กลับไปที่นวัตกรรมทั้งหมด
การศึกษาเบื้องต้นการใช้ผำหรือไข่น้ำเป็นแหล่งอาหารเสริมของจิ้งหรีด
Preliminary study of using water meal (Wolffia globosa) as dietary supplementation source for crickets
@คณะเทคโนโลยีการเกษตร
#KLLC 2024
#BCG (Bio-Circular-Green Economy)
รายละเอียด
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบเบื้องต้นของการทดแทนผำหรือไข่นำในอาหารสำหรับจิ้งหรีดต่อการผลิตจิ้งหรีด ดำเนินการศึกษาโดยนำผำหรือไข่น้ำเข้าเลี้ยงในอ่างน้ำเปิด หลังการระเหยออกของคลอรีนเป็นเวลา 2 วัน ใช้ปริมาตรน้ำประมาณ 24,500 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร บริเวณที่ร่มรำไร เป็นเวลา 1 เดือน ได้ผลผลิตผำหรือไข่น้ำในรูปแบบน้ำหนักสด 258 กรัม (น้ำหนักแห้งประมาณ 6.91 กรัม) โดยมีโปรตีนในสัดส่วนที่สูง แบ่งตักผำหรือไข่น้ำด้วยกระดาษแข็ง ยกขึ้นมารอให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำแผ่นกระดาษที่มีผำหรือไข่น้ำติดอยู่ ไปทดลองให้จิ้งหริดกินเป็นแหล่งอาหารเสริม พบว่าจิ้งหรีด (อายุประมาณ 2 สัปดาห์) ใช้เวลาในการกินผำหรือไข่น้ำหมดภายในเวลา 15 นาที โดยไม่พบผลกระทบทางลบต่อจิ้งหรีด ดังนั้นสรุปในเบื้องต้นได้ว่าสามารถนำผำหรือไข่น้ำมาใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมสำหรับจิ้งหรีดได้
วัตถุประสงค์
การบูรณาการการผลิตพืชและการผลิตสัตว์ในการการผลิตอาหารในรูปแบบของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) มีความสำคัญอย่างมากในการก่อให้เกิดความยั่งยืน และมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะในสภาพที่ปัจจัยการผลิตมีอยู่อย่างจำกัด และการผลิตมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม การผลิตจิ้งหรีดและผำหรือไข่น้ำสามารถทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและใช้เป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้ในโลกอนาคตได้ โดยอาศัยหลักการ คือ นำผำหรือไข่น้ำมาเป็นอาหารของจิ้งหรีด โดยน่าจะสามารถนำมาทดแทนในอาหารสำหรับจิ้งหรีดได้ เนื่องจากผำหรือไข่น้ำเป็นแหล่งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และกรดไขมันโอเมก้า 3
ผู้จัดทำ
เบญจพรวรรณ สารพันธ์
BENJAPORNWAN SARAPHAN
#นักศึกษา
สมาชิก
จำลอง มิตรชาวไทย
Jamlong Mitchothai
#อาจารย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โหวตนวัตกรรมนี้
กำลังดาวน์โหลด
Powered By KMITL Innovation Project