Back

body lotion for old age skin from Sung Yod rice

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้สูงอายุจากน้ำมันรำข้าวสังข์หยด

@วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม

#Cluster 2024
#Healthcare and Wellness
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้สูงอายุจากน้ำมันรำข้าวสังข์หยด

Details

At present, our country is entering an aging society. And it is expected that in the next few years our country will enter a fully aging society. As a result, more than 15% of the country's population will be elderly. One of the common problems in this age group is the problem of dry, cracked, itchy skin as a result of the skin of the elderly deteriorating.Less sebum production occurs. Taking medicine, such as medicine that speeds up the excretion of water into the body Resulting in dry skin symptoms. The skin barrier becomes thinner, itchy, and may cause aggression from outside germs. At present, the elderly have few products to choose from. And there are still no products from Thai innovation that can directly solve the problem.The team recognizes the importance of living a fulfilling life for the elderly that should have a good quality of life. Therefore, the idea was born to develop lotion products from Sangyod rice. To add moisture to the skin Not only does it coat the top layer of the surface only. But with small particles that can penetrate into the lower skin cells, stimulating the creation of a skin barrier from within. Add moisture to the skin And can prevent invasion from outside bacteria very well. The team developed lotion from Sangyod rice.which is the first variety of GI rice in Thailand and increases the utilization of Thai agricultural products. To be able to further develop and add value to Thai rice varieties. 

