน้อยลง การรับประทานยา อาทิ ยาที่มีการเร่งการขับน้ำออกสู่ร่างกาย สงผลให้เกิดอาการผิวแห้ง เกราะป้องกันผิวบางลง คัน และอาจก่อให้เกิดการรุกรานจากเชื้อภายนอก ซึ่งในปัจจุบันผู้สูงอายุมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกใช้น้อย และยังไม่มีผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมไทยที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ทางทีมเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตปั่นปลายของผู้สูงอายุที่ควรมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชั่นจากข้าวสังข์หยด เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวหนัง ไม่เพียงเคลือบผิวเฉพาะชั้นบนเพียงเท่านั้น แต่ด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถซึมเข้าสู่เซลล์ผิวชั้นล่างกระตุ้นการสร้างเกราะป้องกันผิวจากภายใน เติมความชุ่มชื้นให้กับผิว และสามารถป้องกันการรุกรานจากแบคทีเรียภายนอกได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางทีมพัฒนาโลชั่นจากข้าวสังข์หยด ซึ่งเป็นข้าว GI สายพันธุ์แรกของประเทศไทย และ เพิ่มการใช้ประโยชน์จากผลิตผลทางการเกษตรของไทย ให้สามารถพัฒนาต่อยอด และ เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวสายพันธุ์ไทยได้