Objective

จากคำนิยาม ‘สังคมสูงวัย’ คือ สังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง. ประเทศต่างๆ รอบข้างเราได้มีปัญหาเรื่องนี้แล้ว เช่น ที่สิงคโปร์มีสัดส่วนของผู้สูงอายุใกล้เคียงกับไทย และเป็นสังคมผู้สูงอายุ , เกาหลีใต้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว ญี่ปุ่นมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด ดังนั้น สำหรับประเทศเราเอง ก็กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเร็วๆ นี้ เช่นกัน โดยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคนแล้ว และมีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี พ.ศ. 2564 สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ 20-30 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าประชากร ทุกๆ 100 คน เราจะพบจำนวนผู้สูงอายุ 30 คน ซึ่งน่าจะตามมาด้วยปัญหาสุขภาพและโรคเรื้อรังต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม ความจริงแล้วคนส่วนใหญ่ในสังคมยังเข้าใจว่า การรับมือกับเรื่องนี้กลับเป็นเพียงการจัดการกับเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ ทำให้การแก้ปัญหาหลักมักจำกัดอยู่เพียงแต่กลุ่มๆ เช่น การจ่ายเบี้ยยังชีพคนชรา การจัดสวัสดิการต่างๆ แต่กลับไม่ได้เชื่อมโยงเข้ากับการเตรียมการตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทำงาน จึงเป็นสถานการณ์ที่เราจำเป็นต้องกลับมาสนใจจริงๆ เกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุในประเทศของเรา รวมทั้งการส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติด้วย (ที่มา : กรมกิจการผู้สูงอายุ)
	ในผู้สูงอายุ ผิวหนังทุกชั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ   ในชั้นหนังกำพร้าความสามารถในการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าจะลดลง ซึ่งปกติวงจรการผลัดเซลล์ผิวของชั้นหนังกำพร้าจะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ แต่ในผู้สูงอายุวงจรนี้จะใช้เวลานานขึ้นถึง 2 เท่า และความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ที่ผิวหนังก็ลดลง ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจะบางลงมากถึง 50% โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดดสม่ำเสมอ เช่น ใบหน้า คอ หลังมือ และแขนด้านนอก ส่วนในชั้นหนังแท้เส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินก็จะบางลง เส้นใยที่ประสานกันจะขาดความยืดหยุ่น ทำให้ผิวหนังเกิดรอยเหี่ยวย่น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันทำงานลดลง  ทำให้ผิวหนังในผู้สูงอายุมีลักษณะแห้งเป็นขุย มีสะเก็ดและหยาบง่ายขึ้น ภาวะผิวแห้งในผู้สูงอายุ (Xerosis) จึงพบได้บ่อย โดยจะมีลักษณะเป็นสะเก็ดแห้งเป็นขุย หรือเป็นแผ่น มีร่องแตกคล้ายเกล็ดปลา ซึ่งสามารถพบได้ทั้งตัว แต่จะชัดเจนบริเวณแขนขา โดยพบทั้งในเพศชายและเพศหญิงพอๆกัน ซึ่งแสดงว่าฮอร์โมนไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผิวแห้ง แต่เกิดจากอายุที่มากขึ้น ทำให้มีการสร้าไขมันที่ผิวหนังลดลงโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว  นอกจากนี้การอาบน้ำบ่อยๆ อาบน้ำอุ่นและใช้สบู่ทั่วไปที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้สูญเสียไขมันที่เป็นเกราะป้องกันผิวชั้นนอก ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผิวแห้งในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในฤดูหนาว เนื่องจากมีความชื้นในอากาศต่ำทำให้ผิวสูญเสียน้ำได้มากขึ้น ผิวจึงแห้งและคันมากขึ้นได้
	ในรำข้าวมีสีพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพทั้งในรูป Free-form และ Bound-form ได้แก่ ฟีนอลลิกและ ฟลาโวนอยด์, แอนโธไซยานิน, โปรแอนโธไซยานิดิน, วิตามินอี และ -oryzanol ในส่วนของ Proanthocyanidins สามารถตรวจพบได้ในรำข้าวแดงแต่ไม่พบในรำข้าวดำ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดรำข้าวมีสีส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มฟีนอลิก  (72–92%) และฟลาโวนอยด์ (72–96%) กรดฟีนอลิกส่วนใหญ่ (83–97%) ในรำข้าวสีมีอยู่ในรูปของพันธะ Protocatechualdehyde โดยพบในส่วนของ bound-form ของรำข้าวแดง โดยโครมาโตกราฟีของเหลวประสิทธิภาพสูง  ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของรำข้าวสีแดงมาจากโปรแอนโธไซยานิดินและแอนโธไซยานินในรำข้าวสีดำ  Huang and Lai (2016) รายละเอียดของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ค้นพบ
	นวัตกรรมนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีของ อิมัลชันเชิงซ้อน (Multiple emulsion) แบบ Water-in-oil-in-water (W1/O/W2) emulsions  ที่มีข้อดีมากมาย เช่น สามารถใช้ในการห่อหุ้มสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ชอบน้ำได้ และไม่ชอบน้ำได้ในอนุภาคเดียวกัน เทคโนโลยีของ อิมัลชันเชิงซ้อนในงานพัฒนานี้ มุ่งการพัฒนาสูตรการห่อหุ้มโดยใช้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ชอบน้ำ คือสารสกัดวุ้นว่านหางจระเข้ที่มีสารสำคัญที่สามารถต้านอนุมูลอิสระ ลดรอยเหี่ยวย่น ให้ความชุ่มชื่นต่อผิวพรรณ ที่เทคนิคการทำอิมัลชันแบบ W1/O/W2 emulsions  ในงานพัฒนานี้จะช่วยทำให้ได้อิมัลชันขนาดเล็กและเพิ่มความเสถียรของสารสำคัญ
อิมัลชันแบบสองชั้นชนิดน้ำในน้ำมันในน้ำ (Water-in-oil-in-water (W1/O/W2) emulsions)  ได้รับการพัฒนาอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจาก มีระบบการจัดส่งที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง เหมาะที่จะห่อหุ้มสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีขั้วได้ ร่วมกับน้ำมันดอกกัญชา งานวิจัยนี้ จึงมุ่งพัฒนาสูตรการห่อหุ้มสารสกัดว่านหางจระเข้และน้ำมันจากรำข้าวสังข์หยด ด้วยเทคนิคการทำอิมัลชันแบบ W1/O/W2 emulsions  เนื่องจากเป็นเป็นเทคนิคที่ทำให้ได้อิมัลชันขนาดเล็กและเสถียร โดยงานวิจัยนี้ใช้  เลือกใช้อิมัลซิไฟเออร์ที่เหมาะสม ร่วมกับคริสตัลนาโนเซลลูโลสจากการรำข้าวสังข์หยดเป็นสารเพิ่มความเสถียร เพื่อให้ง่ายต่อการทำไปประยุกต์ใช้ การขนส่งและการจัดเก็บ

Project Members

แววมยุรา คำสุข
Wawmayura Chamsuk

#อาจารย์

Member
รุซลัน เบ็ญสะอีด
RUSLAN BENSA-ID

#นักศึกษา

Member
ชัยวัฒน์ พรหมเพชร

#อาจารย์

Member
สมชาย สอนสุภาพ
Somchai Sonsupap

#อาจารย์

Member

Vote for this Innovation!

Loading...