วัตถุประสงค์

จากคำนิยาม ‘สังคมสูงวัย’ คือ สังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง. ประเทศต่างๆ รอบข้างเราได้มีปัญหาเรื่องนี้แล้ว เช่น ที่สิงคโปร์มีสัดส่วนของผู้สูงอายุใกล้เคียงกับไทย และเป็นสังคมผู้สูงอายุ , เกาหลีใต้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว ญี่ปุ่นมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด ดังนั้น สำหรับประเทศเราเอง ก็กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเร็วๆ นี้ เช่นกัน โดยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคนแล้ว และมีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี พ.ศ. 2564 สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ 20-30 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าประชากร ทุกๆ 100 คน เราจะพบจำนวนผู้สูงอายุ 30 คน ซึ่งน่าจะตามมาด้วยปัญหาสุขภาพและโรคเรื้อรังต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ความจริงแล้วคนส่วนใหญ่ในสังคมยังเข้าใจว่า การรับมือกับเรื่องนี้กลับเป็นเพียงการจัดการกับเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ ทำให้การแก้ปัญหาหลักมักจำกัดอยู่เพียงแต่กลุ่มๆ เช่น การจ่ายเบี้ยยังชีพคนชรา การจัดสวัสดิการต่างๆ แต่กลับไม่ได้เชื่อมโยงเข้ากับการเตรียมการตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทำงาน จึงเป็นสถานการณ์ที่เราจำเป็นต้องกลับมาสนใจจริงๆ เกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุในประเทศของเรา รวมทั้งการส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติด้วย (ที่มา : กรมกิจการผู้สูงอายุ)
	ในผู้สูงอายุ ผิวหนังทุกชั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ   ในชั้นหนังกำพร้าความสามารถในการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าจะลดลง ซึ่งปกติวงจรการผลัดเซลล์ผิวของชั้นหนังกำพร้าจะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ แต่ในผู้สูงอายุวงจรนี้จะใช้เวลานานขึ้นถึง 2 เท่า และความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ที่ผิวหนังก็ลดลง ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจะบางลงมากถึง 50% โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดดสม่ำเสมอ เช่น ใบหน้า คอ หลังมือ และแขนด้านนอก ส่วนในชั้นหนังแท้เส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินก็จะบางลง เส้นใยที่ประสานกันจะขาดความยืดหยุ่น ทำให้ผิวหนังเกิดรอยเหี่ยวย่น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันทำงานลดลง  ทำให้ผิวหนังในผู้สูงอายุมีลักษณะแห้งเป็นขุย มีสะเก็ดและหยาบง่ายขึ้น ภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ (Xerosis) จึงพบได้บ่อย โดยจะมีลักษณะเป็นสะเก็ดแห้งเป็นขุย หรือเป็นแผ่น มีร่องแตกคล้ายเกล็ดปลา ซึ่งสามารถพบได้ทั้งตัว แต่จะชัดเจนบริเวณแขนขา โดยพบทั้งในเพศชายและเพศหญิงพอๆกัน ซึ่งแสดงว่าฮอร์โมนไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผิวแห้ง แต่เกิดจากอายุที่มากขึ้น ทำให้มีการสร้าไขมันที่ผิวหนังลดลงโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว  นอกจากนี้การอาบน้ำบ่อยๆ อาบน้ำอุ่นและใช้สบู่ทั่วไปที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้สูญเสียไขมันที่เป็นเกราะป้องกันผิวชั้นนอก ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผิวแห้งในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในฤดูหนาว เนื่องจากมีความชื้นในอากาศต่ำทำให้ผิวสูญเสียน้ำได้มากขึ้น ผิวจึงแห้งและคันมากขึ้นได้
	ในรำข้าวมีสีพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพทั้งในรูป Free-form และ Bound-form ได้แก่ ฟีนอลลิกและ ฟลาโวนอยด์, แอนโธไซยานิน, โปรแอนโธไซยานิดิน, วิตามินอี และ -oryzanol ในส่วนของ Proanthocyanidins สามารถตรวจพบได้ในรำข้าวแดงแต่ไม่พบในรำข้าวดำ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดรำข้าวมีสีส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มฟีนอลิก  (72–92%) และฟลาโวนอยด์ (72–96%) กรดฟีนอลิกส่วนใหญ่ (83–97%) ในรำข้าวสีมีอยู่ในรูปของพันธะ Protocatechualdehyde โดยพบในส่วนของ bound-form ของรำข้าวแดง โดยโครมาโตกราฟีของเหลวประสิทธิภาพสูง  ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของรำข้าวสีแดงมาจากโปรแอนโธไซยานิดินและแอนโธไซยานินในรำข้าวสีดำ  Huang and Lai (2016) รายละเอียดของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ค้นพบ
	นวัตกรรมนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีของ อิมัลชันเชิงซ้อน (Multiple emulsion) แบบ Water-in-oil-in-water (W1/O/W2) emulsions  ที่มีข้อดีมากมาย เช่น สามารถใช้ในการห่อหุ้มสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ชอบน้ำได้ และไม่ชอบน้ำได้ในอนุภาคเดียวกัน เทคโนโลยีของ อิมัลชันเชิงซ้อนในงานพัฒนานี้ มุ่งการพัฒนาสูตรการห่อหุ้มโดยใช้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ชอบน้ำ คือสารสกัดวุ้นว่านหางจระเข้ที่มีสารสำคัญที่สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดรอยเหี่ยวย่น ให้ความชุ่มชื่นต่อผิวพรรณ ที่เทคนิคการทำอิมัลชันแบบ W1/O/W2 emulsions  ในงานพัฒนานี้จะช่วยทำให้ได้อิมัลชันขนาดเล็กและเพิ่มความเสถียรของสารสำคัญ
อิมัลชันแบบสองชั้นชนิดน้ำในน้ำมันในน้ำ (Water-in-oil-in-water (W1/O/W2) emulsions)  ได้รับการพัฒนาอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจาก มีระบบการจัดส่งที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง เหมาะที่จะห่อหุ้มสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีขั้วได้ ร่วมกับน้ำมันดอกกัญชา งานวิจัยนี้ จึงมุ่งพัฒนาสูตรการห่อหุ้มสารสกัดว่านหางจระเข้และน้ำมันจากรำข้าวสังข์หยด ด้วยเทคนิคการทำอิมัลชันแบบ W1/O/W2 emulsions  เนื่องจากเป็นเป็นเทคนิคที่ทำให้ได้อิมัลชันขนาดเล็กและเสถียร โดยงานวิจัยนี้ใช้  เลือกใช้อิมัลซิไฟเออร์ที่เหมาะสม ร่วมกับคริสตัลนาโนเซลลูโลสจากการรำข้าวสังข์หยดเป็นสารเพิ่มความเสถียร เพื่อให้ง่ายต่อการทำไปประยุกต์ใช้ การขนส่งและการจัดเก็บ

ผู้จัดทำ

แววมยุรา คำสุข
Wawmayura Chamsuk

#อาจารย์

สมาชิก
รุซลัน เบ็ญสะอีด
RUSLAN BENSA-ID

#นักศึกษา

สมาชิก
ชัยวัฒน์ พรหมเพชร

#อาจารย์

สมาชิก
สมชาย สอนสุภาพ
Somchai Sonsupap

#อาจารย์

สมาชิก

โหวตนวัตกรรมนี้

กำลังดาวน์โหลด